ปลัดแรงงาน เปรยกรุงเทพฯ อาจขึ้นค่าจ้างถึง 228 บาท ระบุ นโยบายนายกฯขึ้นค่าจ้าง 25% ใน 2 ปีเป็นไปได้
วันนี้ (5 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกลางปี 2554 ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีการปรับขึ้นหรือไม่ เพราะต้องรอผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการแรงงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลเรื่องค่าครองชีพทุกจังหวัด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา กับข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ ถ้าพบว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่ผู้ใช้แรงงานได้รับในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ก็คงต้องมีการปรับขึ้น เนื่องจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องพิจารณาปรับให้ไม่ทิ้งห่างกับค่าครองชีพ
ส่วนปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกับจังหวัดภูเก็ต คือ วันละ 17 บาทหรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ เพราะการปรับขึ้นค่าจ้าง 10 กว่าบาท เมื่อคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เท่ากับมีการปรับขึ้นปีละ 10% ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่จะให้มีการปรับขึ้นร้อยละ 25 ใน 2 ปี หรือเท่ากับปีละ 10% ซึ่งจริงๆ แล้วค่าครองชีพของคนกรุงเทพฯ ต่อ 1 คน ที่จะอยู่ได้เฉลี่ยวันละ 228 บาท ซึ่งปลายปี 2553 คณะกรรมการค่าจ้างกลาง ก็ได้มีพูดถึงตัวเลขที่จะปรับให้ในอัตรานี้ แต่กรรมการบางคนห่วงจะกระทบกับนายจ้างมากเกินไปจึงให้ชะลอไว้ก่อน
“ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ปีนี้กรุงเทพฯสามารถปรับได้ 228 บาท แต่ถ้าจะให้ฟันธงเลยคงต้องรอผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการแรงงานสรุปข้อมูลมาให้ในเดือน มิ.ย.จึงจะบอกได้ว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะอยู่ในอัตราตัวเลขที่เท่าไหร่ ขณะเดียวกันตัวเลขค่าจ้างในต่างจังหวัดหากจะใช้เกณฑ์ก้าวกระโดด ต้องดูว่าบางจังหวัดที่จะปรับขึ้น 50-60% ถ้าไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ไม่ดีพอ เมื่อประกาศออกไปจะมีผลทางจิตวิทยากับนายจ้างทันที” นายสมเกียรติ กล่าว
วันนี้ (5 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกลางปี 2554 ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีการปรับขึ้นหรือไม่ เพราะต้องรอผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการแรงงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลเรื่องค่าครองชีพทุกจังหวัด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา กับข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ ถ้าพบว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่ผู้ใช้แรงงานได้รับในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ก็คงต้องมีการปรับขึ้น เนื่องจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องพิจารณาปรับให้ไม่ทิ้งห่างกับค่าครองชีพ
ส่วนปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวกับจังหวัดภูเก็ต คือ วันละ 17 บาทหรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ เพราะการปรับขึ้นค่าจ้าง 10 กว่าบาท เมื่อคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว เท่ากับมีการปรับขึ้นปีละ 10% ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่จะให้มีการปรับขึ้นร้อยละ 25 ใน 2 ปี หรือเท่ากับปีละ 10% ซึ่งจริงๆ แล้วค่าครองชีพของคนกรุงเทพฯ ต่อ 1 คน ที่จะอยู่ได้เฉลี่ยวันละ 228 บาท ซึ่งปลายปี 2553 คณะกรรมการค่าจ้างกลาง ก็ได้มีพูดถึงตัวเลขที่จะปรับให้ในอัตรานี้ แต่กรรมการบางคนห่วงจะกระทบกับนายจ้างมากเกินไปจึงให้ชะลอไว้ก่อน
“ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ปีนี้กรุงเทพฯสามารถปรับได้ 228 บาท แต่ถ้าจะให้ฟันธงเลยคงต้องรอผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการแรงงานสรุปข้อมูลมาให้ในเดือน มิ.ย.จึงจะบอกได้ว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะอยู่ในอัตราตัวเลขที่เท่าไหร่ ขณะเดียวกันตัวเลขค่าจ้างในต่างจังหวัดหากจะใช้เกณฑ์ก้าวกระโดด ต้องดูว่าบางจังหวัดที่จะปรับขึ้น 50-60% ถ้าไม่มีข้อมูลการศึกษาที่ไม่ดีพอ เมื่อประกาศออกไปจะมีผลทางจิตวิทยากับนายจ้างทันที” นายสมเกียรติ กล่าว