พม.เปิดประชุมสมัชชาสตรีแห่งชาติ 2554 จนท.พัฒนาสังคมฯ ทั่วประเทศกว่า 900 เข้าร่วม หนุนนโยบายเสมอภาคหญิงชาย ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ เล็งเชื่อมโยงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 11
วันนี้ (15 มี.ค.) ที่เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นางฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมสมัชชาสตรีแห่งชาติ ประจำปี 2554”เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางในการดำเนินงานด้านสตรี โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ ผู้แทนสมัชชาสตรีภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งเครือข่ายสตรีทั่วประเทศ จำนวน 900 คน
นางฮูวัยดิย๊ะ กล่าวว่า มีคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กำกับดูแลเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชายโดยเฉพาะ โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารด้านการส่งเสริมบทบาทหญิงชาย (CGEO) โดยมีประเด็น 4 ข้อ ดังนี้ 1) ให้นำเรื่องมิติหญิงชาย เป็นหลักในการบริหารจัดการภายในองค์กร 2) ภารกิจและนโยบายของหน่วยงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน ให้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อประชาชนที่แตกต่างกันมีทั้งหลากหลายเพศและสถานะทางสังคม (เช่น เลดี้บัส เลดี้โบกี้รถไฟ) 3) นำมิติหญิงชายมาใช้ในการจัดทำแผนงาน งบประมาณ 4) กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในหน่วยงาน สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านมิติหญิงชายในหน่วยงาน และสร้างความเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
นางฮูวัยดิย๊ะ กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมสมัชชาสตรีแห่งชาตินี้ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ถือเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของภาครัฐ และรับทราบถึงปัญหา ความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านสตรี ตลอดจนรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางในการดำเนินงานด้านสตรี จากตัวแทนกลุ่มหรือองค์กรสตรีทุกระดับ โดยข้อเสนอจากสมัชชาสตรีจะได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และนำเข้าการประชุมของ กยส.ก่อนจะนำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทยต่อไป
“มีประเด็นเร่งด่วน เช่น เรื่องการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งเป็นข้อเสนอของสมัชชาสตรีแห่งชาติประจำปี 2552 ก็ได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการประชุมสมัชชาสตรี ในปี 2554 นี้ จะได้หยิบยกประเด็นจากวาระการปฏิรูปประเทศไทย “ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม” ตามนโยบายของรัฐบาล มาเชื่อมโยงกับการจัดทำแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559 ) ด้วย”นางฮูวัยดิย๊ะ กล่าว
วันนี้ (15 มี.ค.) ที่เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี นางฮูวัยดิย๊ะ พิศสุวรรณ อุเซ็ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมสมัชชาสตรีแห่งชาติ ประจำปี 2554”เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางในการดำเนินงานด้านสตรี โดยมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทั่วประเทศ ผู้แทนสมัชชาสตรีภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมทั้งเครือข่ายสตรีทั่วประเทศ จำนวน 900 คน
นางฮูวัยดิย๊ะ กล่าวว่า มีคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กำกับดูแลเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชายโดยเฉพาะ โดยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารด้านการส่งเสริมบทบาทหญิงชาย (CGEO) โดยมีประเด็น 4 ข้อ ดังนี้ 1) ให้นำเรื่องมิติหญิงชาย เป็นหลักในการบริหารจัดการภายในองค์กร 2) ภารกิจและนโยบายของหน่วยงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน ให้วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อประชาชนที่แตกต่างกันมีทั้งหลากหลายเพศและสถานะทางสังคม (เช่น เลดี้บัส เลดี้โบกี้รถไฟ) 3) นำมิติหญิงชายมาใช้ในการจัดทำแผนงาน งบประมาณ 4) กำหนดนโยบายที่ชัดเจนในหน่วยงาน สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านมิติหญิงชายในหน่วยงาน และสร้างความเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
นางฮูวัยดิย๊ะ กล่าวต่อว่า สำหรับการประชุมสมัชชาสตรีแห่งชาตินี้ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ถือเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของภาครัฐ และรับทราบถึงปัญหา ความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านสตรี ตลอดจนรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางในการดำเนินงานด้านสตรี จากตัวแทนกลุ่มหรือองค์กรสตรีทุกระดับ โดยข้อเสนอจากสมัชชาสตรีจะได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และนำเข้าการประชุมของ กยส.ก่อนจะนำไปกำหนดเป็นนโยบายหรือยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในประเทศไทยต่อไป
“มีประเด็นเร่งด่วน เช่น เรื่องการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งเป็นข้อเสนอของสมัชชาสตรีแห่งชาติประจำปี 2552 ก็ได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการประชุมสมัชชาสตรี ในปี 2554 นี้ จะได้หยิบยกประเด็นจากวาระการปฏิรูปประเทศไทย “ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม” ตามนโยบายของรัฐบาล มาเชื่อมโยงกับการจัดทำแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559 ) ด้วย”นางฮูวัยดิย๊ะ กล่าว