นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (24 ม.ค.) พรรคร่วมรัฐบาล จะมีการหารือกันในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมก่อนที่จะเปิดการประชุมรัฐสภา พิจารณาญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ในวันอังคารที่ 25 ม.ค. โดยนายสุเทพ ย้ำว่า พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ในเรื่องของสูตรจำนวน ส.ส.นั้น แต่ละพรรคจะนำไปหารือกันเองภายใน โดยหากบรรยากาศการประชุมรัฐสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ก็อาจจะเปิดอภิปรายเสร็จภายในวันเดียว
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รองโฆษกพรรคเพื่อไทยได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่ร่วมกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตนอยากให้พรรคเพื่อไทยทำเรื่องดังกล่าวให้เป็นมติพรรค เพื่อความชัดเจน เพราะคนแถลงเป็นเพียงรองโฆษก ไม่ได้เป็นส.ส. จึงทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะมีส.ส.ส่วนหนึ่งต้องการมีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะมีการประชุม ส.ส.พรรคในวันที่ 25 ม.ค. คงจะมีความชัดเจนเรื่องดังกล่าวไม่อยากให้สร้างความสับสนในสังคม เพราะที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยแสดงท่าทีกลับไปกลับมา ดังนั้น ครั้งนี้อยากเรียกร้องร้องคนในพรรคเพื่อไทย ที่มีอำนาจเต็มออกมายืนยันในเรื่องนี้ด้วย
** เย้ย"เด็กแม้ว"กำลังหิวโหย
ส่วนข้อเรียกร้องว่ารัฐบาลไม่ควรสนใจปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ควรให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาเรื่องปากท้องนั้น ตนอยากเรียนว่าปัญหาบ้านเมืองมีหลายปัญหา และรัฐบาลให้ความสนใจทุกปัญหา ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว ปัญหาปากท้องของประชาชน รัฐบาลให้ความสนใจอย่างเต็มที่ รวมถึงปัญหาอื่นๆซึ่งยอมรับว่าปัญหาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น 3-4 เท่าตัว แต่ก็เป็นไปตามกลไกของ และยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาปากท้องทุกคนในประเทศ ยกเว้นเพียงการแก้ปัญหาปากท้องของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ควรให้นายใหญ่แก้ปัญหา เพราะขณะนี้ส.ส.พรรคเพื่อไทย อยู่ในฐานะ น้องผู้หิวโหย
**ปัดสร้างเงื่อนไขข่มขู่ยุบสภา
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันที่ 25 ม.ค.นี้ จะเป็นโอกาสที่สมาชิกรัฐสภาทุกคน จะได้ร่วมกันพิจารณาถึงเหตุผลของการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ตามคณะกรรมการฯ ที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ ได้เป็นผู้เสนอไว้ เรื่องนี้พรรคเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องที่เป็นเงื่อนไขของการข่มขู่ หรือการอ้างเหตุในการยุบสภาด้วยวิกฤตทางรัฐธรรมนูญ ขอยืนยันว่าเงื่อนไขในการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเพียง 1 ใน 3 เงื่อนไขสำคัญที่จะมีผลทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งนายกฯได้กับหนดชัดเจนว่า หากกระบวนการต่างๆ เหล่านี้มีความคืบหน้า ลุล่วงควบคู่กับการปฏิรูปประเทศ จะมีการเลือกตั้งก่อนครบกำหนดอายุวาระรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ส่วนท่าทีของพรรคร่วมที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างในประเด็นรายละเอียดนั้น พรรคมองว่าเป็นเรื่องปกติ ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ และถือว่าการแปรญัตตินั้นก็เป็นสิทธิของสมาชิกรัฐสภาแต่ละคน ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาที่สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและพรรคร่วม แต่อย่างใด ขณะเดียวกันอยากให้สัมคมเรียกร้องบทบาทของสมาชิกฝ่ายค้าน ในการทำงานในรัฐสภา ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนจุดยืนหลายครั้งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดอุดมการณ์ และแนวทางชัดเจนในการร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ของประเทศ จึงอยากให้สังคมทวงถามว่า เหตุที่ทางพรรคเพื่อไทยอาศัยจังหวะนี้ในการที่จะนำรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้นั้น เป็นความพยายามที่จะช่วงชิงสถานการณ์การแก้ไขปัญหาของส่วนรวม เพื่อแก้ไขปัญหาของบุคคลคนเดียว ใช่หรือไม่ และแนวทางดังกล่าวก็เป็นเหตุผลที่ขั้วการเมืองของพรรคเพื่อไทยในอดีต นำพาประเทศชาติถึงทางตัน และบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
" หากพรรคเพื่อไทยคิดว่า การไม่ร่วมสังฆกรรม จะแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองได้นั้น ผมขอเรียกร้องว่า ทางที่ดีพรรคเพื่อไทยไม่ควรสังฆกรรมกับการเคลื่อนไหวนอกสภา สร้างความวุ่นวาย เผาบ้านเผาเมือง น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองมากกว่า" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
**ปธ.วุฒิฯย้ำสิ้นเดือนรู้ลาออกหรือไม่
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณี ส.ว.สรรหา จะครบวาระในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ว่า ยังเป็นเรื่องที่ยังมีความเห็นที่แตกต่างจากหลายฝ่าย รวมถึงการลาออกจากการทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาของตน ที่คงจะมีความชัดเจนก่อนสิ้นเดือนมกราคมนี้ ตามที่เคยระบุไว้
ทั้งนี้ เห็นว่าเรื่องดังกล่าวควรที่จะมีการพูดคุยหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อหาทางออก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับการทำหน้าที่ของส.ว.แต่ละคน รวมทั้งการประชุมวุฒิสภา ที่จะเริ่มประชุมนัดแรกในสมัยประชุมสามัญทั่วไปในวันนี้ ที่เชื่อว่าจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
เช่นเดียวกับการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ก็มั่นใจว่าจะสามารถผ่านในวาระ 2 โดยไม่มีปัญหา ส่วนเรื่องมาตรา 93-98 ที่ยังมีความเห็นออกมาหลายรูปแบบนั้น ในส่วนของวุฒิสภา คงพิจารณาไปตามเหตุและผลเป็นตัวตั้ง
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันดังกล่าว เชื่อว่า จะไม่มีความรุนแรง และไม่ส่งผลกระทบกับการประชุมรัฐสภา
ทั้งนี้ในเรื่องของสูตรจำนวน ส.ส.นั้น แต่ละพรรคจะนำไปหารือกันเองภายใน โดยหากบรรยากาศการประชุมรัฐสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ก็อาจจะเปิดอภิปรายเสร็จภายในวันเดียว
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รองโฆษกพรรคเพื่อไทยได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่ร่วมกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ตนอยากให้พรรคเพื่อไทยทำเรื่องดังกล่าวให้เป็นมติพรรค เพื่อความชัดเจน เพราะคนแถลงเป็นเพียงรองโฆษก ไม่ได้เป็นส.ส. จึงทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะมีส.ส.ส่วนหนึ่งต้องการมีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจะมีการประชุม ส.ส.พรรคในวันที่ 25 ม.ค. คงจะมีความชัดเจนเรื่องดังกล่าวไม่อยากให้สร้างความสับสนในสังคม เพราะที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยแสดงท่าทีกลับไปกลับมา ดังนั้น ครั้งนี้อยากเรียกร้องร้องคนในพรรคเพื่อไทย ที่มีอำนาจเต็มออกมายืนยันในเรื่องนี้ด้วย
** เย้ย"เด็กแม้ว"กำลังหิวโหย
ส่วนข้อเรียกร้องว่ารัฐบาลไม่ควรสนใจปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ควรให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาเรื่องปากท้องนั้น ตนอยากเรียนว่าปัญหาบ้านเมืองมีหลายปัญหา และรัฐบาลให้ความสนใจทุกปัญหา ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงอย่างเดียว ปัญหาปากท้องของประชาชน รัฐบาลให้ความสนใจอย่างเต็มที่ รวมถึงปัญหาอื่นๆซึ่งยอมรับว่าปัญหาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น 3-4 เท่าตัว แต่ก็เป็นไปตามกลไกของ และยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาปากท้องทุกคนในประเทศ ยกเว้นเพียงการแก้ปัญหาปากท้องของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ควรให้นายใหญ่แก้ปัญหา เพราะขณะนี้ส.ส.พรรคเพื่อไทย อยู่ในฐานะ น้องผู้หิวโหย
**ปัดสร้างเงื่อนไขข่มขู่ยุบสภา
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วันที่ 25 ม.ค.นี้ จะเป็นโอกาสที่สมาชิกรัฐสภาทุกคน จะได้ร่วมกันพิจารณาถึงเหตุผลของการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ตามคณะกรรมการฯ ที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ ได้เป็นผู้เสนอไว้ เรื่องนี้พรรคเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องที่เป็นเงื่อนไขของการข่มขู่ หรือการอ้างเหตุในการยุบสภาด้วยวิกฤตทางรัฐธรรมนูญ ขอยืนยันว่าเงื่อนไขในการแก้ไขบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเพียง 1 ใน 3 เงื่อนไขสำคัญที่จะมีผลทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งนายกฯได้กับหนดชัดเจนว่า หากกระบวนการต่างๆ เหล่านี้มีความคืบหน้า ลุล่วงควบคู่กับการปฏิรูปประเทศ จะมีการเลือกตั้งก่อนครบกำหนดอายุวาระรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ส่วนท่าทีของพรรคร่วมที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างในประเด็นรายละเอียดนั้น พรรคมองว่าเป็นเรื่องปกติ ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ และถือว่าการแปรญัตตินั้นก็เป็นสิทธิของสมาชิกรัฐสภาแต่ละคน ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาที่สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและพรรคร่วม แต่อย่างใด ขณะเดียวกันอยากให้สัมคมเรียกร้องบทบาทของสมาชิกฝ่ายค้าน ในการทำงานในรัฐสภา ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนจุดยืนหลายครั้งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดอุดมการณ์ และแนวทางชัดเจนในการร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ของประเทศ จึงอยากให้สังคมทวงถามว่า เหตุที่ทางพรรคเพื่อไทยอาศัยจังหวะนี้ในการที่จะนำรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้นั้น เป็นความพยายามที่จะช่วงชิงสถานการณ์การแก้ไขปัญหาของส่วนรวม เพื่อแก้ไขปัญหาของบุคคลคนเดียว ใช่หรือไม่ และแนวทางดังกล่าวก็เป็นเหตุผลที่ขั้วการเมืองของพรรคเพื่อไทยในอดีต นำพาประเทศชาติถึงทางตัน และบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
" หากพรรคเพื่อไทยคิดว่า การไม่ร่วมสังฆกรรม จะแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองได้นั้น ผมขอเรียกร้องว่า ทางที่ดีพรรคเพื่อไทยไม่ควรสังฆกรรมกับการเคลื่อนไหวนอกสภา สร้างความวุ่นวาย เผาบ้านเผาเมือง น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองมากกว่า" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
**ปธ.วุฒิฯย้ำสิ้นเดือนรู้ลาออกหรือไม่
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณี ส.ว.สรรหา จะครบวาระในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ว่า ยังเป็นเรื่องที่ยังมีความเห็นที่แตกต่างจากหลายฝ่าย รวมถึงการลาออกจากการทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาของตน ที่คงจะมีความชัดเจนก่อนสิ้นเดือนมกราคมนี้ ตามที่เคยระบุไว้
ทั้งนี้ เห็นว่าเรื่องดังกล่าวควรที่จะมีการพูดคุยหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อหาทางออก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับการทำหน้าที่ของส.ว.แต่ละคน รวมทั้งการประชุมวุฒิสภา ที่จะเริ่มประชุมนัดแรกในสมัยประชุมสามัญทั่วไปในวันนี้ ที่เชื่อว่าจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
เช่นเดียวกับการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ก็มั่นใจว่าจะสามารถผ่านในวาระ 2 โดยไม่มีปัญหา ส่วนเรื่องมาตรา 93-98 ที่ยังมีความเห็นออกมาหลายรูปแบบนั้น ในส่วนของวุฒิสภา คงพิจารณาไปตามเหตุและผลเป็นตัวตั้ง
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันดังกล่าว เชื่อว่า จะไม่มีความรุนแรง และไม่ส่งผลกระทบกับการประชุมรัฐสภา