“มาร์ค” โวประชาชนสุดปลื้มเรียนฟรี 15 ปี รับยังมีช่องว่าง จุดอ่อน เน้นย้ำต่อยอดโครงการให้เกิดความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ลดภาระผู้ปกครองในยามค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น ฝากผู้ปกครองวางแผนใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด หวังนักเรียนตั้งใจเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพตัวเอง
วันนี้ (7 มี.ค.) ที่ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการเปิดงาน “เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3” พร้อมทั้งกดปุ่มกระจายเงินไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศ ว่า รัฐบาลเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งถือเป็นเรื่องหลักในการที่จะวางรากฐานพัฒนาประเทศ ซึ่งได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้านโอกาสทางการศึกษาของลูกหลาน ซึ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากที่มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ทั้งๆ ที่การเรียนฟรีถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ แต่ที่ผ่านมา การดำเนินการเพื่อผลักดันนั้นยังไม่สามารถทำได้บรรลุตามเป้าหมายอย่างที่กำหนดไว้ตามที่ประกาศไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ส่วนหนึ่งอยู่ที่การจัดสรรงบประมาณที่ไม่ชัดเจน ไม่เพียงพอ และไม่ทั่วถึง จึงทำให้หลายช่วงต้องดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครอบครัว โดยเฉพาะ ในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ต้องดูแลเด็กนักเรียนเพื่อให้ได้เรียนต่อในโรงเรียนได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2551 ที่รัฐบาลเข้ามาก็ต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ได้ประกาศชัดว่าต้องการเห็นทุกคนได้เรียนฟรีอย่างแท้จริง โดยในปี 2552 รัฐบาลก็ได้จัดงบ 18,575,470,000 บาทเป็นงบเพิ่มเติมกลางปีให้สถานศึกษาทุกสังกัดขับเคลื่อนนโยบายเรียนฟรี ที่มีแนวทางชัดเจนว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าเล่าเรียน พร้อมทั้งยังจ่ายเงินสด ในการให้ผู้ปกครองสามารถซื้อเครื่องแบบนักเรียน จนทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์กว่า 12,363,084 คน ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองได้ ทั้งนี้ ยังเป็นเรื่องน่ายินดีว่าการดำเนินการมีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งซึ่งมีความพร้อม ยังได้สละสิทธิ์ในการรับโครงการเรียนฟรี ทำให้ ศธ.ได้นำเงินส่วนนี้กว่า 40,000,000 บาท เพื่อไปพัฒนาโรงเรียนด้อยโอกาส 577 แห่ง ซึ่งแสดงว่าโครงการเรียนฟรียังได้สร้างโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมลดความเหลื่อมล้ำ และแสดงออกถึงความมีน้ำใจของประชาชนด้วย
“ที่ผ่านมา โครงการเรียนฟรีได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน ทั้งจากการสำรวจต่างๆ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ ผลสำรวจจากทุกสำนัก ต่างก็ยืนยันว่า ประชาชนพึงพอใจโครงการเรียนฟรี ซึ่งถือเป็นการตอบรับสูงสุดในส่วนนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือต้องดูแลให้โครงการเรียนฟรี มีความยั่งยืน สามารถปรับปรุงสิ่งที่เป็นช่องว่าง จุดอ่อน ซึ่งอาจมีอยู่บ้างให้หมดไป” นายกฯ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในปี 2554 ซึ่งถือเป็นปีที่ 3 นั้นรัฐบาลได้จัดสรรงบอุดหนุนทั่วไป 5 รายการ คือ การเรียนการสอน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน หนังสือเรียน และ กิจกรรม รวมเป็นงบ 80,042,247,600 บาท สำหรับนักเรียน 13,032,652 คน อย่างไรก็ตามที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบจำนวนมากก็เพื่อยืนยันถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพคน ในการพัฒนาประเทศ ที่สำคัญวัตถุประสงค์นอกเหนือจากลดค่าใช่จ่ายที่วันนี้ผู้ปกครองต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นแล้ว ยังต้องเพิ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่ต้องการให้พัฒนาการเรียนรู้ ของคนไทย เพิ่มโอกาสการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งถือว่ามีความก้าวหน้าพอสมควร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ตนขอเน้นย้ำว่า การทำงานด้านการศึกษา โดยมีนโยบายในการดำเนินงานให้ประชาชนคนไทยได้รับโอกาศอย่างทั่วถึง ซึ่งในแผนปฏิรูปประเทศ ได้ให้นโยบายพิเศษที่มุ่งเน้นดูแลเด็ก เยาวชน ที่ตกหล่นให้ได้รับโอกาสได้พัฒนาตนเองในระบบการศึกษาได้มีทางเลือกทางการศึกษา อาทิ เด็กในถิ่นทุรกันดาร ชนบท เด็กพิการ เด็กไร้สัญชาติ แรงงานต่างด้าว ออกจากระบบโรงเรียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มสำคัญในการที่ต้องการขับเคลื่อนคุณภาพ อย่างไรก็ตาม โครงการเรียนฟรีถือเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชน ซึ่งนโยบายนี้จะได้ต่อยอดจนถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เข้ามารับช่วงต่อไป
“ในวันนี้จะได้มีการโอนเงิน 42,000 ล้านบาท เพื่อกระจายไปยังสถานศึกษาทุกภูมิภาค เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายแก่นักเรียนในเทอม 1/2554 ซึ่งจะสามารถลดภาระให้แก่ผู้ปกครอง สร้างโอกาสนักเรียนกว่า 11,000,000 คน ทุกพื้นที่ของประเทศ และหวังว่าผู้ปกครองจะสามารถวางแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ที่สุด และนักเรียนจะต้องตั้งใจเรียน เพื่อให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพต่อไป คุ้มค่ากับโอกาสที่ได้รับจากรัฐบาล จากเงินภาษีของประชาชน” นายกรัฐมนตรี กล่าว
วันนี้ (7 มี.ค.) ที่ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการเปิดงาน “เรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีที่ 3” พร้อมทั้งกดปุ่มกระจายเงินไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศ ว่า รัฐบาลเน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งถือเป็นเรื่องหลักในการที่จะวางรากฐานพัฒนาประเทศ ซึ่งได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้านโอกาสทางการศึกษาของลูกหลาน ซึ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชนจำนวนมากที่มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ทั้งๆ ที่การเรียนฟรีถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ แต่ที่ผ่านมา การดำเนินการเพื่อผลักดันนั้นยังไม่สามารถทำได้บรรลุตามเป้าหมายอย่างที่กำหนดไว้ตามที่ประกาศไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2540 ส่วนหนึ่งอยู่ที่การจัดสรรงบประมาณที่ไม่ชัดเจน ไม่เพียงพอ และไม่ทั่วถึง จึงทำให้หลายช่วงต้องดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครอบครัว โดยเฉพาะ ในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ต้องดูแลเด็กนักเรียนเพื่อให้ได้เรียนต่อในโรงเรียนได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2551 ที่รัฐบาลเข้ามาก็ต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ได้ประกาศชัดว่าต้องการเห็นทุกคนได้เรียนฟรีอย่างแท้จริง โดยในปี 2552 รัฐบาลก็ได้จัดงบ 18,575,470,000 บาทเป็นงบเพิ่มเติมกลางปีให้สถานศึกษาทุกสังกัดขับเคลื่อนนโยบายเรียนฟรี ที่มีแนวทางชัดเจนว่าไม่มีการเรียกเก็บค่าเล่าเรียน พร้อมทั้งยังจ่ายเงินสด ในการให้ผู้ปกครองสามารถซื้อเครื่องแบบนักเรียน จนทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์กว่า 12,363,084 คน ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองได้ ทั้งนี้ ยังเป็นเรื่องน่ายินดีว่าการดำเนินการมีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งซึ่งมีความพร้อม ยังได้สละสิทธิ์ในการรับโครงการเรียนฟรี ทำให้ ศธ.ได้นำเงินส่วนนี้กว่า 40,000,000 บาท เพื่อไปพัฒนาโรงเรียนด้อยโอกาส 577 แห่ง ซึ่งแสดงว่าโครงการเรียนฟรียังได้สร้างโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมลดความเหลื่อมล้ำ และแสดงออกถึงความมีน้ำใจของประชาชนด้วย
“ที่ผ่านมา โครงการเรียนฟรีได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน ทั้งจากการสำรวจต่างๆ เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ ผลสำรวจจากทุกสำนัก ต่างก็ยืนยันว่า ประชาชนพึงพอใจโครงการเรียนฟรี ซึ่งถือเป็นการตอบรับสูงสุดในส่วนนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือต้องดูแลให้โครงการเรียนฟรี มีความยั่งยืน สามารถปรับปรุงสิ่งที่เป็นช่องว่าง จุดอ่อน ซึ่งอาจมีอยู่บ้างให้หมดไป” นายกฯ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในปี 2554 ซึ่งถือเป็นปีที่ 3 นั้นรัฐบาลได้จัดสรรงบอุดหนุนทั่วไป 5 รายการ คือ การเรียนการสอน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน หนังสือเรียน และ กิจกรรม รวมเป็นงบ 80,042,247,600 บาท สำหรับนักเรียน 13,032,652 คน อย่างไรก็ตามที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบจำนวนมากก็เพื่อยืนยันถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพคน ในการพัฒนาประเทศ ที่สำคัญวัตถุประสงค์นอกเหนือจากลดค่าใช่จ่ายที่วันนี้ผู้ปกครองต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นแล้ว ยังต้องเพิ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่ต้องการให้พัฒนาการเรียนรู้ ของคนไทย เพิ่มโอกาสการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งถือว่ามีความก้าวหน้าพอสมควร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ตนขอเน้นย้ำว่า การทำงานด้านการศึกษา โดยมีนโยบายในการดำเนินงานให้ประชาชนคนไทยได้รับโอกาศอย่างทั่วถึง ซึ่งในแผนปฏิรูปประเทศ ได้ให้นโยบายพิเศษที่มุ่งเน้นดูแลเด็ก เยาวชน ที่ตกหล่นให้ได้รับโอกาสได้พัฒนาตนเองในระบบการศึกษาได้มีทางเลือกทางการศึกษา อาทิ เด็กในถิ่นทุรกันดาร ชนบท เด็กพิการ เด็กไร้สัญชาติ แรงงานต่างด้าว ออกจากระบบโรงเรียน ซึ่งถือเป็นกลุ่มสำคัญในการที่ต้องการขับเคลื่อนคุณภาพ อย่างไรก็ตาม โครงการเรียนฟรีถือเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชน ซึ่งนโยบายนี้จะได้ต่อยอดจนถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เข้ามารับช่วงต่อไป
“ในวันนี้จะได้มีการโอนเงิน 42,000 ล้านบาท เพื่อกระจายไปยังสถานศึกษาทุกภูมิภาค เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายแก่นักเรียนในเทอม 1/2554 ซึ่งจะสามารถลดภาระให้แก่ผู้ปกครอง สร้างโอกาสนักเรียนกว่า 11,000,000 คน ทุกพื้นที่ของประเทศ และหวังว่าผู้ปกครองจะสามารถวางแผนการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ที่สุด และนักเรียนจะต้องตั้งใจเรียน เพื่อให้เป็นเด็กที่มีคุณภาพต่อไป คุ้มค่ากับโอกาสที่ได้รับจากรัฐบาล จากเงินภาษีของประชาชน” นายกรัฐมนตรี กล่าว