“ชินวรณ์” เผย สพฐ.จัดงบฯ 4 หมื่นล. มุ่งเรียนฟรีปี 54 ลดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง หวังอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 1,665-2,605 บาท นร.ยากจนชั้น ป.1-6 ประหยัดได้ 1,885 บาท ม.1-3 ประหยัดได้ 3,900 บาท พร้อมปรับค่ารายหัว การจัดการเรียนการสอน ร.ร.ประถมฯ ขนาดเล็ก เพิ่มอีก 500 บาท/คน/ปี ร.ร.มัธยมฯ ขนาดเล็ก เพิ่ม 1,000 บาท/คน/ปี และโรงเรียนขยายโอกาส เฉพาะ ม.ต้น 500 บาท/คน/ปี
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมองค์กรหลักของ ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2554 ซึ่งในปีนี้ ศธ.ได้จัดตั้งงบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 8 หมื่นล้านบาท โดยเน้นวิสัยทัศน์ในการมุ่งลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง เพิ่มโอกาสทางการศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการศึกษาของประชาชน ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับการจัดสรรงบฯ 41,854 ล้านบาท โดยเน้นเป้าหมาย 3 ส่วน คือ 1.ด้านปริมาณ ซึ่งจะจัดสรรงบฯ ให้ผู้ปกครองตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไป ดังนี้ โรงเรียนปกติ ระดับอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 1,665-2,605 บาท นักเรียนยากจน ชั้น ป.1-6 ประหยัดได้ 1,885 บาท นักเรียนยากจนชั้น ม.1-3 ประหยัดได้ 3,900 บาท จัดการศึกษาโดยครอบครัว/สถานประกอบการ ระดับชั้นอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 3,906-6,581 บาท ระดับ ปวช.1-3 ประหยัดได้ 7,278 บาท โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ระดับอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 14,175-15,205 บาท โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ระดับอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 14,385-15,405 บาท และศูนย์การศึกษาพิเศษ ในส่วนเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ ประหยัดได้ 315 บาท
นายชินวรณ์กล่าวต่อว่า 2.ด้านคุณภาพ ซึ่งนักเรียนจะต้องมีความรู้ ทักษะกระบวนการตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ ที่มีทั้งหนังสือเรียน แบบฝึกหัด อุปกรณ์ต่างๆ และการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน นักเรียนมีความรู้ประสบการณ์ มีลักษณะที่พึงประสงค์ จากการจัดกิจกรรมวิชาการ/ทัศนศึกษา ลูกเสือ เนตรนารี อีกทั้งนักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างสร้างสรรค์ และนักเรียนมีความสมารถ ทักษะ คุณลักษณะตามประกาศจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนของ ศธ. และ 3.ด้านการมีส่วนร่วม จะทำให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมทำติดตามประเมินผล และทำให้ผู้ปกครองตระหนักรู้เรื่องของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 อย่างไรก็ตาม ได้กำหนดแผนในการเปิดตัวโครงการฯ ทำพิธีโอนเงินไปยังสถานศึกษาต่างๆ ในวันที่ 7-12 มี.ค.นี้ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมทั้งจะจัดการเสวนาในลักษณะเวทีชาวบ้าน เพื่อสะท้อนภาพให้เห็นผลตอบรับจากนักเรียน ประชาชนต่อโครงการฯ นี้
นายชินวรณ์กล่าวด้วยว่า ในส่วนประเด็นที่ปรับปรุงพัฒนาจากปีการศึกษา 2553 ให้ดีขึ้นคือ เพิ่มค่าจัดการเรียนการสอนโดยในโรงเรียนประถมฯ ขนาดเล็กที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ให้เพิ่มจากค่ารายหัวปกติอีก 500 บาท/คน/ปี โรงเรียนมัธยมฯ ขนาดเล็ก มีนักเรียน 300 คนลงมา เพิ่ม 1,000 บาท/คน/ปี และโรงเรียนขยายโอกาสที่มี่นักเรียน 300 คนลงมาเพิ่มเฉพาะ ม.ต้น 500 บาท/คน/ปี
สำหรับอุปกรณ์การเรียนการสอน ให้ผู้ปกครองเลือกซื้อตามที่จำเป็น ในหลักถัวจ่ายได้ เครื่องแบบนักเรียนจะจ่ายเป็นเงินสดให้ผู้ปกครองเลือกซื้อได้ตามความต้องการ ส่วนหนังสือเรียนในปีนี้จะแจกฟรีทุกคน ขณะที่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะเน้นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ด้านศาสนา ลูกเสือ เนตรนารี ทัศนศึกษา ส่งเสริมไอซีที ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อปี พร้อมทั้งมอบให้ สพฐ.สำรวจเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสทุกพื้นที่ของประเทศไทยเพื่อไม่ให้เด็กตกหล่น
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมองค์กรหลักของ ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2554 ซึ่งในปีนี้ ศธ.ได้จัดตั้งงบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 8 หมื่นล้านบาท โดยเน้นวิสัยทัศน์ในการมุ่งลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง เพิ่มโอกาสทางการศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการศึกษาของประชาชน ทั้งนี้ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับการจัดสรรงบฯ 41,854 ล้านบาท โดยเน้นเป้าหมาย 3 ส่วน คือ 1.ด้านปริมาณ ซึ่งจะจัดสรรงบฯ ให้ผู้ปกครองตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไป ดังนี้ โรงเรียนปกติ ระดับอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 1,665-2,605 บาท นักเรียนยากจน ชั้น ป.1-6 ประหยัดได้ 1,885 บาท นักเรียนยากจนชั้น ม.1-3 ประหยัดได้ 3,900 บาท จัดการศึกษาโดยครอบครัว/สถานประกอบการ ระดับชั้นอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 3,906-6,581 บาท ระดับ ปวช.1-3 ประหยัดได้ 7,278 บาท โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ระดับอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 14,175-15,205 บาท โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ระดับอนุบาล-ม.6 ประหยัดได้ 14,385-15,405 บาท และศูนย์การศึกษาพิเศษ ในส่วนเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์ฯ ประหยัดได้ 315 บาท
นายชินวรณ์กล่าวต่อว่า 2.ด้านคุณภาพ ซึ่งนักเรียนจะต้องมีความรู้ ทักษะกระบวนการตามเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ ที่มีทั้งหนังสือเรียน แบบฝึกหัด อุปกรณ์ต่างๆ และการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน นักเรียนมีความรู้ประสบการณ์ มีลักษณะที่พึงประสงค์ จากการจัดกิจกรรมวิชาการ/ทัศนศึกษา ลูกเสือ เนตรนารี อีกทั้งนักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างสร้างสรรค์ และนักเรียนมีความสมารถ ทักษะ คุณลักษณะตามประกาศจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนของ ศธ. และ 3.ด้านการมีส่วนร่วม จะทำให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง มีส่วนในการร่วมคิด ร่วมทำติดตามประเมินผล และทำให้ผู้ปกครองตระหนักรู้เรื่องของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 อย่างไรก็ตาม ได้กำหนดแผนในการเปิดตัวโครงการฯ ทำพิธีโอนเงินไปยังสถานศึกษาต่างๆ ในวันที่ 7-12 มี.ค.นี้ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมทั้งจะจัดการเสวนาในลักษณะเวทีชาวบ้าน เพื่อสะท้อนภาพให้เห็นผลตอบรับจากนักเรียน ประชาชนต่อโครงการฯ นี้
นายชินวรณ์กล่าวด้วยว่า ในส่วนประเด็นที่ปรับปรุงพัฒนาจากปีการศึกษา 2553 ให้ดีขึ้นคือ เพิ่มค่าจัดการเรียนการสอนโดยในโรงเรียนประถมฯ ขนาดเล็กที่มีนักเรียน 120 คนลงมา ให้เพิ่มจากค่ารายหัวปกติอีก 500 บาท/คน/ปี โรงเรียนมัธยมฯ ขนาดเล็ก มีนักเรียน 300 คนลงมา เพิ่ม 1,000 บาท/คน/ปี และโรงเรียนขยายโอกาสที่มี่นักเรียน 300 คนลงมาเพิ่มเฉพาะ ม.ต้น 500 บาท/คน/ปี
สำหรับอุปกรณ์การเรียนการสอน ให้ผู้ปกครองเลือกซื้อตามที่จำเป็น ในหลักถัวจ่ายได้ เครื่องแบบนักเรียนจะจ่ายเป็นเงินสดให้ผู้ปกครองเลือกซื้อได้ตามความต้องการ ส่วนหนังสือเรียนในปีนี้จะแจกฟรีทุกคน ขณะที่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะเน้นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ด้านศาสนา ลูกเสือ เนตรนารี ทัศนศึกษา ส่งเสริมไอซีที ไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อปี พร้อมทั้งมอบให้ สพฐ.สำรวจเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสทุกพื้นที่ของประเทศไทยเพื่อไม่ให้เด็กตกหล่น