สปสช.จัดโครงการจัดอบรมการใช้ไม้เท้าขาวให้ผู้พิการทางสายตา ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ตั้งเป้า 8 หมื่นรายภายใน 10 ปี เพิ่มทักษะการใช้ไม้เท้าขาวได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ เป็นอุปกรณ์คู่ชีพแทนดวงตาในการดำเนินชีวิตประจำวัน พร้อมได้รับไม้เท้าขาวใช้แทนดวงตาเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่านมานำร่อง 16 จังหวัด แนวทางดำเนินการมีทั้งการผลิตครูฝึกให้เพียงพอ และเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตา
นายแพทย์ ปัญญา กีรติหัตถยากร ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในระหว่างพาสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการฝึกคนพิการตาบอดที่ผ่านการฝีกใช้ไม้เท้าขาวรุ่นที่ 1 ของศูนย์บริการ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ว่า โครงการฝึกทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว สำหรับคนตาบอดนั้น เป็นการฝึกให้คนตาบอดรู้จักใช้ประสาทสัมผัสพื้นฐานได้แก่ การมองเห็นที่เหลืออยู่ การฟังเสียง การสัมผัส และการดมกลิ่น การทำกิจวัตประจำวัน งานบ้าน งานครัว เดินทางกับคนนำทางอย่างถูกวิธี การเดินขึ้นลงบันได การเดินในอาคาร การเดินทางผ่านอุปสรรคต่างๆ เช่นพื้นต่างระดับ การค้นหาสิ่งของ การป้องกันอันตราย เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันและไปที่ต่างๆ ได้อย่างมีความปลอดภัยมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ เพื่อทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม การทำกิจกรรมประจำวัน และการเดินทางอย่างถูกวิธี
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553-2558 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายจะแจกไม้เท้าขาดให้คนตาบอดประมาณ 80,000 คน และฝีกอบรมวิธีการใช้ไม้เท้าขาวให้คนตาบอดหลักสูตรละ 120 ชม.ใช้เวลา 20 วันเพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วยความปลอดภัย และใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไปให้ได้มากที่สุด ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี โดยความร่วมมือของวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดหลักสูตรอบรมครูฝึก และมีสมาคมคนตาบอด สมาคมเวชปฏิบัติต่างๆ มีหน่วยอบรมหลายแห่ง เช่น ศูนย์สิรินธร รวมทั้งกระจายไปพื้นที่ต่าง ๆทุกจังหวัดทั่วประเทศ สาเหตุสำคัญที่ทำเร็วกว่าปกติไม่ได้เนื่องจากมีปัญหาขาดครูผู้ฝึกคนตาบอด ซึ่งปัจจุบันมีครูฝึกเพียง 70 คน ตั้งเป้าหมายไว้ใน 6 ปีจะอบรมครูฝึกให้ได้ 610 คน
นายแพทย์ ปัญญา กล่าวว่า จากข้อมูลปี 2553 สปสช.มีจำนวนคนตาบอดในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประมาณ 80,548 คน และในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 85 ไม่เคยได้รับการฟื้นฟูทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญของกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการมองเห็น ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมวัตรประจำวันต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีผู้พิการประมาณ 1 เท่าตัวที่ยังไม่ได้มาขึ้นทะเบียน ซึ่งได้ให้เจ้าหน้าที่ออกค้นหาต่อไป
โครงการอบรมทักษาการใช้ไม้เท้าขาว เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาได้รับการอนุมัติจากคระกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ดำเนินการายใน 6 ปี (2553-2558) ในปี 2553 ได้รับงบ 7.6 ล้านบาท ให้จัดตั้งศูนย์บริการเพื่อการฝึกอบรม 16 จังหวัด และกำหนดพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติม 12 จังหวัดในทุกปีจนครบ 76 จังหวัด ในปี 2556 ปีแรกตั้งเป้าหมายการอบรมจังหวัดละ 40 คน รวมเป็น 630 คนในปีแรก วิธีการนี้จะแก้ปัญหาทั้งเรื่องการผลิตครูฝึกเพิ่ม การเพิ่มทักษะการใช้ไม้เท้าขาว และให้ผู้พิการได้รับไม้เท้าขาว ด้วยความช่วยเหลือด้านวิชาการ การอบรมจากหน่วยงานภาคีที่ร่วมดำเนินโครงการ ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี ผู้พิการได้รับบริการอบรมพร้อมไม้เท้าขาวจำนวน 80,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนประมาณผู้พิการทางสายตาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ทั้งนี้ ราคาไม้เท้าขาวจะตกประมาณ 450 บาทต่ออัน แต่ปัญหาอยู่ที่การฝึกอบรม คือ แต่ละคนจะต้องใช้งบประมาณโดยเฉลี่ยคนละ 9,000 บาท โดยผู้พิการทางสายตา 1 คน ต้องใช้เวลาอบรม 120 ชั่วโมง อบรม 20 วัน ซึ่งทางสภาการพยาบาล มีพยาบาลเวชปฏิบัติทางสายตาอยู่แล้ว พร้อมสนับสนุนตรงนี้
นายแพทย์ ปัญญา กีรติหัตถยากร ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวในระหว่างพาสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการฝึกคนพิการตาบอดที่ผ่านการฝีกใช้ไม้เท้าขาวรุ่นที่ 1 ของศูนย์บริการ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ว่า โครงการฝึกทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว สำหรับคนตาบอดนั้น เป็นการฝึกให้คนตาบอดรู้จักใช้ประสาทสัมผัสพื้นฐานได้แก่ การมองเห็นที่เหลืออยู่ การฟังเสียง การสัมผัส และการดมกลิ่น การทำกิจวัตประจำวัน งานบ้าน งานครัว เดินทางกับคนนำทางอย่างถูกวิธี การเดินขึ้นลงบันได การเดินในอาคาร การเดินทางผ่านอุปสรรคต่างๆ เช่นพื้นต่างระดับ การค้นหาสิ่งของ การป้องกันอันตราย เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันและไปที่ต่างๆ ได้อย่างมีความปลอดภัยมีประสิทธิภาพและเป็นอิสระ เพื่อทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม การทำกิจกรรมประจำวัน และการเดินทางอย่างถูกวิธี
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553-2558 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายจะแจกไม้เท้าขาดให้คนตาบอดประมาณ 80,000 คน และฝีกอบรมวิธีการใช้ไม้เท้าขาวให้คนตาบอดหลักสูตรละ 120 ชม.ใช้เวลา 20 วันเพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วยความปลอดภัย และใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไปให้ได้มากที่สุด ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี โดยความร่วมมือของวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดหลักสูตรอบรมครูฝึก และมีสมาคมคนตาบอด สมาคมเวชปฏิบัติต่างๆ มีหน่วยอบรมหลายแห่ง เช่น ศูนย์สิรินธร รวมทั้งกระจายไปพื้นที่ต่าง ๆทุกจังหวัดทั่วประเทศ สาเหตุสำคัญที่ทำเร็วกว่าปกติไม่ได้เนื่องจากมีปัญหาขาดครูผู้ฝึกคนตาบอด ซึ่งปัจจุบันมีครูฝึกเพียง 70 คน ตั้งเป้าหมายไว้ใน 6 ปีจะอบรมครูฝึกให้ได้ 610 คน
นายแพทย์ ปัญญา กล่าวว่า จากข้อมูลปี 2553 สปสช.มีจำนวนคนตาบอดในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประมาณ 80,548 คน และในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 85 ไม่เคยได้รับการฟื้นฟูทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญของกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการมองเห็น ให้สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรมวัตรประจำวันต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีผู้พิการประมาณ 1 เท่าตัวที่ยังไม่ได้มาขึ้นทะเบียน ซึ่งได้ให้เจ้าหน้าที่ออกค้นหาต่อไป
โครงการอบรมทักษาการใช้ไม้เท้าขาว เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาได้รับการอนุมัติจากคระกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ดำเนินการายใน 6 ปี (2553-2558) ในปี 2553 ได้รับงบ 7.6 ล้านบาท ให้จัดตั้งศูนย์บริการเพื่อการฝึกอบรม 16 จังหวัด และกำหนดพื้นที่ดำเนินการเพิ่มเติม 12 จังหวัดในทุกปีจนครบ 76 จังหวัด ในปี 2556 ปีแรกตั้งเป้าหมายการอบรมจังหวัดละ 40 คน รวมเป็น 630 คนในปีแรก วิธีการนี้จะแก้ปัญหาทั้งเรื่องการผลิตครูฝึกเพิ่ม การเพิ่มทักษะการใช้ไม้เท้าขาว และให้ผู้พิการได้รับไม้เท้าขาว ด้วยความช่วยเหลือด้านวิชาการ การอบรมจากหน่วยงานภาคีที่ร่วมดำเนินโครงการ ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี ผู้พิการได้รับบริการอบรมพร้อมไม้เท้าขาวจำนวน 80,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนประมาณผู้พิการทางสายตาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ทั้งนี้ ราคาไม้เท้าขาวจะตกประมาณ 450 บาทต่ออัน แต่ปัญหาอยู่ที่การฝึกอบรม คือ แต่ละคนจะต้องใช้งบประมาณโดยเฉลี่ยคนละ 9,000 บาท โดยผู้พิการทางสายตา 1 คน ต้องใช้เวลาอบรม 120 ชั่วโมง อบรม 20 วัน ซึ่งทางสภาการพยาบาล มีพยาบาลเวชปฏิบัติทางสายตาอยู่แล้ว พร้อมสนับสนุนตรงนี้