ประธาน กมธ.พัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา โวยพรรคการเมืองเมินนโยบายดูแลคนพิการ ด้านตัวแทนคนพิการจี้รัฐบาลใหม่เดินหน้า 3 ประเด็น ทั้งออกสลากการกุศลเพื่อคนพิการ 10 ล้านฉบับ นำรายได้เข้ากองทุนคนพิการปีละ 2.6 พันล้าน ชงแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ หนุนเอกชนดูแลคนพิการ
วันนี้ (20 มิ.ย.) นางยุวดี นิ่มสมบุญ ที่อาคารรัฐสภา 2 ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา กล่าวเป็นประธานเปิดการเสวนา “คนพิการใน/นอกสายตา...การเมือง” ว่า ปัจจุบันมีคนพิการทั่วประเทศประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งเท่าที่ดูนโยบายพรรคการเมืองต่างๆ ยังให้ความสำคัญกับคนพิการน้อยมาก ซึ่งอาจจะมองว่าคนกลุ่มนี้เป็นคะแนนเสียงส่วนน้อย
“คนพิการไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าคนปกติ โดยคนพิการต้องการให้ดูแลด้านสวัสดิการ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และการมีงานทำ รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ จะรวบรวมข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ เสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อพิจารณาประกาศเป็นนโยบายพัฒนาคนพิการ” นางยุวดี กล่าว
ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานฝ่ายกฎหมายและสิทธิมนุษยชนสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอเสนอให้พรรคการเมืองดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาคนพิการใน 3 เรื่อง คือ 1.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลออกสลากการกุศล 10 ล้านฉบับ ซึ่งจะมีรายได้ 2,688 ล้านบาทต่อปี และนำเงินนี้มาเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้มีงานทำ
2.แก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ พ.ศ.2550 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1.การยกฐานะสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้เป็นกรมและมีฐานะเป็นนิติบุคคล และ2.การให้มีคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ ซึ่งขณะนี้ได้บรรจุเข้าเป็นวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
ส่วนเรื่องที่ 3.ให้มีหน่วยงานเอกชนเข้ามาให้บริการคนพิการโดยรัฐจัดเงินอุดหนุนให้คนพิการ เช่น บริการล่ามภาษามือ การจัดหางาน นอกจากนี้ จะมีการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เช่น สตรี ผู้สูงอายุ เพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อเสนอรัฐบาลชุดใหม่
“หากพรรคการเมืองต่างๆ รับข้อเสนอเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการอย่างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันเด็กพิการเรียนจบมาแล้วไม่มีงานทำ ในระดับปริญญาตรีรัฐต้องลงทุนถึง 1 ล้านบาทต่อคน แต่เมื่อถามไปที่กระทรวงศึกษาธิการ ก็มองว่าจบแล้วก็แล้วไป ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานก็ไม่ได้สนใจที่จะสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำอย่างจริงจัง” ศ.วิริยะ กล่าว
นายพีรพงศ์ จารุสาร ผู้พิการทางสายตา ตัวแทนสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้นำเงินภาษีจากธุรกิจที่ก่อให้เกิดความพิการ เช่น รถยนต์ เหล้า อาวุธ หรืออาจจะแบ่งเงินนี้มาจากกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
นางสาวอรุณวดี ลิ้มอังกูร ผู้จัดการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว กล่าวว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองเปิดโอกาสให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนและนโยบายด้านต่างๆ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และอาคารสาธารณะต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ รวมถึงจัดระบบสวัสดิการด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และเพิ่มจำนวนผู้ช่วยคนพิการเพื่อดูแลผู้พิการที่ต้องนอนอยู่บนเตียงเคลื่อนไหวไม่ได้
นายอาคม ชุดทองหลาง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซี่งเป็นผู้พิการทางสายตา กล่าวว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองเพิ่มทุนเรียนฟรีระดับปริญญาตรีให้แก่คนพิการ รวมถึงเพิ่มผู้ช่วยนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียน
วันนี้ (20 มิ.ย.) นางยุวดี นิ่มสมบุญ ที่อาคารรัฐสภา 2 ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา กล่าวเป็นประธานเปิดการเสวนา “คนพิการใน/นอกสายตา...การเมือง” ว่า ปัจจุบันมีคนพิการทั่วประเทศประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งเท่าที่ดูนโยบายพรรคการเมืองต่างๆ ยังให้ความสำคัญกับคนพิการน้อยมาก ซึ่งอาจจะมองว่าคนกลุ่มนี้เป็นคะแนนเสียงส่วนน้อย
“คนพิการไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าคนปกติ โดยคนพิการต้องการให้ดูแลด้านสวัสดิการ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และการมีงานทำ รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ จะรวบรวมข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ เสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อพิจารณาประกาศเป็นนโยบายพัฒนาคนพิการ” นางยุวดี กล่าว
ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานฝ่ายกฎหมายและสิทธิมนุษยชนสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอเสนอให้พรรคการเมืองดำเนินนโยบายเพื่อพัฒนาคนพิการใน 3 เรื่อง คือ 1.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลออกสลากการกุศล 10 ล้านฉบับ ซึ่งจะมีรายได้ 2,688 ล้านบาทต่อปี และนำเงินนี้มาเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้มีงานทำ
2.แก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ พ.ศ.2550 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1.การยกฐานะสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้เป็นกรมและมีฐานะเป็นนิติบุคคล และ2.การให้มีคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ ซึ่งขณะนี้ได้บรรจุเข้าเป็นวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
ส่วนเรื่องที่ 3.ให้มีหน่วยงานเอกชนเข้ามาให้บริการคนพิการโดยรัฐจัดเงินอุดหนุนให้คนพิการ เช่น บริการล่ามภาษามือ การจัดหางาน นอกจากนี้ จะมีการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เช่น สตรี ผู้สูงอายุ เพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ.ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อเสนอรัฐบาลชุดใหม่
“หากพรรคการเมืองต่างๆ รับข้อเสนอเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการอย่างมาก โดยเฉพาะปัจจุบันเด็กพิการเรียนจบมาแล้วไม่มีงานทำ ในระดับปริญญาตรีรัฐต้องลงทุนถึง 1 ล้านบาทต่อคน แต่เมื่อถามไปที่กระทรวงศึกษาธิการ ก็มองว่าจบแล้วก็แล้วไป ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานก็ไม่ได้สนใจที่จะสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำอย่างจริงจัง” ศ.วิริยะ กล่าว
นายพีรพงศ์ จารุสาร ผู้พิการทางสายตา ตัวแทนสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้นำเงินภาษีจากธุรกิจที่ก่อให้เกิดความพิการ เช่น รถยนต์ เหล้า อาวุธ หรืออาจจะแบ่งเงินนี้มาจากกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
นางสาวอรุณวดี ลิ้มอังกูร ผู้จัดการศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว กล่าวว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองเปิดโอกาสให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนและนโยบายด้านต่างๆ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และอาคารสาธารณะต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ รวมถึงจัดระบบสวัสดิการด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และเพิ่มจำนวนผู้ช่วยคนพิการเพื่อดูแลผู้พิการที่ต้องนอนอยู่บนเตียงเคลื่อนไหวไม่ได้
นายอาคม ชุดทองหลาง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซี่งเป็นผู้พิการทางสายตา กล่าวว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองเพิ่มทุนเรียนฟรีระดับปริญญาตรีให้แก่คนพิการ รวมถึงเพิ่มผู้ช่วยนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียน