“จุรินทร์” จัดโครงการฟื้นฟูสภาพผู้พิการทางสายตาจากปัญหากระจกตาดำเสื่อม โดยใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนใส่กระจกตาดำเทียม ให้โอกาสกลับมองเห็นได้ ในไทยทำสำเร็จมาแล้ว 49 ราย สั่งโรงพยาบาลวัดไร่ขิง เร่งค้นหาผู้ป่วย นำร่อง 2 จังหวัด นครปฐม และราชบุรี พร้อมขยายผลทั่วประเทศ พร้อมทั้งเร่งหาข้อสรุปกรณีการนวดตา รักษาตาต้อหิน
วันนี้ (28 ก.พ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำเทียมของผู้พิการทางสายตา ว่า จากการเดินทางไปเยี่ยมผู้พิการที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยที่พิการทางสายตาบางรายสามารถรักษาให้หายได้ จึงได้มอบนโยบายให้กรมการแพทย์ จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพผู้ที่พิการทางสายตาให้สามารถมองเห็นได้ ในกรณีที่สามารถใช้วิธีทางการแพทย์ได้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบผู้ขึ้นทะเบียนผู้พิการทางสายตาจำนวน 109,506 คน ในจำนวนนี้คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 100 ราย ที่จอประสาทตายังดี แต่มีปัญหากระจกตาดำเสื่อมทำให้มองไม่เห็น ผู้พิการจำนวนนี้สามารถแก้ไขทำให้กลับมามองเห็นได้ โดยใช้วิธีการผ่าตัดใส่กระจกตาดำเทียม ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 4 เดือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 4 - 5 แสนบาทต่อคน ซึ่งปัจจุบันนี้ในประเทศไทยดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนใส่กระจกตาดำเทียมไปแล้วจำนวน 49 ราย โดยดำเนินการในโรงพยาบาลราชวิถี 14 ราย และที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 35 ราย
นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติมอบให้โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์หรือโรงพยาบาลวัดไร่ขิง สังกัดกรมการแพทย์ เป็นเจ้าของเรื่อง และดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางสายตา เพื่อดำเนินการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดใส่กระจกตาดำเทียมต่อไป โดยจะเริ่มต้นในเดือนมีนาคมนี้ ที่จังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงจะขยายผลไปทั่วประเทศ
นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการกรณีแพทย์รพ.เอกชนแห่งหนึ่งรักษาโรคต้อหินด้วยวิธีการนวดดวงตาว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มอบให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเจ้าของเรื่อง เพื่อจัดระดมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งแพทยสภา และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ เพื่อจะได้ข้อสรุปที่เป็นทางการในระดับกระทรวงสาธารณสุขต่อเรื่องนี้ แต่เนื่องจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้มีความเห็นและมีข้อมูลประกอบอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นจึงได้ให้ผู้แทนจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯเข้าร่วมในคณะทำงานชุดดังกล่าวด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกัน คาดว่าจะประกาศให้ทราบได้ในการประชุมผู้บริหารครั้งต่อไป
วันนี้ (28 ก.พ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำเทียมของผู้พิการทางสายตา ว่า จากการเดินทางไปเยี่ยมผู้พิการที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยที่พิการทางสายตาบางรายสามารถรักษาให้หายได้ จึงได้มอบนโยบายให้กรมการแพทย์ จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพผู้ที่พิการทางสายตาให้สามารถมองเห็นได้ ในกรณีที่สามารถใช้วิธีทางการแพทย์ได้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า จากข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบผู้ขึ้นทะเบียนผู้พิการทางสายตาจำนวน 109,506 คน ในจำนวนนี้คาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 100 ราย ที่จอประสาทตายังดี แต่มีปัญหากระจกตาดำเสื่อมทำให้มองไม่เห็น ผู้พิการจำนวนนี้สามารถแก้ไขทำให้กลับมามองเห็นได้ โดยใช้วิธีการผ่าตัดใส่กระจกตาดำเทียม ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 4 เดือน ค่าใช้จ่ายประมาณ 4 - 5 แสนบาทต่อคน ซึ่งปัจจุบันนี้ในประเทศไทยดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนใส่กระจกตาดำเทียมไปแล้วจำนวน 49 ราย โดยดำเนินการในโรงพยาบาลราชวิถี 14 ราย และที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 35 ราย
นายจุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า ในวันนี้ที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติมอบให้โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์หรือโรงพยาบาลวัดไร่ขิง สังกัดกรมการแพทย์ เป็นเจ้าของเรื่อง และดำเนินการคัดกรองผู้พิการทางสายตา เพื่อดำเนินการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดใส่กระจกตาดำเทียมต่อไป โดยจะเริ่มต้นในเดือนมีนาคมนี้ ที่จังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงจะขยายผลไปทั่วประเทศ
นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการกรณีแพทย์รพ.เอกชนแห่งหนึ่งรักษาโรคต้อหินด้วยวิธีการนวดดวงตาว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มอบให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นเจ้าของเรื่อง เพื่อจัดระดมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งแพทยสภา และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ เพื่อจะได้ข้อสรุปที่เป็นทางการในระดับกระทรวงสาธารณสุขต่อเรื่องนี้ แต่เนื่องจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้มีความเห็นและมีข้อมูลประกอบอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นจึงได้ให้ผู้แทนจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯเข้าร่วมในคณะทำงานชุดดังกล่าวด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกัน คาดว่าจะประกาศให้ทราบได้ในการประชุมผู้บริหารครั้งต่อไป