“อาหารจานเดียวยอดนิยมหลายชนิดที่คนมักรับประทานอาหารโดยไม่ทราบว่ามีปริมาณโซเดียมสูงมาก...หากรับประทานอาหารเหล่านี้ 3 มื้อต่อวัน เราก็จะได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่าเลยทีเดียว”
โดย...ผศ.ดร พ.ญ. อติพร อิงค์สาธิต
อายุรแพทย์โรคไต รพ.รามาธิบดี
ในชีวิตประจำวัน ประชาชนวัยทำงานทั่วไปมักมองข้ามความสำคัญของการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคไตเรื้อรัง เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารเค็มจัดจะนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูง และในระยะยาวก็จะกลายเป็นโรคไตเรื้อรังได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 20% หรือประมาณ 8 ล้านคน และป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 17% หรือประมาณ 7 ล้านคน สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวนมากไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับในแต่ละวันคือไม่เกิน 2,400 มก.เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลา 4-6 ช้อนชาต่อวัน จากผลสำรวจของกรมอนามัยร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า คนไทยส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมถึงประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำต่อวัน และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคไตเรื้อรังในอนาคต
อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงมากที่เป็นที่ทราบกันดี เช่น ของหมักดอง น้ำพริก ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ไส้กรอก ขนมขบเคี้ยว จึงควรหลีกเลี่ยง แต่ยังมีอาหารจานเดียวยอดนิยมอีกหลายชนิดที่คนมักรับประทานโดยไม่ทราบว่ามีปริมาณโซเดียมสูงมาก ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำ มีปริมาณโซเดียมประมาณ 1,500-3,000 มิลลิกรัมต่อชาม หรือ ข้าวจานเดียว เช่น กะเพราไก่ราดข้าว ข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมกไก่ ข้าวคลุกกะปิ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ข้าวราดไข่พะโล้ มีปริมาณโซเดียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ต่อจาน
หากรับประทานอาหารเหล่านี้ 3 มื้อต่อวัน เราก็จะได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ หากเราเติมน้ำปลาเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณโซเดียมอีกถึงช้อนชาละ 500 มิลลิกรัม ส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมปริมาณสูงขึ้นไปอีก
วันไตโลกในปีนี้จึงเน้นการรณรงค์เรื่องการลดความเค็มในอาหารเป็นหลักดังคำขวัญที่ว่า “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยไตไม่วาย” และขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมในวันที่ 6 มีนาคม 2554 ซึ่งจะจัดขึ้นที่สวนจตุจักร ตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น.ให้ประชาชนได้ไปร่วมงาน ภายในงานมีกิจกรรมการปรุงอาหารเมนูลดเค็ม มีการเสวนาเรื่องการบริจาคไต การตรวจสุขภาพด้านโรคไต และกิจกรรมบันเทิงอีกมากมาย
โดย...ผศ.ดร พ.ญ. อติพร อิงค์สาธิต
อายุรแพทย์โรคไต รพ.รามาธิบดี
ในชีวิตประจำวัน ประชาชนวัยทำงานทั่วไปมักมองข้ามความสำคัญของการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคไตเรื้อรัง เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารเค็มจัดจะนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูง และในระยะยาวก็จะกลายเป็นโรคไตเรื้อรังได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 20% หรือประมาณ 8 ล้านคน และป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 17% หรือประมาณ 7 ล้านคน สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวนมากไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับในแต่ละวันคือไม่เกิน 2,400 มก.เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลา 4-6 ช้อนชาต่อวัน จากผลสำรวจของกรมอนามัยร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า คนไทยส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมถึงประมาณ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำต่อวัน และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคไตเรื้อรังในอนาคต
อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงมากที่เป็นที่ทราบกันดี เช่น ของหมักดอง น้ำพริก ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ไส้กรอก ขนมขบเคี้ยว จึงควรหลีกเลี่ยง แต่ยังมีอาหารจานเดียวยอดนิยมอีกหลายชนิดที่คนมักรับประทานโดยไม่ทราบว่ามีปริมาณโซเดียมสูงมาก ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำ มีปริมาณโซเดียมประมาณ 1,500-3,000 มิลลิกรัมต่อชาม หรือ ข้าวจานเดียว เช่น กะเพราไก่ราดข้าว ข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมกไก่ ข้าวคลุกกะปิ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ข้าวราดไข่พะโล้ มีปริมาณโซเดียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ต่อจาน
หากรับประทานอาหารเหล่านี้ 3 มื้อต่อวัน เราก็จะได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการของร่างกายถึง 2 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ หากเราเติมน้ำปลาเพิ่มเข้าไปอีก ก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณโซเดียมอีกถึงช้อนชาละ 500 มิลลิกรัม ส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมปริมาณสูงขึ้นไปอีก
วันไตโลกในปีนี้จึงเน้นการรณรงค์เรื่องการลดความเค็มในอาหารเป็นหลักดังคำขวัญที่ว่า “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยไตไม่วาย” และขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมในวันที่ 6 มีนาคม 2554 ซึ่งจะจัดขึ้นที่สวนจตุจักร ตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น.ให้ประชาชนได้ไปร่วมงาน ภายในงานมีกิจกรรมการปรุงอาหารเมนูลดเค็ม มีการเสวนาเรื่องการบริจาคไต การตรวจสุขภาพด้านโรคไต และกิจกรรมบันเทิงอีกมากมาย