“จุรินทร์” รับหญิงหูดับวัย 46 ปี เข้ารักษาที่โรงพยาบาลวิถี พร้อมเตือนประชาชนอย่ากินหมูดิบ เลือดหมูดิบ เสี่ยงหูดับหรืออัมพาตได้
จากกรณีที่ นางเกศรินทร์ วุฒิวงศ์ อายุ 46 ปี อาศัยที่บ้านเลขที่ 2333/125 แฟลตเทพประทาน ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ได้เข้าร้องเรียนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติไบเทค บางนา เมื่อเช้าวันนี้ (21 ก.พ.) เรื่องขอเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม เนื่องจากกินลาบแดงที่ทำจากเนื้อหมูดิบ ทำให้ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจนทำให้ประสาทหูเสื่อม ไม่ได้ยินเสียงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 เป็นต้นมา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับตัวนางเกศรินทร์เข้ารักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีในตอนเที่ยงวันนี้ โดยผู้ป่วยอยู่ในโครงการรักษาฟรีของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อเกิดกรณีดังกล่าวโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ได้ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่เนื่องจากผู้ป่วยเป็นกังวล จึงได้เดินทางไปโรงพยาบาลราชวิถีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2553 และพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ได้รับคำแนะนำให้ไปตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน (CT scan) และตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) ปรากฏว่าจากนั้นแพทย์ยังไม่ได้รับผล เนื่องจากผู้ป่วยไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลแห่งอื่น
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยรายนี้หากต้องการได้ยินเหมือนเดิม จะต้องฝังประสาทหูเทียมซึ่งมีราคา 850,000-1,000,000 บาท โดยประสาทหูเทียมดังกล่าวไม่สามารถฝังได้ทุกคน จะสามารถฝังได้เฉพาะผู้ที่หูชั้นในไม่ตัน ซึ่งหากหูชั้นในตันจะทำการรักษาวิธีอื่นต่อไป และประสาทหูเทียมดังกล่าว ไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ของโครงการรักษาฟรี ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลราชวิถีจึงได้ทำการช่วยเหลือนางเกศรินทร์ให้ได้รับการดูแลจากแพทย์ โดยใช้เงินของมูลนิธิของโรงพยาบาลราชวิธี ในการดูแลผู้ป่วยรายนี้เป็นพิเศษ ซึ่งในวันนี้แพทย์ได้สั่งทำซีทีแสกน และเอ็มอาร์ไออีกครั้ง
ด้าน นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคที่นางเกศรินทร์ เป็นนั้นเกิดจากเชื้อ สเตรปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย อาศัยอยู่ในลำคอ ในจมูก และในเลือดของสุกรที่ติดเชื้อ สามารถติดต่อจากสุกรไปสู่คนได้จากการสัมผัสโดยตรง เช่น ติดทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อหรือเลือดสุกรที่ไม่สุก
อาการที่พบได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน มีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง บางรายติดเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่พบภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น หลอดเลือดอักเสบ และอุจจาระร่วง บางรายติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง บางรายติดเชื้อในเยื่อหุ้มหัวใจแบบกึ่งเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่รอดชีวิตบางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก
ทั้งนี้ ตั้งแต่มกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 พบผู้ป่วยด้วยเชื้อดังกล่าวและทำให้หูหนวกแล้วจำนวน 10 คน ส่วนใหญ่พบที่จังหวัดลำปาง และสุโขทัย จึงอยากขอเตือนประชาชนในการรับประทานอาหารขอให้ปรุงให้สุกและอุ่นให้ร้อนก่อนนำมารับประทาน
จากกรณีที่ นางเกศรินทร์ วุฒิวงศ์ อายุ 46 ปี อาศัยที่บ้านเลขที่ 2333/125 แฟลตเทพประทาน ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ได้เข้าร้องเรียนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติไบเทค บางนา เมื่อเช้าวันนี้ (21 ก.พ.) เรื่องขอเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม เนื่องจากกินลาบแดงที่ทำจากเนื้อหมูดิบ ทำให้ป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจนทำให้ประสาทหูเสื่อม ไม่ได้ยินเสียงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 เป็นต้นมา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับตัวนางเกศรินทร์เข้ารักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีในตอนเที่ยงวันนี้ โดยผู้ป่วยอยู่ในโครงการรักษาฟรีของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อเกิดกรณีดังกล่าวโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ได้ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่เนื่องจากผู้ป่วยเป็นกังวล จึงได้เดินทางไปโรงพยาบาลราชวิถีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2553 และพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ได้รับคำแนะนำให้ไปตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน (CT scan) และตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) ปรากฏว่าจากนั้นแพทย์ยังไม่ได้รับผล เนื่องจากผู้ป่วยไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลแห่งอื่น
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยรายนี้หากต้องการได้ยินเหมือนเดิม จะต้องฝังประสาทหูเทียมซึ่งมีราคา 850,000-1,000,000 บาท โดยประสาทหูเทียมดังกล่าวไม่สามารถฝังได้ทุกคน จะสามารถฝังได้เฉพาะผู้ที่หูชั้นในไม่ตัน ซึ่งหากหูชั้นในตันจะทำการรักษาวิธีอื่นต่อไป และประสาทหูเทียมดังกล่าว ไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ของโครงการรักษาฟรี ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลราชวิถีจึงได้ทำการช่วยเหลือนางเกศรินทร์ให้ได้รับการดูแลจากแพทย์ โดยใช้เงินของมูลนิธิของโรงพยาบาลราชวิธี ในการดูแลผู้ป่วยรายนี้เป็นพิเศษ ซึ่งในวันนี้แพทย์ได้สั่งทำซีทีแสกน และเอ็มอาร์ไออีกครั้ง
ด้าน นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคที่นางเกศรินทร์ เป็นนั้นเกิดจากเชื้อ สเตรปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย อาศัยอยู่ในลำคอ ในจมูก และในเลือดของสุกรที่ติดเชื้อ สามารถติดต่อจากสุกรไปสู่คนได้จากการสัมผัสโดยตรง เช่น ติดทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อหรือเลือดสุกรที่ไม่สุก
อาการที่พบได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน มีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง บางรายติดเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่พบภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น หลอดเลือดอักเสบ และอุจจาระร่วง บางรายติดเชื้อในเลือดอย่างรุนแรง บางรายติดเชื้อในเยื่อหุ้มหัวใจแบบกึ่งเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่รอดชีวิตบางรายยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น หูหนวกทั้ง 2 ข้าง และเป็นอัมพาตครึ่งซีก
ทั้งนี้ ตั้งแต่มกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 พบผู้ป่วยด้วยเชื้อดังกล่าวและทำให้หูหนวกแล้วจำนวน 10 คน ส่วนใหญ่พบที่จังหวัดลำปาง และสุโขทัย จึงอยากขอเตือนประชาชนในการรับประทานอาหารขอให้ปรุงให้สุกและอุ่นให้ร้อนก่อนนำมารับประทาน