กลุ่มแพทย์เดินหน้าเอาผิด สธ.-สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เหตุยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประธาน ชพพ.ลั่นสภาต้องไม่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ในสมัยนี้ ด้าน หมอ รพ.ราชวิถี ยกกรณีผ่าตัดผู้ป่วย เอชไอวี ลวดบาดมือหวิดติดเอดส์ ตั้งข้อถามกรณีนี้ กม.ใดคุ้มครอง
วันนี้ (20 ม.ค.) นพ.โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์ เลขานุการชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) เปิดเผยว่า ตนได้เดินทางไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง กรณีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....โดยมีตนเป็นผู้ฟ้องคดีที่ 1 นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 2 และ นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 3 ผู้ถูกฟ้อง ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
นพ.โชติศักดิ์ กล่าวเพิ่มว่า การฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เนื่องจากเห็นว่า ได้ยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อพระราชบัญญัติวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง 3 มาตรา คือ มาตรา 82 เรื่องลงมติของที่ประชุมที่ให้ถือเสียงข้างมาก มาตรา 83 เรื่อง รายงานการประชุมต้องมีรายงานเป็นหนังสือถ้ามีความเห็นแย้งให้บันทึกความเห็นแย้ง พร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานการประชุม และมาตรา 79 เรื่อง องค์ประชุม การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ร่วมร่าง แก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงสารสำคัญ และรับรองร่างกฎหมายฉบับนี้ ทั้งๆ ที่กระบวนการ/เนื้อหา ผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามแนวทางปฏิบัติ 10 ประการที่กำหนดอยู่ในคู่มือแบบร่างกฎหมายซึ่งออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เอง อีกทั้งเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 30 และมาตรา 80(2) จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่า กระบวนการของ กม.ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
“ไม่ว่าศาลปกครองกลางจะรับพิจารณาว่าเป็นคดีในความรับผิดชอบของศาลหรือไม่ก็ตาม โดยมารยาทกระทรวงสาธารณสุขต้องหยุดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำข้อสรุป 12 ประเด็นที่อ้างว่าเป็นข้อสรุปร่วมของคณะกรรมการเสริมสร้างสมานฉันท์ในระบบสาธารณสุข ไปสอบถามความเห็นจากบุคลากรสังกัด สธ.เนื่องจากข้อสรุปทั้ง 12 ประเด็นไม่ใช่ความเห็นร่วม”นพ.โชติศักดิ์กล่าว
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ประธาน ชพพ.กล่าวว่า การที่จะมี กม.ในลักษณะนี้ เป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องไม่พิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้ เนื่องจากร่างกฎหมายนี้ ยังไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่เรียกว่าบทตรวจสอบ 10 ประการตามที่บัญญัติไว้ในคู่มือการร่างกฎหมายซึ่งออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรสนับสนุนให้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมนี้ ต้องดำเนินการตามเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับมากที่สุดและเป็นการเสนอกฎหมายที่เกิดจากการร่วมกันร่างของผู้รับและผู้ให้บริการ
ด้านนพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้ตนได้ทำการรักษาผ่าตัดเข่าให้กับผู้ป่วยลูกสะบ้าแตกและเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โดยระหว่างทำการผ่าตัดเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ลวดที่ใช้ในการผ่าตัดช่วยเหลือผู้ป่วยเกี่ยวเข้าที่นิ้วชี้ ส่งผลให้ตนต้องไปปรึกษาแพทย์และรับยารักษาเอชไอวีมาทาน ขณะนี้ทานครบ 1 เดือนแล้วผลการตรวจเลือดไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี แต่หลังจากนี้อีก 1 เดือน หากผลการตรวจเลือดพบว่าตนติดเชื้อเอชไอวี ถามว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย คุ้มครองตน หรือแพทย์ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาผู้ป่วยด้วยหรือไม่
วันนี้ (20 ม.ค.) นพ.โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์ เลขานุการชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) เปิดเผยว่า ตนได้เดินทางไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง กรณีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....โดยมีตนเป็นผู้ฟ้องคดีที่ 1 นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 2 และ นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ เป็นผู้ฟ้องคดีที่ 3 ผู้ถูกฟ้อง ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2
นพ.โชติศักดิ์ กล่าวเพิ่มว่า การฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เนื่องจากเห็นว่า ได้ยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อพระราชบัญญัติวิธิปฏิบัติราชการทางปกครอง 3 มาตรา คือ มาตรา 82 เรื่องลงมติของที่ประชุมที่ให้ถือเสียงข้างมาก มาตรา 83 เรื่อง รายงานการประชุมต้องมีรายงานเป็นหนังสือถ้ามีความเห็นแย้งให้บันทึกความเห็นแย้ง พร้อมทั้งเหตุผลไว้ในรายงานการประชุม และมาตรา 79 เรื่อง องค์ประชุม การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ร่วมร่าง แก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงสารสำคัญ และรับรองร่างกฎหมายฉบับนี้ ทั้งๆ ที่กระบวนการ/เนื้อหา ผิดกฎหมาย ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามแนวทางปฏิบัติ 10 ประการที่กำหนดอยู่ในคู่มือแบบร่างกฎหมายซึ่งออกโดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เอง อีกทั้งเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 30 และมาตรา 80(2) จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่า กระบวนการของ กม.ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
“ไม่ว่าศาลปกครองกลางจะรับพิจารณาว่าเป็นคดีในความรับผิดชอบของศาลหรือไม่ก็ตาม โดยมารยาทกระทรวงสาธารณสุขต้องหยุดการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำข้อสรุป 12 ประเด็นที่อ้างว่าเป็นข้อสรุปร่วมของคณะกรรมการเสริมสร้างสมานฉันท์ในระบบสาธารณสุข ไปสอบถามความเห็นจากบุคลากรสังกัด สธ.เนื่องจากข้อสรุปทั้ง 12 ประเด็นไม่ใช่ความเห็นร่วม”นพ.โชติศักดิ์กล่าว
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ประธาน ชพพ.กล่าวว่า การที่จะมี กม.ในลักษณะนี้ เป็นเรื่องที่ดี แต่จะต้องไม่พิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้ เนื่องจากร่างกฎหมายนี้ ยังไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่เรียกว่าบทตรวจสอบ 10 ประการตามที่บัญญัติไว้ในคู่มือการร่างกฎหมายซึ่งออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรสนับสนุนให้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมนี้ ต้องดำเนินการตามเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับมากที่สุดและเป็นการเสนอกฎหมายที่เกิดจากการร่วมกันร่างของผู้รับและผู้ให้บริการ
ด้านนพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้ตนได้ทำการรักษาผ่าตัดเข่าให้กับผู้ป่วยลูกสะบ้าแตกและเป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โดยระหว่างทำการผ่าตัดเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ลวดที่ใช้ในการผ่าตัดช่วยเหลือผู้ป่วยเกี่ยวเข้าที่นิ้วชี้ ส่งผลให้ตนต้องไปปรึกษาแพทย์และรับยารักษาเอชไอวีมาทาน ขณะนี้ทานครบ 1 เดือนแล้วผลการตรวจเลือดไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี แต่หลังจากนี้อีก 1 เดือน หากผลการตรวจเลือดพบว่าตนติดเชื้อเอชไอวี ถามว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย คุ้มครองตน หรือแพทย์ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาผู้ป่วยด้วยหรือไม่