xs
xsm
sm
md
lg

ใส่ใจสุขภาพ : คุณ "เครียด" แค่ไหน?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ให้คุณอ่านหัวข้อข้างล่างนี้ แล้วสำรวจดูว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ในข้อใดจาก 20 ข้อคำถามที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เกิดขึ้นกับตัวคุณบ้าง ถ้าข้อไหนไม่ได้เกิดขึ้นให้ข้ามไปไม่ต้องตอบ แต่ถ้ามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับตัวคุณให้ประเมินว่าคุณมีความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น

1. กลัวทำงานผิดพลาด
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

2. ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

3. ครอบครัวมีความขัดแย้งกัน ในเรื่องเงินหรือเรื่องงานในบ้าน
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

4. เป็นกังวลกับเรื่องสารพิษ หรือมลภาวะในอากาศ น้ำ เสียง และดิน
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

5. รู้สึกว่าต้องแข่งขันหรือเปรียบเทียบ
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

6. เงินไม่พอใช้จ่าย
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

7. กล้ามเนื้อตึงหรือปวด
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

8. ปวดหัวจากความตึงเครียด
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

9. ปวดหลัง
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

10. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

11. ปวดศีรษะข้างเดียว
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

12. รู้สึกวิตกกังวล
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

13. รู้สึกคับข้องใจ
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

14. รู้สึกโกรธ หรือหงุดหงิด
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

15. รู้สึกเศร้า
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

16. ความจำไม่ดี
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

17. รู้สึกสับสน
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

18. ตั้งสมาธิลำบาก
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

19. รู้สึกเหนื่อยง่าย
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

20. เป็นหวัดบ่อยๆ
๐ ไม่รู้สึกเครียด๐ รู้สึกเครียดเล็กน้อย
๐ รู้สึกเครียดปานกลาง๐ รู้สึกเครียดมาก
๐ รู้สึกเครียดมากที่สุด

• คะแนนความเครียด

ไม่รู้สึกเครียด
= 1 คะแนน รู้สึกเครียดเล็กน้อย = 2 คะแนน รู้สึกเครียดปลานกลาง = 3 คะแนน รู้สึกเครียดมาก = 4 คะแนน รู้สึกเครียดมากที่สุด = 5 คะแนน

• การแปลผล

คะแนนรวมไม่เกิน 100 คะแนน โดยผลรวมที่ได้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

คะแนน 0 - 24 เครียดน้อย คะแนน 25 - 42 เครียดปานกลาง คะแนน 43 - 62 เครียดสูง คะแนน 63 ขึ้นไป เครียดรุนแรง

• ผลการประเมิน มี 4 ระดับ คือ

1. ความเครียดในระดับต่ำ
หมายถึง ความเครียดขนาดน้อยๆ และหายไปในระยะเวลาอันสั้น เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคาม ต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติ เป็นการปรับตัวด้วยความเคยชิน และการปรับตัวต้องการ พลังงานเพียงเล็กน้อย เป็นภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย

2. ความเครียดในระดับปานกลาง หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญๆ ในสังคม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาในลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วๆไปไม่รุนแรง จนก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น

3. ความเครียดในระดับสูง เป็นระดับที่บุคคลได้รับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูง ไม่สามารถปรับตัวให้ลดความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้น ถือว่าอยู่ในเขตอันตราย หากไม่ได้รับการบรรเทาจะนำไปสู่ความเครียด เรื้อรัง เกิดโรคต่างๆ ในภายหลังได้

4. ความเครียดในระดับรุนแรง เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บุคคลมีความล้มเหลวในการปรับตัวจนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคภัยต่างๆ ตามมาได้ง่าย

• การรักษาโรคเครียดแบบผิดๆ!!!

การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความเครียด มีด้วยกันหลายวิธี แต่หลายคนมักเลือกใช้วิธีการรักษาแบบผิดๆ เมื่อเกิดอาการเครียด โดยเลือกที่จะดื่มเครื่องดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ ด้วยความเชื่อที่ว่า “เหล้า บุหรี่ ช่วยผ่อนคลายใจชั่ววูบหนึ่ง” ...แต่หารู้ไม่ว่า!!!...เพียงแค่คุณได้สัมผัสกับแอลกอฮอล์และควันบุหรี่ เท่ากับว่า คุณได้เปิดประตูต้อนรับโรคร้ายสารพัด อย่างแรงก็ “มะเร็ง” เข้ามาสู่ร่างกายคุณโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้คนที่ป่วยอยู่แล้ว จะส่งผลต่อเซลล์มะเร็งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

• คำแนะนำสำหรับผู้มีความเครียด
ระดับสูงและรุนแรง

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
(อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง) และหากจำเป็นควรได้รับยาจากแพทย์เพื่อลดความเครียด

2. การพูดคุยกับคนที่ใกล้ชิดหรือไว้ใจ เป็นการระบาย

3. การออกกำลังกายเพื่อสะสมสารสุข (เอนดอร์ฟิน) แทนคอร์ติซอล (ซึ่งเป็นสารเครียด) โดยทำอย่างน้อย วันเว้นวัน วันละ 30 นาที ก็เพียงพอ

4. เลือกกิจกรรมที่ชอบ เช่น ฟังเพลง ทำสมาธิ

5. ฝึกมองโลกเชิงบวก เพราะถ้าสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอจะทำให้เกิดเป็นนิสัยได้ การมองโลกเชิงบวก จะทำให้คนเรามองเห็นทางออกในทุกปัญหา ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความหวัง ในทางตรงข้าม การมองโลกทางลบจะมองเห็นปัญหาในทุกทางออก

6. การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งช่วยเหลือซึ่งกันและกันในภาวะวิกฤต

7. ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อการรักษา เพราะความเครียดขั้นรุนแรงนำไปสู่โรคซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายได้

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)

กำลังโหลดความคิดเห็น