สภาเทคนิคการแพทย์ยันไม่มีมูลกรณี มบส.ฟ้องศาลปกครอง ฯ ชี้ 22 ก.พ. นี้ประชุมทางทางออก นศ.สาขาเทคนิคการแพทย์ พลาดฝึกงาน แจงเคยคุยร่วมโต๊ะ “คณบดี-หัวหน้าภาคฯ-สกอ.” เพื่อแก้ปัญหาแล้ว เลขาธิการสภาวิชาชีพฯ งง! ทำไมยังเป็นข่าวไม่จบสิ้น
จากกรณีที่นักศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) เดินหน้าเรียกร้องต่อ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรณีที่เรียนจบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ของมหาวิทยาลัยแล้วไม่สามารถเข้าฝึกวิชาชีพได้ เนื่องจากไม่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จนทำให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจฟ้องศาลปกครองเพื่อเรียกขอคุ้มครองใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.ขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งที่สภาเทคนิคการแพทย์ไม่รับรองปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) มบส. เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2.ขอให้เพิกถอนข้อบังคับการรับรองปริญญาของสภาเทคนิคการแพทย์ในหลักสูตรของสถาบันต่างๆ เพื่อใช้ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. 2553 3.ขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อรับรองหลักสูตรของสถาบันต่างๆ เพื่อใช้เป็นสมาชิก และ 4.ขอเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนของ มบส.ที่ได้จัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ค่าจ้างอาจารย์ และค่าเสียหายที่ มบส.ได้รับผลกระทบเสียชื่อเสียง รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท ขณะนี้ศาลปกครองได้รับคำร้องของมบส. และจะดำเนินการไต่สวนต่อไปนั้น
ล่าสุด วันนี้ (21 ก.พ.) นพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ เลขาธิการสภาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ขณะนี้ทางสภาฯ ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งทราบเพื่อนัดไต่สวนจากศาลปกครองหรือหน่วยงานใดเกี่ยวกับเรื่องทั้งสิ้น อีกทั้งได้ให้เจ้าหน้าที่เช็ครายละเอียดไปที่ศาลตั้งแต่วันพฤหัสฯ ที่ 17 ก.พ. แล้วก็ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนใดๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่าทางสภาฯ ไม่มีความกังวลต่อเรื่องนี้ เพราะได้เคยเจรจาปากเปล่ากับทีมบริหารของ มบส.ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) แล้ว เมื่อราววันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่าน มา โดยเจรจาปากเปล่า ในประเด็นเรื่องการกลับไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้ตรงตามเกณฑ์ที่สภาฯ กำหนด และให้สถาบันการศึกษายื่นเรื่องขอรับรองใหม่ในระยะเวลาตามเงื่อนไขเดิม คือ หลังจากสภาฯมีมติไม่รับรองหลักสูตรครั้งแรก 120 วัน โดยทำเป็นหนังสือยื่นเรื่องให้สภาตรวจประเมินใหม่ ตามขั้นตอนเดิมทุกอย่างซึ่งขณะนั้นที่คณบดี และหัวหน้าภาควิชาสาขาเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมเจรจาด้วย แต่ไม่ได้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
นพ.สมชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้เจรจาไปนั้น ทางสภาฯได้เสนอว่า ให้ทางมหาวิทยาลัยฯ ชะลอการรับนักศึกษาในสาขาดังกล่าวก่อน เพราะหลักสูตรยังไม่มีการรับรองที่ชัดเจน ส่วนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบนั้น สภาฯจะประชุมหารือ เพื่อหาทางออกในวันพรุ่งนี้ ( 22 ก.พ.)
“ขณะนี้เราตอบไม่ได้ว่าการแก้ปัญหาของสถานศึกษาควรเป็นไปอย่างไร เพราะเป็นเรื่องของหลักการบริหารภายในองค์กร แต่สภาเทคนิคการแพทย์จะทำหน้าที่ในการแก้ปัญหานักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ ส่วนกระแสข่าวที่ออกมานั้น ทางสภาฯ คงไม่ตอบโต้เพราะอาจสร้างความขัดแย้งมากขึ้น แต่ส่วนของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบนั้น ต้องรอผลหารือในวันพรุ่งนี้ แต่ระหว่างสรุปหนทางแก้ไข ผมเห็นว่าทุกฝ่ายไม่ควรออกมาพูดข้อผิดพลาดอย่างเดียวแล้ว โทษว่าใครผิด แต่ควรใช้เวลาในการหาทางออกตามบทบาทของตัวเอง และเพื่อป้องกันความผิดพลาดขยายวงกว้าง ควรที่จะงดรับนักศึกษาใหม่ ตามข้อสรุปที่ได้เจรจา ร่วมกับ สกอ. เพราะปัญหาที่มียังไม่ได้รับการแก้ไข” นพ.สมชัยกล่าว
จากกรณีที่นักศึกษาสาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) เดินหน้าเรียกร้องต่อ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรณีที่เรียนจบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) ของมหาวิทยาลัยแล้วไม่สามารถเข้าฝึกวิชาชีพได้ เนื่องจากไม่ผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จนทำให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจฟ้องศาลปกครองเพื่อเรียกขอคุ้มครองใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1.ขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งที่สภาเทคนิคการแพทย์ไม่รับรองปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) มบส. เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2.ขอให้เพิกถอนข้อบังคับการรับรองปริญญาของสภาเทคนิคการแพทย์ในหลักสูตรของสถาบันต่างๆ เพื่อใช้ในการสมัครเป็นสมาชิก พ.ศ. 2553 3.ขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อรับรองหลักสูตรของสถาบันต่างๆ เพื่อใช้เป็นสมาชิก และ 4.ขอเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนของ มบส.ที่ได้จัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ค่าจ้างอาจารย์ และค่าเสียหายที่ มบส.ได้รับผลกระทบเสียชื่อเสียง รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท ขณะนี้ศาลปกครองได้รับคำร้องของมบส. และจะดำเนินการไต่สวนต่อไปนั้น
ล่าสุด วันนี้ (21 ก.พ.) นพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ เลขาธิการสภาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ขณะนี้ทางสภาฯ ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งทราบเพื่อนัดไต่สวนจากศาลปกครองหรือหน่วยงานใดเกี่ยวกับเรื่องทั้งสิ้น อีกทั้งได้ให้เจ้าหน้าที่เช็ครายละเอียดไปที่ศาลตั้งแต่วันพฤหัสฯ ที่ 17 ก.พ. แล้วก็ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนใดๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่าทางสภาฯ ไม่มีความกังวลต่อเรื่องนี้ เพราะได้เคยเจรจาปากเปล่ากับทีมบริหารของ มบส.ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) แล้ว เมื่อราววันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่าน มา โดยเจรจาปากเปล่า ในประเด็นเรื่องการกลับไปปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้ตรงตามเกณฑ์ที่สภาฯ กำหนด และให้สถาบันการศึกษายื่นเรื่องขอรับรองใหม่ในระยะเวลาตามเงื่อนไขเดิม คือ หลังจากสภาฯมีมติไม่รับรองหลักสูตรครั้งแรก 120 วัน โดยทำเป็นหนังสือยื่นเรื่องให้สภาตรวจประเมินใหม่ ตามขั้นตอนเดิมทุกอย่างซึ่งขณะนั้นที่คณบดี และหัวหน้าภาควิชาสาขาเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมเจรจาด้วย แต่ไม่ได้มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
นพ.สมชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้เจรจาไปนั้น ทางสภาฯได้เสนอว่า ให้ทางมหาวิทยาลัยฯ ชะลอการรับนักศึกษาในสาขาดังกล่าวก่อน เพราะหลักสูตรยังไม่มีการรับรองที่ชัดเจน ส่วนนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบนั้น สภาฯจะประชุมหารือ เพื่อหาทางออกในวันพรุ่งนี้ ( 22 ก.พ.)
“ขณะนี้เราตอบไม่ได้ว่าการแก้ปัญหาของสถานศึกษาควรเป็นไปอย่างไร เพราะเป็นเรื่องของหลักการบริหารภายในองค์กร แต่สภาเทคนิคการแพทย์จะทำหน้าที่ในการแก้ปัญหานักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ ส่วนกระแสข่าวที่ออกมานั้น ทางสภาฯ คงไม่ตอบโต้เพราะอาจสร้างความขัดแย้งมากขึ้น แต่ส่วนของนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบนั้น ต้องรอผลหารือในวันพรุ่งนี้ แต่ระหว่างสรุปหนทางแก้ไข ผมเห็นว่าทุกฝ่ายไม่ควรออกมาพูดข้อผิดพลาดอย่างเดียวแล้ว โทษว่าใครผิด แต่ควรใช้เวลาในการหาทางออกตามบทบาทของตัวเอง และเพื่อป้องกันความผิดพลาดขยายวงกว้าง ควรที่จะงดรับนักศึกษาใหม่ ตามข้อสรุปที่ได้เจรจา ร่วมกับ สกอ. เพราะปัญหาที่มียังไม่ได้รับการแก้ไข” นพ.สมชัยกล่าว