“ไชยยศ” เผย สตง.ฝากตรวจสอบ อธิการบดีสวมหมวกหลายใบ นั่งประธานหลักสูตรเองหลายที่ หลังพบเปิดศูนย์/วิทยาเขต อื้อ ผงะ! ฟันค่าตอบแทนตัวเลข 8 หลัก/เดือน หวั่นมีผลประโยชน์แอบแฝง
นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 148 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีเพียงแค่ 3 จังหวัดเท่านั้น ที่ไม่มีมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่ามากเพียงพอแล้วสำหรับการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน แต่หลายมหาวิทยาลัยกลับดิ้นรนที่จะเปิดศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ หรือวิทยาเขตเป็นจำนวนมาก จนเกิดข้อครหาว่าอธิการบดีบางคนนั่งเป็นประธานหลักสูตรในสถานศึกษานับร้อยแห่งในเวลาเดียวกัน มีผลตอบแทนแห่งละ 50,000 บาท จนบางครั้งทำให้อธิการบดีบางคนมีรายได้รวมเป็นตัวเลข 8 หลักต่อเดือน อีกทั้งประชาชนได้ร้องเรียนว่าสถานศึกษานอกพื้นที่หรือวิทยาเขตของบางมหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพ
“ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ส่งแบบสอบถามจำนวนศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ไปยังมหาวิทยาลัยทั้ง 148 แห่ง ซึ่งตอบกลับมาแล้ว 85 แห่ง พบว่า มีศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ ประมาณ 600 แห่ง 1,600 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ตอบแบบสอบถามขอให้ตอบกลับภายในวันที่ 25 ก.พ.นี้ หากยังไม่ตอบก็จะขอให้ รมว.ศธ.ออกเป็นคำสั่ง และหากยังไม่ตอบอีกก็จะถือว่าผิดวินัย ทั้งนี้ เพื่อสำรวจจำนวนศูนย์การศึกษาฯ ตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพ และดูความจำเป็นของการตั้งศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ดังกล่าว เช่น บางมหาวิทยาลัยในภาคเหนือทำไมต้องไปเปิดศูนย์ในภาคใต้ ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อการศึกษาหรือการค้า และขอฝากให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสภามหาวิทยาลัย ตระหนักถึงปัญหานี้ เพราะว่าวันข้างหน้าเราอาจจะตกเป็นจำเลยของสังคมได้” รมช.ศธ.กล่าว
นอกจากนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำเรื่องถึงตนให้ตรวจสอบและดูแลว่ามีเรื่องของผลประโยชน์ใดแอบแฝงหรือไม่ เพราะอธิการบดีหลายคนถือหมวกหลายใบนั่งเป็นประธานหลักสูตรเสียเองถึง 100 กว่าแห่ง และจะเอาเวลาที่ไหนไปทำงาน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบดังกล่าวและการพิจารณาเปิดศูนย์การศึกษาฯ เป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยในการดูแลและควบคุมกันเอง แต่อิสระที่ให้ไปได้ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น จึงควรมีการหารือและตั้งกฎเกณฑ์บางอย่างเข้ามาดูแล เช่น มหาวิทยาลัยที่จะเปิดศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ได้นั้นต้องไม่เปิดใกล้กับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นนั้นๆ ภายในรัศมีเท่าใด พร้อมทั้งศึกษาความจำเป็นของการตั้งศูนย์ดังกล่าว เป็นต้น
นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 148 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีเพียงแค่ 3 จังหวัดเท่านั้น ที่ไม่มีมหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่ามากเพียงพอแล้วสำหรับการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน แต่หลายมหาวิทยาลัยกลับดิ้นรนที่จะเปิดศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ หรือวิทยาเขตเป็นจำนวนมาก จนเกิดข้อครหาว่าอธิการบดีบางคนนั่งเป็นประธานหลักสูตรในสถานศึกษานับร้อยแห่งในเวลาเดียวกัน มีผลตอบแทนแห่งละ 50,000 บาท จนบางครั้งทำให้อธิการบดีบางคนมีรายได้รวมเป็นตัวเลข 8 หลักต่อเดือน อีกทั้งประชาชนได้ร้องเรียนว่าสถานศึกษานอกพื้นที่หรือวิทยาเขตของบางมหาวิทยาลัยไม่มีคุณภาพ
“ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ส่งแบบสอบถามจำนวนศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ไปยังมหาวิทยาลัยทั้ง 148 แห่ง ซึ่งตอบกลับมาแล้ว 85 แห่ง พบว่า มีศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ ประมาณ 600 แห่ง 1,600 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่ยังไม่ตอบแบบสอบถามขอให้ตอบกลับภายในวันที่ 25 ก.พ.นี้ หากยังไม่ตอบก็จะขอให้ รมว.ศธ.ออกเป็นคำสั่ง และหากยังไม่ตอบอีกก็จะถือว่าผิดวินัย ทั้งนี้ เพื่อสำรวจจำนวนศูนย์การศึกษาฯ ตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพ และดูความจำเป็นของการตั้งศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ดังกล่าว เช่น บางมหาวิทยาลัยในภาคเหนือทำไมต้องไปเปิดศูนย์ในภาคใต้ ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อการศึกษาหรือการค้า และขอฝากให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และสภามหาวิทยาลัย ตระหนักถึงปัญหานี้ เพราะว่าวันข้างหน้าเราอาจจะตกเป็นจำเลยของสังคมได้” รมช.ศธ.กล่าว
นอกจากนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำเรื่องถึงตนให้ตรวจสอบและดูแลว่ามีเรื่องของผลประโยชน์ใดแอบแฝงหรือไม่ เพราะอธิการบดีหลายคนถือหมวกหลายใบนั่งเป็นประธานหลักสูตรเสียเองถึง 100 กว่าแห่ง และจะเอาเวลาที่ไหนไปทำงาน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบดังกล่าวและการพิจารณาเปิดศูนย์การศึกษาฯ เป็นหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยในการดูแลและควบคุมกันเอง แต่อิสระที่ให้ไปได้ก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้น จึงควรมีการหารือและตั้งกฎเกณฑ์บางอย่างเข้ามาดูแล เช่น มหาวิทยาลัยที่จะเปิดศูนย์การศึกษานอกพื้นที่ได้นั้นต้องไม่เปิดใกล้กับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นนั้นๆ ภายในรัศมีเท่าใด พร้อมทั้งศึกษาความจำเป็นของการตั้งศูนย์ดังกล่าว เป็นต้น