นักวิชาการ ชี้ เป็นเรื่องน่ายินดี ที่ สปส.ตั้งคณะทำงานรื้อระบบรักษาพยาบาลผู้ประกันตน แต่หัวใจสำคัญถูกมองข้าม ชี้ ประเด็นสำคัญ ผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน เป็นกลุ่มเดียวที่ยังต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล ย้ำ ข้อเสนอ ผู้ประกันต้องไม่จ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอีก รัฐต้องจ่ายสิทธิรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตนเหมือนกับคนไทยกลุ่มอื่น ส่วนเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบรายเดือนไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่น แจงกฎหมายประกันสังคมล้าหลัง ต้องแก้ไขประเด็นนี้ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกว่าอยากใช้สิทธิรักษาพยาบาลระบบไหน
นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า จากการที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้มีมติตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตน โดยมีกรอบระยะเวลาการทำงาน 1 เดือนนั้น นับว่า เป็นเรื่องที่ดีและน่าชื่นชม สปส.อย่างมาก ในการพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของกลุ่มผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน ให้เท่าเทียมกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ ที่หลายฝ่ายกำลังข้ามจุดนี้ไป คือ ผู้ประกันตน 9.4 ล้านคนยังเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล เป็นความเหลื่อมล้ำที่ถูกมองข้าม หัวข้อการถกเถียงของเรื่องนี้ในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่ประเด็นว่าความเท่าเทียมของสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลของประกันสังคม และที่สุดผลลัพธ์ก็ออกมาด้วยการตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงให้เท่าเทียม แต่ข้ามจุดสำคัญที่ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล
“แม้ว่าการที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายประกันสังคม แต่กฎหมายนี้ออกมากว่า 20 ปี เมื่อมีกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่รัฐดูแลสุขภาพประชาชนทั้งหมด กฎหมายนี้ควรแก้ไข เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทั้ง 2 ระบบ ไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์หรือโจมตีใคร แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน เป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายสมทบ กลับยังได้สิทธิประโยชน์ที่ด้อยกว่า ข้อเสนอคือ ผู้ประกันตนเหล่านี้ต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม รัฐต้องจ่ายสำหรับสิทธิรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตนเช่นคนไทยคนอื่นๆ ผู้ประกันตนไม่ควรต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป ส่วนเงินที่จ่ายสมทบในแต่ละเดือนนั้นให้ไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่น โดยเฉพาะบำนาญชราภาพ และควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนได้เลือกว่าอยากอยู่กับระบบไหน แต่ประเด็นหัวใจสำคัญคือ ผู้ประกันตนต้องไม่จ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป” นพ.พงศธร กล่าว
นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า จากการที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้มีมติตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตน โดยมีกรอบระยะเวลาการทำงาน 1 เดือนนั้น นับว่า เป็นเรื่องที่ดีและน่าชื่นชม สปส.อย่างมาก ในการพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของกลุ่มผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน ให้เท่าเทียมกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ ที่หลายฝ่ายกำลังข้ามจุดนี้ไป คือ ผู้ประกันตน 9.4 ล้านคนยังเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล เป็นความเหลื่อมล้ำที่ถูกมองข้าม หัวข้อการถกเถียงของเรื่องนี้ในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่ประเด็นว่าความเท่าเทียมของสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลของประกันสังคม และที่สุดผลลัพธ์ก็ออกมาด้วยการตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงให้เท่าเทียม แต่ข้ามจุดสำคัญที่ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล
“แม้ว่าการที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายประกันสังคม แต่กฎหมายนี้ออกมากว่า 20 ปี เมื่อมีกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่รัฐดูแลสุขภาพประชาชนทั้งหมด กฎหมายนี้ควรแก้ไข เป้าหมายของการศึกษาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทั้ง 2 ระบบ ไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์หรือโจมตีใคร แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน เป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายสมทบ กลับยังได้สิทธิประโยชน์ที่ด้อยกว่า ข้อเสนอคือ ผู้ประกันตนเหล่านี้ต้องได้รับสิทธิเท่าเทียม รัฐต้องจ่ายสำหรับสิทธิรักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตนเช่นคนไทยคนอื่นๆ ผู้ประกันตนไม่ควรต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป ส่วนเงินที่จ่ายสมทบในแต่ละเดือนนั้นให้ไปเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอื่น โดยเฉพาะบำนาญชราภาพ และควรเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนได้เลือกว่าอยากอยู่กับระบบไหน แต่ประเด็นหัวใจสำคัญคือ ผู้ประกันตนต้องไม่จ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป” นพ.พงศธร กล่าว