รอง อธ.สวธ.เผย เตรียมขอขึ้นทะเบียน “โนรา” กับยูเนสโก เป็นมรดกโลก ที่จับต้องไม่ได้ พร้อมฟื้นพิธีกรรมโนราโรงครู เพื่อสืบสานพิธีอันดีนี้ต่อไป
วันนี้ (17 ม.ค.) นายสมชาย มีชูพร รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมโนราโรงครู ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2554 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ว่า การจัดงานมหกรรมดังกล่าว เป็นนโยบายของ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ต้องการเก็บรวบรวมมรดกภูมิปัญญาของชาติ เช่น โขน ลิเก และมวยไทย เอาไว้ ซึ่งได้เสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ไว้กับองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และในปีนี้ สวธ.จะขอขึ้นทะเบียนโนรากับยูเนสโกเพิ่มด้วย โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้เสนอขอขึ้นทะเบียนไปแล้วทั้งสิ้น 50 ประเภท
นายสมชาย กล่าวอีกว่า โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ที่สืบทอดเป็นมรดกวัฒนธรรมมายาวนาน มี 2 ประเภท คือ พิธีกรรมและบันเทิง แต่ในการจัดงานครั้งนี้จะเน้นพิธีกรรม คือ “โนราโรงครู” ซึ่งเป็นพิธีกรรมเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เป็นโนรา เรียกว่า “ตาหลวง” หรือ “ตายายโนรา” มายังโรงโนรา เพื่อรับการแสดงความเคารพอันเป็นการแสดงมุทิตาจิตของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษ โดยมีผู้นำในการประกอบพิธีกรรมชื่อดังจากหลายจังหวัดภาคใต้ เช่น โนราเลื่อนน้อย ทวีศิลป์ จาก จ.ตรัง, โนราสมหมาย โนราสมปอง จ.สตูล, โนราปรีชา เมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช, โนราสมพงษ์น้อย ดาวรุ่ง โนราสมพงษ์น้อย ศ.สมบูรณ์ จ.พัทลุง และโนราไข่น้อย ดาวจรัสแสง พรานสมหมาย จ.สงขลา
“ในงานนี้ยังมีการเสวนาเรื่องโนราโรงครู โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ผศ.พิทยา บุษรารัตน์, ผศ.สาโรช นาคะวิโรจน์, โนราสมพงษ์น้อย ดาวรุ่ง และ โนราสมปอง อนันต์ ตลอดจนการแสดงมหกรรมโนราจากคณะต่างๆ เช่น โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์, โนราละมัยศิลป์, โนรานิตยา ฟ้าประทาน, โนราแดง เสียงทิพย์, โนราศุภชัย โนราเจษฎา โนราไพศาล โนราสมาน สืบสานศิลป์, โนราเอ็มม่า โนราโจ๊ก ศ.นกน้อยเสียงเสน่ห์ เป็นต้น” รองอธิบดี สวธ.กล่าว
วันนี้ (17 ม.ค.) นายสมชาย มีชูพร รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมโนราโรงครู ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2554 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ว่า การจัดงานมหกรรมดังกล่าว เป็นนโยบายของ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ที่ต้องการเก็บรวบรวมมรดกภูมิปัญญาของชาติ เช่น โขน ลิเก และมวยไทย เอาไว้ ซึ่งได้เสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ไว้กับองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และในปีนี้ สวธ.จะขอขึ้นทะเบียนโนรากับยูเนสโกเพิ่มด้วย โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้เสนอขอขึ้นทะเบียนไปแล้วทั้งสิ้น 50 ประเภท
นายสมชาย กล่าวอีกว่า โนราเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ที่สืบทอดเป็นมรดกวัฒนธรรมมายาวนาน มี 2 ประเภท คือ พิธีกรรมและบันเทิง แต่ในการจัดงานครั้งนี้จะเน้นพิธีกรรม คือ “โนราโรงครู” ซึ่งเป็นพิธีกรรมเชิญวิญญาณบรรพบุรุษที่เป็นโนรา เรียกว่า “ตาหลวง” หรือ “ตายายโนรา” มายังโรงโนรา เพื่อรับการแสดงความเคารพอันเป็นการแสดงมุทิตาจิตของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษ โดยมีผู้นำในการประกอบพิธีกรรมชื่อดังจากหลายจังหวัดภาคใต้ เช่น โนราเลื่อนน้อย ทวีศิลป์ จาก จ.ตรัง, โนราสมหมาย โนราสมปอง จ.สตูล, โนราปรีชา เมืองนคร จ.นครศรีธรรมราช, โนราสมพงษ์น้อย ดาวรุ่ง โนราสมพงษ์น้อย ศ.สมบูรณ์ จ.พัทลุง และโนราไข่น้อย ดาวจรัสแสง พรานสมหมาย จ.สงขลา
“ในงานนี้ยังมีการเสวนาเรื่องโนราโรงครู โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ผศ.พิทยา บุษรารัตน์, ผศ.สาโรช นาคะวิโรจน์, โนราสมพงษ์น้อย ดาวรุ่ง และ โนราสมปอง อนันต์ ตลอดจนการแสดงมหกรรมโนราจากคณะต่างๆ เช่น โนรานกน้อย เสียงเสน่ห์, โนราละมัยศิลป์, โนรานิตยา ฟ้าประทาน, โนราแดง เสียงทิพย์, โนราศุภชัย โนราเจษฎา โนราไพศาล โนราสมาน สืบสานศิลป์, โนราเอ็มม่า โนราโจ๊ก ศ.นกน้อยเสียงเสน่ห์ เป็นต้น” รองอธิบดี สวธ.กล่าว