“จุรินทร์” ระดมเครื่องบิน 101 ลำ ช่วยชีวิต ลำเลียงผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ลดการเสียชีวิต ความพิการ ยกระดับการแพทย์ฉุกเฉินไทยเท่าสากล สร้างความเชื่อมั่นชาวต่างประเทศ
วันที่ 26 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามข้อตกลงระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่องการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน เพื่อให้บริการประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลจากโรงพยาบาล ซึ่งการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือเรือยากลำบาก หรือในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานนั้น มี 2 รูปแบบ คือ เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินปีกหมุนรวมทั้งหมด 101 ลำ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีเครื่องบินปีกหมุน 27 ลำ มีเฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเฮลิคอปเตอร์ 15 ลำ กองทัพมีเฮลิคอปเตอร์ 50 ลำ และภาคเอกชน 1 ลำ ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ลดการเสียชีวิต ลดความพิการ รวมถึงการเจ็บป่วยรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น และลดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นการเตรียมการบริการด้านการแพทย์แก่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาประชุมท่องเที่ยว หรือติดต่อธุรกิจ สนับสนุนการสาธารณสุขด้านการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งยังเป็นการสะท้อนการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เทียบเท่ากับต่างประเทศ มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งเป้าภายในปี 2555 จะลดอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินลงจากปี 2551 ให้ได้ร้อยละ 15 จะช่วยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติเร่งด่วนได้รับการรักษาอย่างน้อยร้อยละ 50 และบริการเข้าถึงครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
“ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 - มกราคม 2552 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการสนับสนุนหน่วยบินจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3 ครั้ง มีผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือ 30 ราย ซึ่งกรณีนี้หากผู้ป่วยดังกล่าวไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที จะเกิดความสูญเสีย 178 ล้านบาท” นายจุรินทร์ กล่าว
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศยาน มีเป้าหมายเพื่อให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ เมื่ออยู่ในเงื่อนไขที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน
นพ.ชาตรี กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ร่วมกับสถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ จัดอบรมหลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ ประกอบด้วยทีมแพทย์-พยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉินและเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉินบนอากาศยานได้
นพ.ชาตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับการขอความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยที่มีอาการหนักเช่น ช็อค เป็นโรคหัวใจเข้าขั้นโคม่าในความรู้สึกของชาวบ้าน สามารถโทร.แจ้ง 1669 ได้ทั่วไทย จะมีเจ้าหน้าที่รับสายตลอด 24 ชั่วโมง และมีพยาบาลวินิจฉัย ส่งรถพยาบาลหรือพาหนะที่เหมาะสมไปรับ ให้บริการนำส่งโรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยรักษาชีวิตให้ทันท่วงที
วันที่ 26 มีนาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามข้อตกลงระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่องการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน เพื่อให้บริการประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลจากโรงพยาบาล ซึ่งการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือเรือยากลำบาก หรือในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ในการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานนั้น มี 2 รูปแบบ คือ เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินปีกหมุนรวมทั้งหมด 101 ลำ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีเครื่องบินปีกหมุน 27 ลำ มีเฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเฮลิคอปเตอร์ 15 ลำ กองทัพมีเฮลิคอปเตอร์ 50 ลำ และภาคเอกชน 1 ลำ ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ลดการเสียชีวิต ลดความพิการ รวมถึงการเจ็บป่วยรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น และลดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นการเตรียมการบริการด้านการแพทย์แก่ชาวต่างประเทศที่เข้ามาประชุมท่องเที่ยว หรือติดต่อธุรกิจ สนับสนุนการสาธารณสุขด้านการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งยังเป็นการสะท้อนการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เทียบเท่ากับต่างประเทศ มีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งเป้าภายในปี 2555 จะลดอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินลงจากปี 2551 ให้ได้ร้อยละ 15 จะช่วยผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติเร่งด่วนได้รับการรักษาอย่างน้อยร้อยละ 50 และบริการเข้าถึงครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
“ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 - มกราคม 2552 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับการสนับสนุนหน่วยบินจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 3 ครั้ง มีผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือ 30 ราย ซึ่งกรณีนี้หากผู้ป่วยดังกล่าวไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที จะเกิดความสูญเสีย 178 ล้านบาท” นายจุรินทร์ กล่าว
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศยาน มีเป้าหมายเพื่อให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ เมื่ออยู่ในเงื่อนไขที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน
นพ.ชาตรี กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ร่วมกับสถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ จัดอบรมหลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ ประกอบด้วยทีมแพทย์-พยาบาลเวชศาสตร์ฉุกเฉินและเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและฉุกเฉินบนอากาศยานได้
นพ.ชาตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับการขอความช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยที่มีอาการหนักเช่น ช็อค เป็นโรคหัวใจเข้าขั้นโคม่าในความรู้สึกของชาวบ้าน สามารถโทร.แจ้ง 1669 ได้ทั่วไทย จะมีเจ้าหน้าที่รับสายตลอด 24 ชั่วโมง และมีพยาบาลวินิจฉัย ส่งรถพยาบาลหรือพาหนะที่เหมาะสมไปรับ ให้บริการนำส่งโรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยรักษาชีวิตให้ทันท่วงที