สธ.ตั้งศูนย์อำนวยการด้านการแพทย์ฯ รับมือม็อบเสื้อแดง ปรับแผนสอดคล้องสถานการณ์คาดสถานการณ์ตึงเครียด เหตุชุมนุมด้วยอารมณ์พร้อมประกาศแตกหักจัดโรงพยาบาลรอบสถานที่ชุมนุมดูแล 18 จุด ทั้งในเขต กทม.-ปริมณฑล ประจำจุดละ 2-3 โรงพยาบาล รุนแรงมากพร้อมเสริมกำลัง รพ.เอกชน-ภูมิภาค ชี้ใช้แผนดาวกระจายส่งผลงการแพทย์ฉุกเฉินรับมือได้ยาก
วัันนี้ (8 มีนาคม) กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ.ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น โดยมีการตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี รมว.สธ.เป็นประธาน มีศูนย์บัญชาการที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการเตรียมการแก้ปัญหาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ไม่มีความรุนแรง สถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและสังกัดกรมการแพทย์จะเป็นผู้รับผิดชอบ 2.มีความรุนแรงระดับ 2 สถานพยาบาลในเขตปริมณฑล และสพฉ.จะรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ และ 3.รุนแรงระดับ 3 สถานพยาบาลในทุกจังหวัดต้องเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา โดยจะเริ่มดำเนินการตามแผนตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.นี้ มีรองปลัด สธ.ทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานติดตามสถานการณ์ ร่วมกับหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ ตัวแทนกรมต่างๆ และสพฉ. และรายงานให้ รมว.สธ.รับทราบตลอดเวลา ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดมีผู้ตรวจราชการเขตเป็นหัวหน้าในการทำงาน
ด้าน นพ.ชาตรี เจริญชีวกุล เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า สำหรับมาตรการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นยังคงใช้แผนเอราวัณ โดยจะมีการปรับแผนให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งแผนการรับมือจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ 1.ให้ทุกโรงพยาบาลอยู่ในที่ตั้งเตรียมรับสถานการณ์ 2.แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ รอบบริเวณที่คาดว่าจะมีการชุมนุม โดยขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลในเขต กทม.และปริมณฑล ประจำจุดจุดละ 2-3 โรงพยาบาล ซึ่งบริเวณสนามหลวงถึงลานพระบรมรูปทรงม้าจะจัดกำลังดูแลพื้นที่ประกบ 8 จุด และบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอีก 10 จุด 3.ประสานกำลังเสริมจากโรงพยาบาลเอกชน และจากโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค เพื่อเสริมเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล และเตียงสำรองเพื่อรับผู้ป่วยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหลายจุด อย่างไรก็ตามจะมีการเรียกประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมอีกครั้ง ทั้งนี้ได้เตรียมงบประมาณสำรองฉุกเฉินของ สพฉ.ไว้ 5 ล้านบาท รองรับสถานการณ์ด้วย
“การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องปกติที่ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า และค่อนข้างตรึงเครียดจากการประเมินของหลายฝ่ายว่าอาจจะมีผู้ชุมนุมเข้ามาเป็นจำนวนมาก และเป็นการมาร่วมชุมนุมด้วยอารมณ์ และมีการประกาศว่าพร้อมแตกหัก ทำให้ต้องเตรียมแผนเพื่อให้ทุกฝ่ายมีความพร้อม เนื่องจากรูปแบบการชุมนุมเป็นแบบดาวกระจาย ทำให้บริหารจัดการในการดูแลหากมีเหตุฉุกเฉินทำได้ยาก สิ่งที่เป็นห่วงคือ มีความเป็นไปได้อาจเกิดการปะทะกับประชาชนในพื้นที่เนื่องจากเกิดความไม่พอใจเหมือนกับชุมนุมช่วงเดือนเมษายน บริเวณสามเหลี่ยมดินแดน หรือมีการใช้รถแก๊สมาใช้ในการชุมนุมเพราะหากผิดพลาดหรือประสบเหตุจริงจะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงมาก”นพ.ชาตรี กล่าว
วัันนี้ (8 มีนาคม) กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูง สธ.ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงหากเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น โดยมีการตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มี รมว.สธ.เป็นประธาน มีศูนย์บัญชาการที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการเตรียมการแก้ปัญหาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1.ไม่มีความรุนแรง สถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและสังกัดกรมการแพทย์จะเป็นผู้รับผิดชอบ 2.มีความรุนแรงระดับ 2 สถานพยาบาลในเขตปริมณฑล และสพฉ.จะรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ และ 3.รุนแรงระดับ 3 สถานพยาบาลในทุกจังหวัดต้องเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา โดยจะเริ่มดำเนินการตามแผนตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.นี้ มีรองปลัด สธ.ทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานติดตามสถานการณ์ ร่วมกับหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ ตัวแทนกรมต่างๆ และสพฉ. และรายงานให้ รมว.สธ.รับทราบตลอดเวลา ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดมีผู้ตรวจราชการเขตเป็นหัวหน้าในการทำงาน
ด้าน นพ.ชาตรี เจริญชีวกุล เลขาธิการ สพฉ.กล่าวว่า สำหรับมาตรการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นยังคงใช้แผนเอราวัณ โดยจะมีการปรับแผนให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งแผนการรับมือจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ 1.ให้ทุกโรงพยาบาลอยู่ในที่ตั้งเตรียมรับสถานการณ์ 2.แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ รอบบริเวณที่คาดว่าจะมีการชุมนุม โดยขอความร่วมมือจากโรงพยาบาลในเขต กทม.และปริมณฑล ประจำจุดจุดละ 2-3 โรงพยาบาล ซึ่งบริเวณสนามหลวงถึงลานพระบรมรูปทรงม้าจะจัดกำลังดูแลพื้นที่ประกบ 8 จุด และบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิอีก 10 จุด 3.ประสานกำลังเสริมจากโรงพยาบาลเอกชน และจากโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค เพื่อเสริมเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล และเตียงสำรองเพื่อรับผู้ป่วยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหลายจุด อย่างไรก็ตามจะมีการเรียกประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมอีกครั้ง ทั้งนี้ได้เตรียมงบประมาณสำรองฉุกเฉินของ สพฉ.ไว้ 5 ล้านบาท รองรับสถานการณ์ด้วย
“การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องปกติที่ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า และค่อนข้างตรึงเครียดจากการประเมินของหลายฝ่ายว่าอาจจะมีผู้ชุมนุมเข้ามาเป็นจำนวนมาก และเป็นการมาร่วมชุมนุมด้วยอารมณ์ และมีการประกาศว่าพร้อมแตกหัก ทำให้ต้องเตรียมแผนเพื่อให้ทุกฝ่ายมีความพร้อม เนื่องจากรูปแบบการชุมนุมเป็นแบบดาวกระจาย ทำให้บริหารจัดการในการดูแลหากมีเหตุฉุกเฉินทำได้ยาก สิ่งที่เป็นห่วงคือ มีความเป็นไปได้อาจเกิดการปะทะกับประชาชนในพื้นที่เนื่องจากเกิดความไม่พอใจเหมือนกับชุมนุมช่วงเดือนเมษายน บริเวณสามเหลี่ยมดินแดน หรือมีการใช้รถแก๊สมาใช้ในการชุมนุมเพราะหากผิดพลาดหรือประสบเหตุจริงจะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงมาก”นพ.ชาตรี กล่าว