“ครูน้อย” ถอดใจ อาจพิจารณาปิดสถานรับเลี้ยงเด็ก หลังถูกโจมตีหนักนำเงินบริจาคไปใช้ส่วนตัว บอกยินดีหาก พม.จะเอาเด็กไปเลี้ยงแทน ด้าน “ครูหยุย-ครูยุ่น” แนะทางแก้ปัญหาให้นำระบบการจัดการ และระบบบัญชีในรูปของมูลนิธิเข้าไปช่วย “ครูหยุย” เผยเคยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยวางระบบบัญชีแต่ครูน้อยไม่ดำเนินการเพราะรู้สึกยุ่งยาก
นางนวลน้อย ทิมกุล หรือ ครูน้อย ผู้อำนวยการสถานเลี้ยงเด็กยากจนบ้านครูน้อย กล่าวถึง กรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอที่จะรับตัวเด็กในบ้านครูน้อยไปอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ ตามระเบียบของกระทรวงว่า ไม่ขัดข้อง หาก พม. จะรับเด็กไปดูแลแทน แต่ก็จะมีเด็กอีกจำนวนหนึ่ง ที่อายุเกินและจะไม่ได้รับการดูแลจากรัฐ ซึ่งอาจทำให้ครูน้อยตัดสินใจปิดสถานรับเลี้ยงเด็กด้วย
นอกจากนี้ บรรยากาศที่บ้านครูน้อยยังมีผู้มีจิตศรัทธาทยอยโทรศัพท์มาสอบถาม เพื่อแจ้งความประสงค์จะช่วยเหลือ แต่ในขณะเดียวกันบางส่วนก็โทรมาต่อว่า ว่าสิ่งที่ครูน้อยทำไปส่วนใหญ่นั้น เพื่อสร้างภาพ ซึ่งทำให้ครูน้อยรู้สึกกังวลใจ หากสังคมจะเข้าใจเจตนาในครั้งนี้ผิดไป
ด้าน นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เปิดเผยว่า การช่วยเหลือเด็กยากจนและด้อยโอกาสทั้งหลายในยุคปัจจุบันไม่ใช่มีแต่ใจอย่างเดียว ต้องมีความพร้อมด้วย และต้องไม่สงเคราะห์จนไม่ลืมหูลืมตาจนเด็กอ่อนแอ เพราะสุดท้ายช่วยเหลือแล้วต้องพยายามให้เด็กอยู่กับครอบครัวให้ได้ ตนรู้จักครูน้อยมานาน ไม่ได้กังวลในเรื่องความซื่อตรงหรือความเป็นคนดี แต่ยืนยันได้เพียงครูน้อยคนเดียวเพราะรู้จักคนเดียว เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วครูน้อยบอกว่ามีปัญหาเรื่องการเงิน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจึงส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยจัดระบบบัญชีให้ แต่ทำเพียงสัปดาห์เดียว ครูน้อยก็ถอดใจบอกว่ายุ่งยากและไม่อยากทำ ตนก็ไม่ได้บังคับและถอยออกมา
นายวัลลภกล่าวด้วยว่า ทางออกเฉพาะหน้าตอนนี้ ยืนยันว่าต้องใช้ระบบการจัดการเข้าไปช่วย เข้าใจว่าคนในสังคมรู้จักครูน้อยจำนวนมาก และเป็นผู้ที่รู้เรื่องระบบการจัดการก็มาก น่าจะส่งคนเข้าไปช่วยจัดการได้ เพราะจำนวนเด็กที่ดูแลอยู่มีแค่ 70 คนเท่านั้น
“คิดอยู่แล้วว่าต้องเกิดปัญหา เราไม่ใช่พระเวสสันดร การช่วยเด็กช่วยได้หลายแบบ เด็กมีปัญหาจริงๆ ไม่กี่คน ต้องลงไปตรวจสอบเด็กจริงจังว่ามาจากที่ไหนกันบ้าง ไม่ใช่สงเคราะห์แบบทุกขเวทนา และการมีระบบบัญชีจะช่วยให้การทำงานยั่งยืนที่สุด ไม่ว่าคนหรือองค์กรให้ใหญ่ขนาดไหนยังต้องเก่งในเรื่องบริหารจัดการ อย่างรัฐบาลถ้านายกฯ บริหารจัดการไม่ดีก็เจ๊งได้” เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าว
ด้าน นายมนตรี สินทวิชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก เปิดเผยว่า ทางออกสำหรับครูน้อยคือต้องออกมาพูดความจริงว่าเป็นหนี้เท่าไร และสาเหตุเพราะอะไร คิดว่ามีคนพร้อมจะช่วยสะสางหนี้ให้ครูน้อยอยู่แล้ว จากนั้นต้องวางระบบบริหารจัดการและจดทะเบียนเป็นรูปของมูลนิธิ ให้มีคณะกรรมการ มีระเบียบราชการ การตัดสินใจอะไรจะได้ไม่เป็นไปเพียงคนเดียวเหมือนที่จดทะเบียนเป็นสถานเลี้ยงดูเด็กกับ พม.
นางนวลน้อย ทิมกุล หรือ ครูน้อย ผู้อำนวยการสถานเลี้ยงเด็กยากจนบ้านครูน้อย กล่าวถึง กรณีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอที่จะรับตัวเด็กในบ้านครูน้อยไปอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ ตามระเบียบของกระทรวงว่า ไม่ขัดข้อง หาก พม. จะรับเด็กไปดูแลแทน แต่ก็จะมีเด็กอีกจำนวนหนึ่ง ที่อายุเกินและจะไม่ได้รับการดูแลจากรัฐ ซึ่งอาจทำให้ครูน้อยตัดสินใจปิดสถานรับเลี้ยงเด็กด้วย
นอกจากนี้ บรรยากาศที่บ้านครูน้อยยังมีผู้มีจิตศรัทธาทยอยโทรศัพท์มาสอบถาม เพื่อแจ้งความประสงค์จะช่วยเหลือ แต่ในขณะเดียวกันบางส่วนก็โทรมาต่อว่า ว่าสิ่งที่ครูน้อยทำไปส่วนใหญ่นั้น เพื่อสร้างภาพ ซึ่งทำให้ครูน้อยรู้สึกกังวลใจ หากสังคมจะเข้าใจเจตนาในครั้งนี้ผิดไป
ด้าน นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เปิดเผยว่า การช่วยเหลือเด็กยากจนและด้อยโอกาสทั้งหลายในยุคปัจจุบันไม่ใช่มีแต่ใจอย่างเดียว ต้องมีความพร้อมด้วย และต้องไม่สงเคราะห์จนไม่ลืมหูลืมตาจนเด็กอ่อนแอ เพราะสุดท้ายช่วยเหลือแล้วต้องพยายามให้เด็กอยู่กับครอบครัวให้ได้ ตนรู้จักครูน้อยมานาน ไม่ได้กังวลในเรื่องความซื่อตรงหรือความเป็นคนดี แต่ยืนยันได้เพียงครูน้อยคนเดียวเพราะรู้จักคนเดียว เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วครูน้อยบอกว่ามีปัญหาเรื่องการเงิน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจึงส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยจัดระบบบัญชีให้ แต่ทำเพียงสัปดาห์เดียว ครูน้อยก็ถอดใจบอกว่ายุ่งยากและไม่อยากทำ ตนก็ไม่ได้บังคับและถอยออกมา
นายวัลลภกล่าวด้วยว่า ทางออกเฉพาะหน้าตอนนี้ ยืนยันว่าต้องใช้ระบบการจัดการเข้าไปช่วย เข้าใจว่าคนในสังคมรู้จักครูน้อยจำนวนมาก และเป็นผู้ที่รู้เรื่องระบบการจัดการก็มาก น่าจะส่งคนเข้าไปช่วยจัดการได้ เพราะจำนวนเด็กที่ดูแลอยู่มีแค่ 70 คนเท่านั้น
“คิดอยู่แล้วว่าต้องเกิดปัญหา เราไม่ใช่พระเวสสันดร การช่วยเด็กช่วยได้หลายแบบ เด็กมีปัญหาจริงๆ ไม่กี่คน ต้องลงไปตรวจสอบเด็กจริงจังว่ามาจากที่ไหนกันบ้าง ไม่ใช่สงเคราะห์แบบทุกขเวทนา และการมีระบบบัญชีจะช่วยให้การทำงานยั่งยืนที่สุด ไม่ว่าคนหรือองค์กรให้ใหญ่ขนาดไหนยังต้องเก่งในเรื่องบริหารจัดการ อย่างรัฐบาลถ้านายกฯ บริหารจัดการไม่ดีก็เจ๊งได้” เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าว
ด้าน นายมนตรี สินทวิชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก เปิดเผยว่า ทางออกสำหรับครูน้อยคือต้องออกมาพูดความจริงว่าเป็นหนี้เท่าไร และสาเหตุเพราะอะไร คิดว่ามีคนพร้อมจะช่วยสะสางหนี้ให้ครูน้อยอยู่แล้ว จากนั้นต้องวางระบบบริหารจัดการและจดทะเบียนเป็นรูปของมูลนิธิ ให้มีคณะกรรมการ มีระเบียบราชการ การตัดสินใจอะไรจะได้ไม่เป็นไปเพียงคนเดียวเหมือนที่จดทะเบียนเป็นสถานเลี้ยงดูเด็กกับ พม.