xs
xsm
sm
md
lg

สสส.เผยวัยรุ่นมีเซ็กซ์ใช้ถุงยางไม่ถึงครึ่ง ผลวิจัยชี้เด็กไทยชอบตามกระแสไม่สนถูกผิด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สสส.เผยวัยรุ่นยอมรับมีเซ็กซ์ในวัยเรียน กล้าปรึกษา แต่มาเมื่อติดโรคแล้ว มีทั้งเอดส์และทำแท้ง เหตุเข้าใจผิดเรื่องเพศ ใช้ถุงยางไม่ถึงครึ่ง วิจัยพบเด็กไทยต้นทุนชีวิตด้านเพื่อน สังคม รู้เท่าทันสื่อต่ำ ทำตามกระแสใครว่าดีเอาหมด ไม่สนผิดถูก สสส.เร่งขยายพื้นที่ดี เชื่อการห้ามไม่ใช่ทางออก ต้องเปิดช่องให้ครอบครัว-วัด มัดใจเด็ก

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีแถลง “เซ็กซ์” กับต้นทุนชีวิต โดย นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และผจก.แผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สสส.กล่าวว่า การสำรวจต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนเปรียบเทียบระหว่างเด็กที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ และไม่มีเพศสัมพันธ์ ทั้งที่เข้ารับบริการสุขภาพทางเพศของโครงการเลิฟแคร์ และวัยรุ่นในสถานศึกษาในเขต กทม. 2,564 คน ช่วง 3 เดือนของปี 2551-2552 พ กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับบริการสุขภาพทางเพศของโครงการเลิฟแคร์ จำนวน 333 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ปี ขณะที่เด็กในสถานศึกษาแยกเป็นกลุ่มที่ยอมรับว่ามีเพศสัมพันธ์แล้ว 513 คน อายุเฉลี่ย 19 ปี เด็กในสถานศึกษาที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ 1,718 คน อายุเฉลี่ย 16 ปี

“ข้อมูลที่ได้พบว่า เด็กที่เข้าโครงการเลิฟแคร์มีต้นทุนชีวิตมากกว่า และเข้มแข็งกล้าเผชิญความจริงถึง 80% ส่วนเด็กในสถานศึกษาทั้ง 2 กลุ่มกลับอ่อนแอเรื่องดังกล่าว โดยกลุ่มเด็กในสถานศึกษาที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว จะมีทักษะในการปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์ต่ำที่สุดคือ 65% และมีจุดยืนต่อการมีเพศสัมพันธ์เพียง 42% ต่ำกว่าทักษะปฏิเสธ แสดงให้เห็นว่าถึงแม้เด็กยุคใหม่จะมีทักษะที่จะปฏิเสธ แต่กลับยอมรับการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น ขณะที่เด็กผู้หญิงยังมีทักษะปฏิเสธและมีจุดยืนต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ดีกว่าเด็กผู้ชาย”นพ.สุริยเดว กล่าว

นพ.สุริยเดว กล่าวอีกว่า เด็กทั้ง 3 กลุ่ม อ่อนแอมากเรื่องการทำกิจกรรมที่ดีในชุมชน และกิจกรรมที่ดีในหมู่เพื่อนอยู่ที่ 30-50% โดยกลุ่มเลิฟแคร์ต่ำที่สุด คือ และกิจกรรมศาสนา (ร้อยละ 18-40 พบว่าต่ำที่สุดในเด็กกลุ่มสถานศึกษาที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว) ทำให้เด็กพร้อมที่จะทำตามกระแส คำชักชวนของกลุ่มเพื่อนไม่ว่าดีหรือไม่ดี เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ แม้ครอบครัวจะดูแลมาอย่างดี เช่น ค่านิยมอยู่ก่อนแต่งที่ถูกมองเป็นเรื่องปกติ จำต้องเปิดพื้นที่ด้านบวกและสร้างพลังด้านที่ขาดไปให้เด็ก ทั้งกิจกรรม เพื่อน ชุมชน เพราะการสำรวจสะท้อนว่าพื้นที่สร้างสรรค์ที่หายไป จนทำให้เด็กได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน และควรเพิ่มบริการสุขภาพที่เป็นมิตรและเข้าถึงในวัยรุ่นอย่างทั่วถึง

นพ.วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ที่ปรึกษาองค์การแพธแห่งประเทศไทย (PATH) กล่าวว่า การสำรวจผู้ใช้บริการสุขภาพทางเพศในโครงการเลิฟแคร์ ในเขตกทม. จำนวน 333 คนดังกล่าวนั้น มี อายุ 13-25 ปี แบ่งเป็นชาย 34.8% หญิง 64% เพศทางเลือก 1.2% ในจำนวนนี้เป็นนักเรียน นักศึกษามากที่สุด 48.6% จากข้อมูลพบ ในรอบ 12 เดือน เพศชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิง 81.2% เพศเดียวกัน 18.8% ซึ่งถ้ามีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันจะใช้ถุงยางอนามัย 100% แต่กับเพศตรงข้ามจะใช้เพียง 33.9% ขณะที่เพศหญิงก็ใช้ถุงยางอนามัย 38% เท่านั้น และพบวัยรุ่นหญิงที่เคยยุติการตั้งครรภ์1.6% ในจำนวนผู้เข้ารับบริการมีต้องการตรวจเลือด 173 คน พบติดเชื้อเอดส์ 5 คน อีก 202 คน พบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 43 คน หรือเกือบ 1 ใน 4 เอดส์ 5 คน และอตั้งครรภ์ถุงยางอนามัย 100นรู้

“ขณะนี้ขยายโครงการไปอีก 9 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ นครสวรรค์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ในอนาคตจำต้องสร้างให้ยั่งยืนด้วยการจัดบริการร่วมที่มีหลายฝ่ายร่วมกันทำงาน เพราะการเปิดคลีนิคให้คำปรึกษาทางเพศ เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเข้าถึงบริการทางสุขภาพที่เหมาะสม สร้างความรับผิดชอบด้วยการ “กล้ารัก กล้าเช็ก” ให้เด็กดูแลตัวเอง มีความรับผิดชอบ และจากข้อมูลพบเด็กมีความเข้าใจผิดเรื่องเพศมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์”นพ.วัชระ กล่าว

นางเพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ผอ.สำนักสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะองค์กร สสส.กล่าวว่า เรื่องเซ็กซ์ในวัยรุ่นเป็นเพียงหนึ่งในปัญหาของเยาวชน ที่การห้ามหรือควบคุมไม่ใช่ทางออก การขจัดร้ายขยายดี อาทิ เปิดพื้นที่เรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กนำพลังที่มีอยู่ไปใช้ในทางสร้างสรรค์ ทำให้เด็กมีทางเลือกอื่นนอกจากสิ่งยั่วยุในปัจจุบัน ซึ่ง สสส. มีโครงการเสริมศักยภาพให้เด็กหลายโครงการ อาทิ ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่กลุ่มเด็กและเยาวชนกว่า 40 กลุ่มทั่วประเทศ โครงการสนับสนุนวัดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและชุมชน ใน 600 วัด ภาคเหนือ ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งสนับสนุนพัฒนาวัดให้เป็นองค์กรเข้มแข็ง จัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ทุกวันอาทิตย์ ส่งเสริมให้คนเข้าวัด ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามากขึ้น

“ทั้งยังพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อเด็กในชุมชนและพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลายโดยเริ่มจาก 100 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในครอบครัว สร้างสัมพันธภาพที่แข็งแรงยั่งยืน เพราะแม้สถานการณ์ปัจจุบันจะเปลี่ยนไปเช่นไร ครอบครัวยังเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยปกป้องเด็กและเยาวชน การบังคับไม่ใช่คำตอบที่จะช่วยให้เด็กไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ไม่ได้ลดการตั้งครรภ์หรือทำแท้ง แต่การให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้อง โดยมีผู้ใหญ่อยู่เคียงข้างต่างหาก จะทำให้พวกเขาเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง”นางเพ็ญพรรณ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น