สธ.สรุปผลการตรวจหญิงตั้งครรภ์ 6 ราย ไม่เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009 โดยเฉพาะรายที่วชิระพยาบาล ส่อรกมีอาการผิดปกติรอผลการตรวจละเอียดอีกครั้ง ส่วน อีก 2 ราย ที่จ.สตูล รายแรกชัด หกล้มหัวฟาดพื้น ส่วนอีกรายเกิดจากผลกระทบแม่สูบใบจาก พ่อสูบกัญชา เด็กน้ำหนักน้อย ส่งผลพัฒนาการ การเจริญเติมโตของเด็ก ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ที่สกลนครแม่น้ำหนักตัวมาก เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ สั่งเดินหน้าฉีดวัคซีนที่จ.สตูล
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการพิจารณาผลข้างเคียงหรือเหตุข้างเคียงที่อาจเกี่ยวพันธ์กับวัคซีนที่มี พญ.สุจิตรา นิมมานนิตย์ ประธาน ตรวจสอบกรณีการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ 6 ราย ว่าไม่ได้เกิดจากวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 คือ 1.หญิงตั้งครรภ์ จ.สกลนคร 22 ปี อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ ซึ่งบุตรเสียชีวิตแต่มารดา ปลอดภัย ตรวจสอบพบว่า มารดามีภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะอ้วน มีโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน 2.หญิงตั้งครรภ์ จ.พัทลุง อายุ 38 ปี ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนแล้วมีอาการหายใจติดขัด 3 มหาสารคาม พบว่ามีอาการหายใจติดขัด ซึ่งไม่เกี่ยวกับวัคซีน 4 .หญิงตั้งครรภ์ที่วชิระพยาบาล ซึ่งเด็กเสียชีวิตมารดาปลอดภัย ส่วนอีก 2 รายที่จ.สตูล รายแรกมารดาล้มลง จนเลือดออกสมองต้องทำการผ่าตัด และผ่านำทารกออก ซึ่งขณะนี้ทารกอยู่ในตู้อบ และรายที่ 6 จากการตรวจสอบพบว่า มารดาสูบใบจาก บิดาสูบกัญชา กรณีน่าจะมาจากการได้รับควัน ส่งผลต่อเด็กในท้อง ไม่เกี่ยวกับวัคซีน
“เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีนพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ได้มีการประชุมกันถึงแนวทางการดำเนินการเรื่องวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยคณะอนุกรรมการได้ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรมีการชะลอการฉีดวัคซีน ดังนั้น จ.สตูล ที่มีการชะลอไปก่อนหน้านี้ให้สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนต่อไปได้ และควรเน้นการรณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างสมัครใจ เน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนในการประกอบการตัดสินใจ ขณะที่การฉีดวัคซีนจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของ สธ. โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ก่อนตัดสินใจว่าจะฉีดหรือไม่จากนี้ไปจะต้องมีสูตินรีแพทย์หรือพยาบาลรับฝากครรภ์ให้ข้อมูลด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น เมื่อขณะนี้ผลสรุปว่า ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนก็สามารถเดินหน้าฉีดวัคซีนต่อไปได้ ” นายจุรินทร์ กล่าว
ด้าน พญ.สุจิตรา กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทุกแขนง สูตินารีแพทย์ กุมารแพทย์ ร่วมกันตรวจสอบผลมีรายละเอียด พบว่า ในรายที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่วชิระพยาบาล อายุ 38 ปี ซึ่งทารกเสียชีวิต ส่วนมารดาปลอดภัยนั้น ซึ่งเมื่อได้รับวัคซีนหญิงตั้งครรภ์รายนี้ มีอาการอาเวียนศีรษะ ที่สามารถพบได้บ่อย 90% โดยหญิงตั้งครรภ์รายนี้ หลังจากฉีดวัคซีนครึ่งชั่วโมงอาการวิงเวียนหายไป จากนั้นเมื่อพบว่าเด็กดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น แม่จึงมาหาแพทย์หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เด็กมีจุดเลือดออกตามตัวและในสมอง ซึ่งเป็นลักษณะของการที่เด็กขาดอากาศหายใจ เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณรก อย่างไรก็ตามจะต้องรอผลการตรวจจากกล้องจุลทรรศน์ว่ามีปัญหาของรกไม่สมบูรณ์ ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งได้ส่งชิ้นรกให้กับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์แล้ว จึงไม่น่าจะเป็นผลมาจาการได้รับวัคซีน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จะพบว่า มีความเชื่อมโยงในเรื่องวัคซีนน้อย
พญ.สุจิตรา กล่าวต่อว่า ส่วนรายที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ จ.สตูล อายุ 32 ปี อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ หลังรับวัคซีนมีอาการวิวเวียนศีรษะ พบว่า หญิงรายนี้ ได้หกล้มขณะที่ทำงานในสวนยางหัวฟาดพื้น ซึ่ง พบว่ามีเลือดออกในสมอง ดังนั้น อาการวิงเวียนจึงเป็นผลมาจากการที่เลือดออกในสมอง และผลการตรวจของจากคณะแพทย์ มอ.ซึ่งได้ผ่าตัดช่วยชีวิตทารกในครรภ์พบว่า เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย 1,800 กรัม ซึ่งตามอายุครรภ์ของมารดาที่ยังไม่ครบกำหนดทำให้เด็กมีตัวเล็ก ซึ่งรายนี้ชัดเจนว่า ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
“ส่วนอีกราย หญิงตั้งครรภ์ จ.สตูล อายุ 33 ปี อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ จากการตรวจสอบพบว่า แม่สูบใบจากและพ่อสูบกัญชา การสูบทั้งใบจากและการรับควันจากกัญชาอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติได้ ซึ่งทารกรายนี้มีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม เนื่องจากอายุครรภ์น้อย”พญ.สุจิตรากล่าว
พญ.สุจิตรา กล่าวอีกว่า ส่วนหญิงตั้งครรภ์ จ.สกลนคร อายุ 22 ปี อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ เนื่องจากหญิงรายนี้มีน้ำหนักมาก วัด ดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ) พบว่า มีค่าบีเอ็มไอ 35 ถือเกินค่ามาตรฐาน ที่ 25 ซึ่งจัดอยู่ในภาวะอ้วนหากเป็นไข้หวัดใหญ่ทำให้มีความเสี่ยง หากเกิดอาการปอดอักเสบ และการหายใจ นอกจากนี้ยังเป็นโรคความดันโลหิตสูง จากการตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวในปัสสาวะมีภาวะเริ่มเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนทั่วโลกมีการศึกษากันอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังมีผลสรุปแน่ชัดได้ว่า วัคซีนเป็นที่ทำให้เกิดผลเคียงที่รุนแรง
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการพิจารณาผลข้างเคียงหรือเหตุข้างเคียงที่อาจเกี่ยวพันธ์กับวัคซีนที่มี พญ.สุจิตรา นิมมานนิตย์ ประธาน ตรวจสอบกรณีการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ 6 ราย ว่าไม่ได้เกิดจากวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 คือ 1.หญิงตั้งครรภ์ จ.สกลนคร 22 ปี อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ ซึ่งบุตรเสียชีวิตแต่มารดา ปลอดภัย ตรวจสอบพบว่า มารดามีภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะอ้วน มีโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน 2.หญิงตั้งครรภ์ จ.พัทลุง อายุ 38 ปี ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีนแล้วมีอาการหายใจติดขัด 3 มหาสารคาม พบว่ามีอาการหายใจติดขัด ซึ่งไม่เกี่ยวกับวัคซีน 4 .หญิงตั้งครรภ์ที่วชิระพยาบาล ซึ่งเด็กเสียชีวิตมารดาปลอดภัย ส่วนอีก 2 รายที่จ.สตูล รายแรกมารดาล้มลง จนเลือดออกสมองต้องทำการผ่าตัด และผ่านำทารกออก ซึ่งขณะนี้ทารกอยู่ในตู้อบ และรายที่ 6 จากการตรวจสอบพบว่า มารดาสูบใบจาก บิดาสูบกัญชา กรณีน่าจะมาจากการได้รับควัน ส่งผลต่อเด็กในท้อง ไม่เกี่ยวกับวัคซีน
“เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีนพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน ได้มีการประชุมกันถึงแนวทางการดำเนินการเรื่องวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยคณะอนุกรรมการได้ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรมีการชะลอการฉีดวัคซีน ดังนั้น จ.สตูล ที่มีการชะลอไปก่อนหน้านี้ให้สามารถดำเนินการฉีดวัคซีนต่อไปได้ และควรเน้นการรณรงค์ฉีดวัคซีนอย่างสมัครใจ เน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนในการประกอบการตัดสินใจ ขณะที่การฉีดวัคซีนจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของ สธ. โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ก่อนตัดสินใจว่าจะฉีดหรือไม่จากนี้ไปจะต้องมีสูตินรีแพทย์หรือพยาบาลรับฝากครรภ์ให้ข้อมูลด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนั้น เมื่อขณะนี้ผลสรุปว่า ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนก็สามารถเดินหน้าฉีดวัคซีนต่อไปได้ ” นายจุรินทร์ กล่าว
ด้าน พญ.สุจิตรา กล่าวว่า คณะกรรมการฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทุกแขนง สูตินารีแพทย์ กุมารแพทย์ ร่วมกันตรวจสอบผลมีรายละเอียด พบว่า ในรายที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่วชิระพยาบาล อายุ 38 ปี ซึ่งทารกเสียชีวิต ส่วนมารดาปลอดภัยนั้น ซึ่งเมื่อได้รับวัคซีนหญิงตั้งครรภ์รายนี้ มีอาการอาเวียนศีรษะ ที่สามารถพบได้บ่อย 90% โดยหญิงตั้งครรภ์รายนี้ หลังจากฉีดวัคซีนครึ่งชั่วโมงอาการวิงเวียนหายไป จากนั้นเมื่อพบว่าเด็กดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น แม่จึงมาหาแพทย์หลังจากนั้น 12 ชั่วโมง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เด็กมีจุดเลือดออกตามตัวและในสมอง ซึ่งเป็นลักษณะของการที่เด็กขาดอากาศหายใจ เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณรก อย่างไรก็ตามจะต้องรอผลการตรวจจากกล้องจุลทรรศน์ว่ามีปัญหาของรกไม่สมบูรณ์ ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งได้ส่งชิ้นรกให้กับผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์แล้ว จึงไม่น่าจะเป็นผลมาจาการได้รับวัคซีน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จะพบว่า มีความเชื่อมโยงในเรื่องวัคซีนน้อย
พญ.สุจิตรา กล่าวต่อว่า ส่วนรายที่ 2 หญิงตั้งครรภ์ จ.สตูล อายุ 32 ปี อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ หลังรับวัคซีนมีอาการวิวเวียนศีรษะ พบว่า หญิงรายนี้ ได้หกล้มขณะที่ทำงานในสวนยางหัวฟาดพื้น ซึ่ง พบว่ามีเลือดออกในสมอง ดังนั้น อาการวิงเวียนจึงเป็นผลมาจากการที่เลือดออกในสมอง และผลการตรวจของจากคณะแพทย์ มอ.ซึ่งได้ผ่าตัดช่วยชีวิตทารกในครรภ์พบว่า เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย 1,800 กรัม ซึ่งตามอายุครรภ์ของมารดาที่ยังไม่ครบกำหนดทำให้เด็กมีตัวเล็ก ซึ่งรายนี้ชัดเจนว่า ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
“ส่วนอีกราย หญิงตั้งครรภ์ จ.สตูล อายุ 33 ปี อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ จากการตรวจสอบพบว่า แม่สูบใบจากและพ่อสูบกัญชา การสูบทั้งใบจากและการรับควันจากกัญชาอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติได้ ซึ่งทารกรายนี้มีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม เนื่องจากอายุครรภ์น้อย”พญ.สุจิตรากล่าว
พญ.สุจิตรา กล่าวอีกว่า ส่วนหญิงตั้งครรภ์ จ.สกลนคร อายุ 22 ปี อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ เนื่องจากหญิงรายนี้มีน้ำหนักมาก วัด ดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ) พบว่า มีค่าบีเอ็มไอ 35 ถือเกินค่ามาตรฐาน ที่ 25 ซึ่งจัดอยู่ในภาวะอ้วนหากเป็นไข้หวัดใหญ่ทำให้มีความเสี่ยง หากเกิดอาการปอดอักเสบ และการหายใจ นอกจากนี้ยังเป็นโรคความดันโลหิตสูง จากการตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวในปัสสาวะมีภาวะเริ่มเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนทั่วโลกมีการศึกษากันอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังมีผลสรุปแน่ชัดได้ว่า วัคซีนเป็นที่ทำให้เกิดผลเคียงที่รุนแรง