ASTVผู้จัดการรายวัน - สธ.เผยพบเด็กตายในครรภ์ 1 ราย ที่ จ.สตูล หลังแม่รับวัคซีนหวัด 2009 รอผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย รู้ผลอีก 1 สัปดาห์ พร้อมสั่งชะลอการให้วัคซีนที่สตูลแล้ว ส่วนอีกรายชัดเจนแม่หกล้มเลือดออกในสมอง ไม่เกี่ยวกับวัคซีน อาการยังน่าห่วงทั้งแม่และลูก ขณะที่ผลทดลองวัคซีนเชื้อเป็นในอาสาสมัคร 24 ราย น่าพอใจ
วานนี้ (28 ม.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดสธ. นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุม แถลงข่าวกรณีหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่รพ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2553 หลังได้รับวัคซีนเพียง 1-2 วัน ทารกในครรภ์เสียชีวิต
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นของกรมควบคุมโรค พบว่า รายแรกที่เป็นหญิงอายุ 39 ปี อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ หลังได้รับการฉีดวัคซีน 1 วัน แม่รู้สึกเด็กดิ้นน้อยลง มาพบแพทย์ที่ รพ.ทุ่งหว้าและส่งต่อมายัง รพ.สตูล ตรวจสอบพบว่าเด็กเสียชีวิตแล้ว ขณะนี้กำลังทำคลอดโดยให้ยากระตุ้น เมื่อสามารถนำเด็กออกมาจากท้องแล้วจะต้องส่งไปตรวจพิสูจน์ที่ รพ.สงขลานครินทร์เพื่อหาสาเหตุในการเสียชีวิต คาดว่าจะทราบผลในอีก 1 สัปดาห์
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ส่วนรายที่ 2 หญิง อายุ 32 ปี ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ มีความชัดเจนแล้วว่าทารกไม่ได้เสียชีวิตจากการได้รับวัคซีน แม้จะได้รับวัคซีนมาก่อน 1 วันก็ตามและไม่เกี่ยวข้องกับการที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่พบว่าแม่มาโรงพยาบาลเพราะหกล้ม มีบาดเจ็บที่ศรีษะ ญาตินำส่ง รพ.หาดใหญ่ แพทย์พบว่ามีเลือดออกในสมอง ได้ทำการผ่าตัดสมองเพื่อช่วยชีวิต ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องเพื่อช่วยชีวิตเด็ก ขณะนี้แม่และเด็กอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เชื่อว่าจะปลอดภัยทั้งแม่และลูก
“ก่อนหน้านี้มีกรณีหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเข้ารับวัคซีนที่ รพ.วชิระและต่อมาทารกเสียชีวิตในครรภ์ 1 รายนั้น ผลการตรวจพิสูจน์ศพทารกเบื้องต้น พบว่า ทารกไม่ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ แต่เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น รกไม่แข็งแรง เป็นต้น”นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ตนได้สั่งการให้ จ.สตูลเพียงจังหวัดเดียวชะลอการฉีดวัคซีนเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อมูลเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลข้างเคียงหรือเหตุข้างเคียงที่อาจเกี่ยวพันกับวัคซีน ที่มี พญ.สุจิตรา นิมมานิตย์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นประธานในวันที่ 29 ม.ค.นี้ จากนั้นจะมีการตัดสินใจร่วมกันอีกครั้งว่าจะให้ จ.สตูลดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับหญิงตั้งครรภ์หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสบายใจให้กับประชาชนในจ.สตูล
นพ.มานิต กล่าวว่า ตามปกติหญิงตั้งครรภ์จะมีอัตราเด็กเสียชีวิตในครรภ์ 7 รายต่อการเกิดพันราย ภายหลังการเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่าอัตราการแท้งและเด็กเสียชีวิตในครรภ์ยังไม่ได้สูงกว่าภาวะปกติจนต้องระงับการให้วัคซีน โดยขณะนี้ดำเนินการฉีดวัคซีนนี้ให้กับหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศไปแล้ว 6 พันราย และเกิดผลข้างเคียงเพียง 2 รายเท่านั้น
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัด สธ. กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรด่วนสรุปว่าเกิดจากการรับวัคซีนต้องรอผลการสรุปจากพยาธิแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อน และ สธ.มีระบบการติดตามและเฝ้าระวังผลข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนที่ดี หากพบว่าวัคซีนล็อตใดมีปัญหาจะเก็บและเรียกคืนทันที จึงขอยืนยันและเชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนดีกว่าจะปล่อยให้เกิดป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งในการให้บริการฉีดวัคซีนกับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน 3 เดือนตั้งเป้าฉีดประมาณ 5 แสนคน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึง การทดลองวัคซีนชนิดเชื้อเป็นในอาสาสมัคร จำนวน 24 ราย ซึ่งทำการฉีดพ่นวัคซีนในอาสาสมัครครบแล้ว 2 ครั้งว่า ขณะนี้ครบ 42 วัน ตามที่กำหนด และได้เจาะเลือดอาสาสมัครเพื่อนำไปตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน และความปลอดภัย เบื้องต้นจากการสังเกตความปลอดภัยในอาสาสมัคร พบว่าจากจำนวนอาสาสมัคร 24 คน มีประมาณ 10 รายที่มีอาการข้างเคียง โดยพบ 13 อาการ เช่น คัดจมูก ปวดหัว ปวดตา ปวดข้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว คัน เป็นต้น แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้ และไม่น่าเป็นปัญหา
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องนำเลือดไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่สุด ขณะที่ผลการตรวจเลือดและล้างโพรงจมูกของอาสาสมัคร เบื้องต้นเป็นที่น่าพอใจ พบว่า มีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด และในเนื้อเยื่อในโพรงจมูก ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการทดลอง คาดว่าจะสามารถเริ่มต้นทำการทดลองในอาสาสมัครจำนวน 400 คน ในช่วงเดือน เม.ย.นี้ โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบสรุปผลการวิเคราะห์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาด เริ่มชะลอตัวไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา.
วานนี้ (28 ม.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดสธ. นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุม แถลงข่าวกรณีหญิงตั้งครรภ์ 2 ราย ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่รพ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2553 หลังได้รับวัคซีนเพียง 1-2 วัน ทารกในครรภ์เสียชีวิต
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นของกรมควบคุมโรค พบว่า รายแรกที่เป็นหญิงอายุ 39 ปี อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ หลังได้รับการฉีดวัคซีน 1 วัน แม่รู้สึกเด็กดิ้นน้อยลง มาพบแพทย์ที่ รพ.ทุ่งหว้าและส่งต่อมายัง รพ.สตูล ตรวจสอบพบว่าเด็กเสียชีวิตแล้ว ขณะนี้กำลังทำคลอดโดยให้ยากระตุ้น เมื่อสามารถนำเด็กออกมาจากท้องแล้วจะต้องส่งไปตรวจพิสูจน์ที่ รพ.สงขลานครินทร์เพื่อหาสาเหตุในการเสียชีวิต คาดว่าจะทราบผลในอีก 1 สัปดาห์
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ส่วนรายที่ 2 หญิง อายุ 32 ปี ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ มีความชัดเจนแล้วว่าทารกไม่ได้เสียชีวิตจากการได้รับวัคซีน แม้จะได้รับวัคซีนมาก่อน 1 วันก็ตามและไม่เกี่ยวข้องกับการที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่พบว่าแม่มาโรงพยาบาลเพราะหกล้ม มีบาดเจ็บที่ศรีษะ ญาตินำส่ง รพ.หาดใหญ่ แพทย์พบว่ามีเลือดออกในสมอง ได้ทำการผ่าตัดสมองเพื่อช่วยชีวิต ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องเพื่อช่วยชีวิตเด็ก ขณะนี้แม่และเด็กอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เชื่อว่าจะปลอดภัยทั้งแม่และลูก
“ก่อนหน้านี้มีกรณีหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเข้ารับวัคซีนที่ รพ.วชิระและต่อมาทารกเสียชีวิตในครรภ์ 1 รายนั้น ผลการตรวจพิสูจน์ศพทารกเบื้องต้น พบว่า ทารกไม่ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ แต่เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น รกไม่แข็งแรง เป็นต้น”นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ตนได้สั่งการให้ จ.สตูลเพียงจังหวัดเดียวชะลอการฉีดวัคซีนเฉพาะกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ไปก่อนจนกว่าจะได้ข้อมูลเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลข้างเคียงหรือเหตุข้างเคียงที่อาจเกี่ยวพันกับวัคซีน ที่มี พญ.สุจิตรา นิมมานิตย์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นประธานในวันที่ 29 ม.ค.นี้ จากนั้นจะมีการตัดสินใจร่วมกันอีกครั้งว่าจะให้ จ.สตูลดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับหญิงตั้งครรภ์หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสบายใจให้กับประชาชนในจ.สตูล
นพ.มานิต กล่าวว่า ตามปกติหญิงตั้งครรภ์จะมีอัตราเด็กเสียชีวิตในครรภ์ 7 รายต่อการเกิดพันราย ภายหลังการเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่าอัตราการแท้งและเด็กเสียชีวิตในครรภ์ยังไม่ได้สูงกว่าภาวะปกติจนต้องระงับการให้วัคซีน โดยขณะนี้ดำเนินการฉีดวัคซีนนี้ให้กับหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศไปแล้ว 6 พันราย และเกิดผลข้างเคียงเพียง 2 รายเท่านั้น
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัด สธ. กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรด่วนสรุปว่าเกิดจากการรับวัคซีนต้องรอผลการสรุปจากพยาธิแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อน และ สธ.มีระบบการติดตามและเฝ้าระวังผลข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนที่ดี หากพบว่าวัคซีนล็อตใดมีปัญหาจะเก็บและเรียกคืนทันที จึงขอยืนยันและเชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนดีกว่าจะปล่อยให้เกิดป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งในการให้บริการฉีดวัคซีนกับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน 3 เดือนตั้งเป้าฉีดประมาณ 5 แสนคน
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึง การทดลองวัคซีนชนิดเชื้อเป็นในอาสาสมัคร จำนวน 24 ราย ซึ่งทำการฉีดพ่นวัคซีนในอาสาสมัครครบแล้ว 2 ครั้งว่า ขณะนี้ครบ 42 วัน ตามที่กำหนด และได้เจาะเลือดอาสาสมัครเพื่อนำไปตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน และความปลอดภัย เบื้องต้นจากการสังเกตความปลอดภัยในอาสาสมัคร พบว่าจากจำนวนอาสาสมัคร 24 คน มีประมาณ 10 รายที่มีอาการข้างเคียง โดยพบ 13 อาการ เช่น คัดจมูก ปวดหัว ปวดตา ปวดข้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว คัน เป็นต้น แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้ และไม่น่าเป็นปัญหา
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องนำเลือดไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยที่สุด ขณะที่ผลการตรวจเลือดและล้างโพรงจมูกของอาสาสมัคร เบื้องต้นเป็นที่น่าพอใจ พบว่า มีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด และในเนื้อเยื่อในโพรงจมูก ถือเป็นสัญญาณที่ดีของการทดลอง คาดว่าจะสามารถเริ่มต้นทำการทดลองในอาสาสมัครจำนวน 400 คน ในช่วงเดือน เม.ย.นี้ โดยไม่จำเป็นต้องเร่งรีบสรุปผลการวิเคราะห์ เนื่องจากสถานการณ์การระบาด เริ่มชะลอตัวไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา.