หมอศิริราชสร้างชื่อ คิดค้นนวัตกรรมวิธีรักษาภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลันรุนแรง โดยการระบายโลหิตพิษผ่านทางหลอดเลือดดำ ประสิทธิภาพสูงครั้งแรกของโลก เผยประยุกต์ใช้เครื่องฟอกไตเทียมมาใช้รักษา เปิดอบรมถ่ายทอดเทคนิคให้โรงพยาบาลทำได้ทุกที่
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 21 มกราคม ที่โรงพยาบาลศิริราช รศ.นพ.ประมุข มุทิรางกูร หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลันและรุนแรงเป็นโรคที่มีความรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะเกิดภาวะขาเน่าตายได้อย่างรวดเร็วและอาจเสียชีวิตได้จากการไหลซึมของสารพิษจากขาที่ขาดเลือดเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย ทั้งนี้โดยเฉลี่ยในแต่ละปี มีผู้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 20-30 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากลิ่มเลือดหลุดจากหัวใจและจากหลอดเลือดแดงใหญ่ในส่วนทรวงอกหรือช่องท้องมาอุดตันภายในหลอดเลือดแดงของขา
รศ.นพ.ประมุข กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการรักษาภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลัน เดิมเป็นการใช้วิธีการฉีดยาละลายลิ่มเลือดผ่านทางสายสวน และการผ่าตัดขจัดลิ่มเลือด แต่หากขาขาดเลือดรุนแรงและมีภาวะสารพิษไหลซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต วิธีการเดิมไม่เพียงพอ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้คิดค้นวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดขจัดลิ่มเลือดร่วมกับการระบายสารพิษผ่านทางหลอดเลือดดำของขาเข้าเครื่องฟอกไตเทียม โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ต้องผ่าตัดสอดใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดดำขาองขาที่ขาดเลือด จากนั้นนำเลือดดำจากขาที่ขาดเลือดผ่านเข้าเครื่องฟอกไตเทียมเพื่อทำการฟอกเลือด แล้วจึงนำเลือดที่ฟอกแล้วจากเครื่องไตเทียมกลับเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำบริเวณคอ
รศ.นพ.ประมุข กล่าวอีกว่า ข้อดีของการรักษาวิธีนี้ เป็นการรักษาที่มีประสิทธภาพสูงในผู้ป่วยที่มีขาขาดเลือดขั้นรุนแรงและเริ่มมีภาวะโลหิตเป็นพิษ โดยไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน เสียค่าใช้จ่ายน้อย ประมาณ 20,000 บาท เช่น ค่าสายสวน 10,000 บาท และการใช้เครื่องฟอกไตเทียมครั้งละประมาณ 3,000 บาท และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาวะขาขาดเลือดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น การบาดเจ็บของขาจากอุบัติเหตุ ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการรักษาด้วยวิธีนี้ให้แพร่หลาย โดยการเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ศัลยแพทย์ทั่วประเทศให้เกิดความชานาญในการรักษา ซึ่งโรงพยาบาลทุกแห่งที่มีเครื่องฟอกไตสามรถนำไปประยุกต์ใช้ได้อยู่แล้ว
“วิธีการนี้ได้รับการยอมรับจากวารสารของสมาคมศัลยศาสตร์หลอดเลือดภาคพื้นยุโรป เมื่อเดือน พ.ย.2552 ว่า เป็นวีการต้นแบบที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะขาขาดเลือดอย่างเฉียบพลันและรุนแรงในสภาวะที่มีการคั่งของสารพิษในระบบไหลเวียนโลหิต”รศ.นพ.ประมุข กล่าว
รศ.นพ.ประมุข กล่าวอีกว่า สำหรับอาการที่สำคัญของภาวะขาขาดเลือดเลียบพลันในขั้นแรกและมีอาการปวดขาอย่างรุนแรงขาเย็นและขาซีดลงมาก เมื่อคลำชีพจรบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง จะเบาลงหรือคลำไม่ได้ ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการสูญเสียความรู้สึกของขาและเกิดอาการอ่อนแรงบริเวณนิ้วเท้า เมื่ออาการขาดเลือดของขาอยู่ในขั้นรุนแรงจะไม่สามารถขยับเท้าและขาได้ หากทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมงอาจเกิดภาวะขาเน่าตายได้
ทั้งนี้ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงที่เกิดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถเกิดที่หลอดเลือดแดงส่วนต้นขา 54.9% หลอดเลือดแดงส่วนน่อง 20.9% หลอดเลือดแดงส่วนอุ้งเชิงกราน 16.5% และหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนช่องท้อง 7.7% ทั้งนี้ รักษาโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุของลิ่มเลือด เช่น การเต้นหัวใจผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ด้วย
นางอรวรรณ กิติพันธุ์ ผู้ป่วยที่ได้รับการผัดตัดรักษาภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลันและรุนแรง อายุ 62 ปี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมาก ที่ได้รับการรักษาจนหายสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติ ซึ่งตนได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่ปี 2551 โดยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งขณะที่แพทย์ทำการรักษาไม่รู้ตัวว่าเป็นอย่างไรบ้าง และทำการรักษาอยู่โรงพยาบาล 4 เดือน รวมทั้งรับประทานยาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 21 มกราคม ที่โรงพยาบาลศิริราช รศ.นพ.ประมุข มุทิรางกูร หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ภาควิชาศัลยศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลันและรุนแรงเป็นโรคที่มีความรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะเกิดภาวะขาเน่าตายได้อย่างรวดเร็วและอาจเสียชีวิตได้จากการไหลซึมของสารพิษจากขาที่ขาดเลือดเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย ทั้งนี้โดยเฉลี่ยในแต่ละปี มีผู้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชประมาณ 20-30 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากลิ่มเลือดหลุดจากหัวใจและจากหลอดเลือดแดงใหญ่ในส่วนทรวงอกหรือช่องท้องมาอุดตันภายในหลอดเลือดแดงของขา
รศ.นพ.ประมุข กล่าวต่อว่า สำหรับวิธีการรักษาภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลัน เดิมเป็นการใช้วิธีการฉีดยาละลายลิ่มเลือดผ่านทางสายสวน และการผ่าตัดขจัดลิ่มเลือด แต่หากขาขาดเลือดรุนแรงและมีภาวะสารพิษไหลซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต วิธีการเดิมไม่เพียงพอ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้คิดค้นวิธีการรักษาโดยการผ่าตัดขจัดลิ่มเลือดร่วมกับการระบายสารพิษผ่านทางหลอดเลือดดำของขาเข้าเครื่องฟอกไตเทียม โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ต้องผ่าตัดสอดใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดดำขาองขาที่ขาดเลือด จากนั้นนำเลือดดำจากขาที่ขาดเลือดผ่านเข้าเครื่องฟอกไตเทียมเพื่อทำการฟอกเลือด แล้วจึงนำเลือดที่ฟอกแล้วจากเครื่องไตเทียมกลับเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดดำบริเวณคอ
รศ.นพ.ประมุข กล่าวอีกว่า ข้อดีของการรักษาวิธีนี้ เป็นการรักษาที่มีประสิทธภาพสูงในผู้ป่วยที่มีขาขาดเลือดขั้นรุนแรงและเริ่มมีภาวะโลหิตเป็นพิษ โดยไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน เสียค่าใช้จ่ายน้อย ประมาณ 20,000 บาท เช่น ค่าสายสวน 10,000 บาท และการใช้เครื่องฟอกไตเทียมครั้งละประมาณ 3,000 บาท และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาวะขาขาดเลือดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น การบาดเจ็บของขาจากอุบัติเหตุ ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการรักษาด้วยวิธีนี้ให้แพร่หลาย โดยการเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ศัลยแพทย์ทั่วประเทศให้เกิดความชานาญในการรักษา ซึ่งโรงพยาบาลทุกแห่งที่มีเครื่องฟอกไตสามรถนำไปประยุกต์ใช้ได้อยู่แล้ว
“วิธีการนี้ได้รับการยอมรับจากวารสารของสมาคมศัลยศาสตร์หลอดเลือดภาคพื้นยุโรป เมื่อเดือน พ.ย.2552 ว่า เป็นวีการต้นแบบที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะขาขาดเลือดอย่างเฉียบพลันและรุนแรงในสภาวะที่มีการคั่งของสารพิษในระบบไหลเวียนโลหิต”รศ.นพ.ประมุข กล่าว
รศ.นพ.ประมุข กล่าวอีกว่า สำหรับอาการที่สำคัญของภาวะขาขาดเลือดเลียบพลันในขั้นแรกและมีอาการปวดขาอย่างรุนแรงขาเย็นและขาซีดลงมาก เมื่อคลำชีพจรบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง จะเบาลงหรือคลำไม่ได้ ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการสูญเสียความรู้สึกของขาและเกิดอาการอ่อนแรงบริเวณนิ้วเท้า เมื่ออาการขาดเลือดของขาอยู่ในขั้นรุนแรงจะไม่สามารถขยับเท้าและขาได้ หากทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมงอาจเกิดภาวะขาเน่าตายได้
ทั้งนี้ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงที่เกิดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถเกิดที่หลอดเลือดแดงส่วนต้นขา 54.9% หลอดเลือดแดงส่วนน่อง 20.9% หลอดเลือดแดงส่วนอุ้งเชิงกราน 16.5% และหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนช่องท้อง 7.7% ทั้งนี้ รักษาโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุของลิ่มเลือด เช่น การเต้นหัวใจผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ด้วย
นางอรวรรณ กิติพันธุ์ ผู้ป่วยที่ได้รับการผัดตัดรักษาภาวะขาขาดเลือดเฉียบพลันและรุนแรง อายุ 62 ปี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมาก ที่ได้รับการรักษาจนหายสามารถใช้ชีวิตเป็นปกติ ซึ่งตนได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่ปี 2551 โดยเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งขณะที่แพทย์ทำการรักษาไม่รู้ตัวว่าเป็นอย่างไรบ้าง และทำการรักษาอยู่โรงพยาบาล 4 เดือน รวมทั้งรับประทานยาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน