สปสช.ปลื้ม ปี 52 คนสนใช้สิทธิบัตรทองมากขึ้น แห่โทรสอบถาม 1330 กว่า 8 แสนครั้ง ร้องเรียนกว่า 4 พันเรื่อง ปี 53 ตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยไตวาย 6 หมื่นราย ช่วยไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย ลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 9.9 พันบาทต่อครอบครัว ประหยัดงบรัฐได้ 2 แสนล้านต่อปี
วันนี้ (24 ธ.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวในการแถลงข่าวจิบน้ำชาคุ้ยข่าวหลักประกันสุขภาพว่า การดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพ ในปี 2552 พบว่าประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยในปี 2552 สปสช.ดูแลรักษาพยาบาลประชาชน 47 ล้านคน ในจำนวนนี้มีประชาชนที่ใช้บริการประมาณ 39 ล้านคน ส่วนอีก 8-9 ล้านคน ไม่ได้ใช้สิทธิเข้ารับบริการ โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกในปี 2552 อยู่ที่ 2.98 ครั้งต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก 2.27 ครั้งต่อคนต่อปี ส่วนอัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน ปี 2552 อยู่ที่0.110 ครั้งต่อคนต่อปี ทั้งนี้การมีหลักประกันสุขภาพช่วยให้ประชาชนไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วยไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
นพ.วินัย กล่าวว่า ในส่วนของการคุ้มครองสิทธิในปี 2552 มีผู้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลและร้องเรียนเรื่องต่างๆ โดยใช้หมายเลข 1330 พบว่ามีประมาณ 8-9 แสนครั้ง กว่าครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แบ่งเป็นเรื่องการร้องเรียน 4,239 เรื่อง ไม่ได้รับบริการตามสิทธิที่กำหนดที่สุด เช่น ไม่ได้รับการส่งต่อ 1,871 เรื่อง ถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการ 860 เรื่อง ไม่ได้รับความสะดวก 781 เรื่อง และปัญหามาตรฐานการรักษา 727 เรื่อง อย่างไรก็ตาม 97% ได้รับการแก้ไขภายใน 30 วันทำการ เช่น มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จนสามารถคืนเงินให้กับประชาชนที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาไปก่อนได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ในโรงพยาบาลที่มีปัญหาบ่อยครั้ง ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ สปสช.ได้ยกเลิกการต่อสัญญาเป็นสถานบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพแล้ว 1 แห่ง
สำหรับเดือนมกราคม 2553 นี้ สปสช.จะประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ความยาว 30 วินาที เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบสิทธิประโยชน์จากการใช้บริการภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น
ด้าน นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร ที่ปรึกษาอาวุโส สปสช.กล่าวว่า การดำเนินการของสปสช.ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้มากขึ้น โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกตั้งแต่ปี 2545-2552 อยู่ที่ประมาณ 3 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งมาตรฐานของการใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 5 ครั้งต่อคนต่อปี ถือได้ว่า สปสช.ดำเนินการได้ใกล้เคียงกับมาตรฐานมาก และในปี 2553 สปสช.จะเร่งขยายการผ่าตัดโรคนิ่ว ลดการรอคิวให้สั้นลง จากที่ต้องรอนานถึง 6 เดือน ให้ได้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตและโรคไตวายที่เป็นโรคซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงลง เช่นเดียวกับที่ลดเวลาการรอคิวผ่าตัดหัวใจมาแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ถือว่าได้รับการดูแลเพิ่มขึ้น เข้าถึงยาได้มากขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลงจากการใช้ยาสูตรพื้นฐาน และทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
“ที่เห็นชัดเจนอีกเรื่องหนึ่ง คือ การแก้ไขปัญหาในระบบบริการทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไตวายที่ใช้สิทธิบัตรทองสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น โดยการดำเนินการของสปสช.ในปี 2552 ที่ผ่านมา ได้ช่วยลดความล้มละลายจากไตวาย ในส่วนของค่าใช้จ่ายสุขภาพที่เดิมประชาชนต้องจ่ายเอง ได้มากถึง 9,900 บาทต่อครัวเรือนคิดเป็นงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี และขณะนี้ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนของกองทุนเพื่อดูแลบริการทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไว้แล้วจำนวน 1,455 ล้านบาท ตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยไตวายทั้งในส่วนของการล้างไต เปลี่ยนไตในปี 2553 ประมาณ 60,000 ราย”นพ.ปัญญา กล่าว
วันนี้ (24 ธ.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวในการแถลงข่าวจิบน้ำชาคุ้ยข่าวหลักประกันสุขภาพว่า การดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพ ในปี 2552 พบว่าประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น โดยในปี 2552 สปสช.ดูแลรักษาพยาบาลประชาชน 47 ล้านคน ในจำนวนนี้มีประชาชนที่ใช้บริการประมาณ 39 ล้านคน ส่วนอีก 8-9 ล้านคน ไม่ได้ใช้สิทธิเข้ารับบริการ โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกในปี 2552 อยู่ที่ 2.98 ครั้งต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ซึ่งมีอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก 2.27 ครั้งต่อคนต่อปี ส่วนอัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน ปี 2552 อยู่ที่0.110 ครั้งต่อคนต่อปี ทั้งนี้การมีหลักประกันสุขภาพช่วยให้ประชาชนไม่ล้มละลายจากการเจ็บป่วยไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
นพ.วินัย กล่าวว่า ในส่วนของการคุ้มครองสิทธิในปี 2552 มีผู้โทรศัพท์สอบถามข้อมูลและร้องเรียนเรื่องต่างๆ โดยใช้หมายเลข 1330 พบว่ามีประมาณ 8-9 แสนครั้ง กว่าครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แบ่งเป็นเรื่องการร้องเรียน 4,239 เรื่อง ไม่ได้รับบริการตามสิทธิที่กำหนดที่สุด เช่น ไม่ได้รับการส่งต่อ 1,871 เรื่อง ถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการ 860 เรื่อง ไม่ได้รับความสะดวก 781 เรื่อง และปัญหามาตรฐานการรักษา 727 เรื่อง อย่างไรก็ตาม 97% ได้รับการแก้ไขภายใน 30 วันทำการ เช่น มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข จนสามารถคืนเงินให้กับประชาชนที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาไปก่อนได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ในโรงพยาบาลที่มีปัญหาบ่อยครั้ง ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ สปสช.ได้ยกเลิกการต่อสัญญาเป็นสถานบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพแล้ว 1 แห่ง
สำหรับเดือนมกราคม 2553 นี้ สปสช.จะประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ความยาว 30 วินาที เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบสิทธิประโยชน์จากการใช้บริการภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนมากขึ้น
ด้าน นพ.ปัญญา กีรติหัตถยากร ที่ปรึกษาอาวุโส สปสช.กล่าวว่า การดำเนินการของสปสช.ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้มากขึ้น โดยอัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอกตั้งแต่ปี 2545-2552 อยู่ที่ประมาณ 3 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งมาตรฐานของการใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 5 ครั้งต่อคนต่อปี ถือได้ว่า สปสช.ดำเนินการได้ใกล้เคียงกับมาตรฐานมาก และในปี 2553 สปสช.จะเร่งขยายการผ่าตัดโรคนิ่ว ลดการรอคิวให้สั้นลง จากที่ต้องรอนานถึง 6 เดือน ให้ได้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไตและโรคไตวายที่เป็นโรคซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงลง เช่นเดียวกับที่ลดเวลาการรอคิวผ่าตัดหัวใจมาแล้วก่อนหน้านี้ ส่วนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ถือว่าได้รับการดูแลเพิ่มขึ้น เข้าถึงยาได้มากขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลงจากการใช้ยาสูตรพื้นฐาน และทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
“ที่เห็นชัดเจนอีกเรื่องหนึ่ง คือ การแก้ไขปัญหาในระบบบริการทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไตวายที่ใช้สิทธิบัตรทองสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น โดยการดำเนินการของสปสช.ในปี 2552 ที่ผ่านมา ได้ช่วยลดความล้มละลายจากไตวาย ในส่วนของค่าใช้จ่ายสุขภาพที่เดิมประชาชนต้องจ่ายเอง ได้มากถึง 9,900 บาทต่อครัวเรือนคิดเป็นงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี และขณะนี้ได้จัดสรรงบประมาณในส่วนของกองทุนเพื่อดูแลบริการทดแทนไต ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไว้แล้วจำนวน 1,455 ล้านบาท ตั้งเป้าดูแลผู้ป่วยไตวายทั้งในส่วนของการล้างไต เปลี่ยนไตในปี 2553 ประมาณ 60,000 ราย”นพ.ปัญญา กล่าว