บอร์ดสปสช.เสนอของบกองทุนหลักประกันสุขภาพปี 54 เพิ่มขึ้น 2.6 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมงบเหมาจ่ายรายหัวปี 54 เพิ่มเป็น 2,814.75 บาท รวมถึงงบเอดส์ ไตวาย โรคเรื้อรัง และเตรียมเพิ่มงบบริการผู้ป่วยจิตเวช ยึดหลักการพอเพียงแก่การให้บริการในระบบ รองรับบริการสุขภาพที่จำเป็น เพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีปัญหา เช่น ทันตกรรม จิตเวช การเข้าถึงยา ทั้งยาแพง ยาที่จะทำ CL ยาและวัคซีนสำหรับหวัด 2009
วันที่ 24 ธันวาคม 2552 ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนองบประมาณเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2554
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2554 เตรียมเสนองบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุม งบเหมาจ่ายรายหัว งบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง งบควบคุมป้องกันรักษาโรคเรื้อรัง และที่เพิ่มรายการใหม่คือ งบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช งบทั้ง 5 รายการในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2554 จำนวนทั้งสิ้น 144,287.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวน 26,318.45 ล้านบาท ครอบคลุมประชากร 47.99 ล้านคน การของบประมาณเพิ่มขึ้นนั้น ยึดหลักการว่า ต้องพอเพียงแก่การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไม่ให้มีการอุดหนุนข้ามระบบกับระบบประกันสุขภาพอื่น เน้นหนักในการสนับสนุนการเพิ่มคุณภาพบริการ รองรับบริการที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในระยะยาว คำนึงถึงการเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีปัญหา เช่น ทันตกรรม ผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น ซึ่งงบที่เพิ่มขึ้นจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวว่า การที่เสนอของบประมาณเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจาการให้บริการที่สูงกว่าที่ได้รับงบประมาณในอดีตมาโดยตลอด นอกจากนั้น ในปี 2554 ยังเพิ่มงบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวชด้วย ในส่วนของงบรายหัวนั้น เตรียมเสนอในอัตรา 2,814.75 บาทต่อประชากร ขอเพิ่มจากปี 2553 จำนวน 413.42 บาท ซึ่งจะเพิ่มงบประมาณสำหรับไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ (H1N1) ทั้งวัคซีนและยาโอเซลทามิเวียร์ แยกงบทันตกรรม เพิ่มการเข้าถึงยาพ่นผู้ป่วยหอบหืด ยาขับเหล็กผู้ป่วยธาลัสซีเมีย การผ่าตัดต้อกระจก การรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ปรับการปรับปรุงบัญชียาหลักเป็น ยาที่มีความจำเป็นและยาที่มีปัญหาเข้าถึง ซึ่งจะครอบคลุมยาบัญชีย่อย จ ยาที่จัดทำ CL ยาสำหรับ H1N1 และอนาคตจะครอบคลุมยากำพร้า
ศ.ดร.อัมมาร กล่าวต่อว่า สำหรับงบผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในปี 2554 นั้น ของบประมาณ 3,400.27 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายผู้รับยาสะสม 155,000 ราย อัตราผู้ป่วยรับยาสูตรดื้อยา 7 % งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4,097.55 ล้านบาท สำหรับผู้ป่วยในระบบประมาณ 18,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2554 ประมาณ ๔,๖๐๘ คน งบควบคุมป้องกันรักษาโรคเรื้อรัง 1,162.99 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการป้องกันผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนทุกราย เพื่อชะลอไม่ให้เกิดโรครุนแรงขึ้น และบริการ รักษาด้านตาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และงบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช ที่จะเพิ่มขึ้นใหม่นั้น จำนวน 528.26 ล้านบาท ครอบคลุมค่าบริการผู้ป่วยนอก สำหรับโรคจิต สมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต กลุ่มที่มีความบกพร่องทางการพัฒนา(PDD) อารมณ์แปรปรวนและโรคซึมเศร้าที่มีอาการจิตร่วม
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า งบประมาณที่สูงขึ้นจะมีการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพโรคที่มีค่าใชจ่ายสูง เช่น การผ่าตัดหัวใจ เฉพาะ class IV (โรคหัวใจที่มีความยุ่งยากในการผ่าตัด) โรคที่เกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดของหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การให้มอร์ฟีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน การให้สารเมทาโดนในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น (อาทิ เฮโรอีน) ที่สมัครใจ เป้าหมาย 1,632 ราย บริการตรวจสุขภาพช่องปาก/ดูแลช่องปากและให้คำแนะนำ การให้ฟลูออไรค์เฉพาะที่ ทาฟลูออไรค์วานิช การเคลือบหลุมร่องฟัน การขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟัน ค่าฟันปลอมสำหรับผู้ที่ต้องใส่ฟันปลอมตามมาตรฐานทางทันตกรรม ขณะที่หน่วยบริการเองก็จะมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นและสามารถบริหารจัดการที่ดีให้ประชาชน ทั้งการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็น การปรับปรุงอาคารสถานที่ เช่น ทางลาดสำหรับคนพิการ และที่สำคัญคือ รักษาบุคลากรให้อยู่ในระบบได้ จากการจัดการเรื่องค่าตอบแทนที่มากขึ้น
“ทั้งนี้งบประมาณที่เตรียมขอเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากพบว่ามีผู้ป่วยนอกใช้บริการมากถึง 39,020,867 คน หรือ 140,877313 ครั้ง(ในอัตราการรับริการ 2.98 ครั้ง/คน) ขณะที่ผู้ป่วยในมีจำนวน 5,205,544 คนหรือ 21,174,002 ครั้ง ขณะที่มีผู้ป่วยได้รับการส่งต่อมีจำนวน 3,162,495 คน และมีประชาชนในโครงการได้รับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเฉลี่ยปีละ 2 ล้านครั้ง จะเห็นได้ว่า จำนวนทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยส่งต่อมีจำนวนมากขึ้นซึ่งทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญในการจัดทำของบประมาณเหมาจ่ายรายหัวปี 2554 เพิ่มขึ้น” นพ.แพทย์วินัยกล่าว
วันที่ 24 ธันวาคม 2552 ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งในที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนองบประมาณเพื่อการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี 2554
รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2554 เตรียมเสนองบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุม งบเหมาจ่ายรายหัว งบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง งบควบคุมป้องกันรักษาโรคเรื้อรัง และที่เพิ่มรายการใหม่คือ งบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช งบทั้ง 5 รายการในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2554 จำนวนทั้งสิ้น 144,287.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวน 26,318.45 ล้านบาท ครอบคลุมประชากร 47.99 ล้านคน การของบประมาณเพิ่มขึ้นนั้น ยึดหลักการว่า ต้องพอเพียงแก่การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไม่ให้มีการอุดหนุนข้ามระบบกับระบบประกันสุขภาพอื่น เน้นหนักในการสนับสนุนการเพิ่มคุณภาพบริการ รองรับบริการที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในระยะยาว คำนึงถึงการเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีปัญหา เช่น ทันตกรรม ผู้ป่วยจิตเวช เป็นต้น ซึ่งงบที่เพิ่มขึ้นจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กล่าวว่า การที่เสนอของบประมาณเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจาการให้บริการที่สูงกว่าที่ได้รับงบประมาณในอดีตมาโดยตลอด นอกจากนั้น ในปี 2554 ยังเพิ่มงบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวชด้วย ในส่วนของงบรายหัวนั้น เตรียมเสนอในอัตรา 2,814.75 บาทต่อประชากร ขอเพิ่มจากปี 2553 จำนวน 413.42 บาท ซึ่งจะเพิ่มงบประมาณสำหรับไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ (H1N1) ทั้งวัคซีนและยาโอเซลทามิเวียร์ แยกงบทันตกรรม เพิ่มการเข้าถึงยาพ่นผู้ป่วยหอบหืด ยาขับเหล็กผู้ป่วยธาลัสซีเมีย การผ่าตัดต้อกระจก การรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ปรับการปรับปรุงบัญชียาหลักเป็น ยาที่มีความจำเป็นและยาที่มีปัญหาเข้าถึง ซึ่งจะครอบคลุมยาบัญชีย่อย จ ยาที่จัดทำ CL ยาสำหรับ H1N1 และอนาคตจะครอบคลุมยากำพร้า
ศ.ดร.อัมมาร กล่าวต่อว่า สำหรับงบผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในปี 2554 นั้น ของบประมาณ 3,400.27 ล้านบาท ตั้งเป้าหมายผู้รับยาสะสม 155,000 ราย อัตราผู้ป่วยรับยาสูตรดื้อยา 7 % งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 4,097.55 ล้านบาท สำหรับผู้ป่วยในระบบประมาณ 18,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2554 ประมาณ ๔,๖๐๘ คน งบควบคุมป้องกันรักษาโรคเรื้อรัง 1,162.99 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการป้องกันผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนทุกราย เพื่อชะลอไม่ให้เกิดโรครุนแรงขึ้น และบริการ รักษาด้านตาสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และงบบริการสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช ที่จะเพิ่มขึ้นใหม่นั้น จำนวน 528.26 ล้านบาท ครอบคลุมค่าบริการผู้ป่วยนอก สำหรับโรคจิต สมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิต กลุ่มที่มีความบกพร่องทางการพัฒนา(PDD) อารมณ์แปรปรวนและโรคซึมเศร้าที่มีอาการจิตร่วม
ด้านนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า งบประมาณที่สูงขึ้นจะมีการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพโรคที่มีค่าใชจ่ายสูง เช่น การผ่าตัดหัวใจ เฉพาะ class IV (โรคหัวใจที่มีความยุ่งยากในการผ่าตัด) โรคที่เกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดของหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การให้มอร์ฟีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน การให้สารเมทาโดนในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดในกลุ่มฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น (อาทิ เฮโรอีน) ที่สมัครใจ เป้าหมาย 1,632 ราย บริการตรวจสุขภาพช่องปาก/ดูแลช่องปากและให้คำแนะนำ การให้ฟลูออไรค์เฉพาะที่ ทาฟลูออไรค์วานิช การเคลือบหลุมร่องฟัน การขูดหินน้ำลายและทำความสะอาดฟัน ค่าฟันปลอมสำหรับผู้ที่ต้องใส่ฟันปลอมตามมาตรฐานทางทันตกรรม ขณะที่หน่วยบริการเองก็จะมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้นและสามารถบริหารจัดการที่ดีให้ประชาชน ทั้งการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็น การปรับปรุงอาคารสถานที่ เช่น ทางลาดสำหรับคนพิการ และที่สำคัญคือ รักษาบุคลากรให้อยู่ในระบบได้ จากการจัดการเรื่องค่าตอบแทนที่มากขึ้น
“ทั้งนี้งบประมาณที่เตรียมขอเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากพบว่ามีผู้ป่วยนอกใช้บริการมากถึง 39,020,867 คน หรือ 140,877313 ครั้ง(ในอัตราการรับริการ 2.98 ครั้ง/คน) ขณะที่ผู้ป่วยในมีจำนวน 5,205,544 คนหรือ 21,174,002 ครั้ง ขณะที่มีผู้ป่วยได้รับการส่งต่อมีจำนวน 3,162,495 คน และมีประชาชนในโครงการได้รับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินเฉลี่ยปีละ 2 ล้านครั้ง จะเห็นได้ว่า จำนวนทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยส่งต่อมีจำนวนมากขึ้นซึ่งทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญในการจัดทำของบประมาณเหมาจ่ายรายหัวปี 2554 เพิ่มขึ้น” นพ.แพทย์วินัยกล่าว