สช.เตรียมยื่นฟ้องนกแอร์ลอยแพกรรมการที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการใช้สิทธิฯ ด้านสุขภาพ คณะสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ สช.รวม 44 ราย เหตุออกเดินทางไม่ตรงเวลาและยกเลิกการเดินทางส่งผลเสียต่อการประชุมและการลงปฏิบัติงานในพื้นที่ซึ่งต้องยกเลิกไป คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 9 ล้านบาท
สืบเนื่องจากการที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้วางแผนจัดการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ และเตรียมลงปฏิบัติงานในพื้นที่ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2553 ณ จังหวัดสกลนคร เพื่อพิจารณาแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวง แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ม.12 เรื่องสิทธิในการปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวรวมไปถึงการแสวงหาแนวทางพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (palliative care) ที่โรงพยาบาลสกลนคร และจัดกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย : บำบัดทุกข์ บำรุงจิต ที่อโรคยาศาล วัดคำประมง” และลงพื้นที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประชาชนในเครือข่ายอินแปง จ.สกลนคร โดยโครงการนี้เตรียมงานมาเป็นเวลาหลายเดือน มีกรรมการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน เตรียมลงพื้นที่เกือบ 50 คน
นางพลินี เสริมสินสิริ ผู้ชำนาญการด้านการสื่อสารทางสังคม สช. เปิดเผยว่า ได้เลือกใช้การเดินทางไปโดยสายการบินนกแอร์ โดยจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าผ่านบริษัทจัดจำหน่ายตั๋ว มีกำหนดเดินทางไปจาก กทม.ด้วยสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD9402 ออกจาก กทม. วันที่ 3 มี.ค. เวลา 09.00น. แต่เมื่อถึงวันที่ 2 มี.ค. 2553 เวลาประมาณ 16.00 น. ซึ่งใกล้จะถึงเวลาเดินทาง เจ้าหน้าที่ของสายการบินนกแอร์โทรมาแจ้งยกเลิกเที่ยวบินในวันที่ 3 มีค. 2553 โดยให้เหตุผลว่า “นักบินไม่บินให้” ทาง สช. ไม่สามารถเปลี่ยนแผนการเดินทางด้วยวิธีอื่นได้ทันเวลา จึงจำเป็นต้องปรับแผนการทำงานโดยตัดกิจกรรมของสื่อมวลชนในวันที่ 3 มี.ค.2553 ออกทั้งหมด เหลือเฉพาะกิจกรรมต่างๆในวันที่ 4 มี.ค.2553 เพียงวันเดียว โดยจำเป็นต้องปรับเวลาเดินทางใหม่อย่างกระทันหันไปเป็นที่ยวบินที่ DD9402 วันที่ 4 มี.ค.2553 เวลา 9.00 น. แต่เมื่อคณะเดินทางไปรอขึ้นเครื่องจะเดินทางจนกระทั่งเวลาเกือบ 09.30 น.เจ้าหน้าที่สายการบินแจ้งให้ทราบว่าเครื่องมีการล่าช้าเนื่องจากรอช่างจากการบินไทยซึ่งต้องบินไปด้วย และทยอยแจกคูปองอาหารให้แก่ผู้โดยสาร พร้อมทั้งยืนยันว่าเวลาประมาณ 10.20 น.จะออกเดินทางได้ แต่เมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็ยังไม่สามารถออกเดินทางได้ บนจอภาพแสดงเวลาเดินทางระบุเวลาเดินทางเปลี่ยนไปเป็น 11.00 น. ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็ยังไม่สามารถออกเดินทางได้อีก เวลาผ่านไปอีกกว่าครึ่งชั่วโมง กัปตันจึงปรากฏตัวและเจ้าหน้าที่เริ่มทยอยเชิญผู้โดยสารขึ้นเครื่องซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา 12.00 น. ทางคณะจึงจำเป็นตัดสินใจยกเลิกการเดินทาง เนื่องจากล่าช้ากว่ากำหนดไปมาก ไม่มีเวลาเพียงพอจะปฏิบัติงานตามแผนงาน เพราะมีกำหนดการเดินทางกลับจาก จ.สกลนคร ไปขึ้นเครื่องบินที่จ.อุดรธานีตั้งแต่เวลา 15.30 น.เพื่อโดยสารการบินไทย เที่ยวบิน ที่ TG015 ในวันเดียวกันนั้น
ด้าน นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อธิบดีกรมควบคุมประพฤติ หนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิฯด้านสุขภาพ ซึ่งร่วมเดินทางไปด้วย กล่าวว่า การยกเลิกเที่ยวบินและความล่าช้าของสายการบินนกแอร์ในครั้งนี้ทำความเสียหายอย่างมาก เพราะได้วางแผนการไปทำงานในพื้นที่ไว้แล้ว โดยไม่รับนัดทำงานอื่น แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถไปทำงานตามแผนได้ทันเวลา
“เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ผมก็เดินทางไปไม่ได้ มาวันนี้ผมต้องมาเสียเวลานั่งอยู่ที่สนามบิน 3 ชั่วโมง ด้วยเงินเดือนที่เป็นภาษีของประชาชน แต่ไม่สามารถทำงานที่เป็นประโยชน์อะไรได้เลย” นายชาญเชาวน์ กล่าว
ขณะที่ นพ.ชาตรี เจริญศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ทำความเสียหายให้กับสำนักงาน คณะกรรมการ หน่วยงานองค์กรในพื้นที่ที่เตรียมงานต่างๆ ไว้หมดแล้ว รวมทั้งสื่อมวลชนที่ร่วมไปทำงานอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้ปรึกษากับผู้บริหารแล้วกำลังเตรียมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสายการบินนกแอร์ โดยใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นเครื่องมือต่อไป
“ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการซึ่งต้องเสียไป และจัดการใหม่ ทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางฯลฯ แต่ยังรวมถึง “ค่าเสียโอกาส” ของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายกว่า 20 ราย ณ อโรคยาศาล วัดคำประมง ซึ่ง สช. ประสานสื่อโทรทัศน์ 3 ช่อง สื่อสิ่งพิมพ์กว่า 10 ฉบับ ไปทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวอันงดงามของการเยียวยาด้วยหัวใจมนุษย์ ซึ่งหลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม เป็นผู้ริเริ่มโครงการจิตอาสา ตระเตรียมให้ผู้ป่วย ญาติ และอาสาสมัคร ได้สื่อสารสู่สังคม แต่เมื่อเที่ยวบินมีการยกเลิกและเลื่อนออกไป สื่อจึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงเป็นการตัดโอกาสของผู้ป่วยเหล่านี้อย่างน่าเสียดาย หลายคนอาจไม่มีชีวิตอยู่ได้นานนัก อีกทั้งกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิฯหลายท่าน ซึ่งมิอาจเดินทางมาได้ ก็ทำให้การประชุมหารือแนวทางปฏิบัติตาม ม.12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จากไปอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องยกเลิกการประชุมไป ทำให้การทำงานที่จะสร้างประโยชน์แก่สังคมต้องสูญเสียไปด้วย จากการประเมินเบื้องต้นทาง สช.จะฟ้องค่าเสียหายจากนกแอร์ 9 ล้านบาท” นพ.ชาตรี กล่าว
สืบเนื่องจากการที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้วางแผนจัดการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ และเตรียมลงปฏิบัติงานในพื้นที่ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2553 ณ จังหวัดสกลนคร เพื่อพิจารณาแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวง แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ม.12 เรื่องสิทธิในการปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมีแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวรวมไปถึงการแสวงหาแนวทางพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (palliative care) ที่โรงพยาบาลสกลนคร และจัดกิจกรรม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย : บำบัดทุกข์ บำรุงจิต ที่อโรคยาศาล วัดคำประมง” และลงพื้นที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประชาชนในเครือข่ายอินแปง จ.สกลนคร โดยโครงการนี้เตรียมงานมาเป็นเวลาหลายเดือน มีกรรมการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน เตรียมลงพื้นที่เกือบ 50 คน
นางพลินี เสริมสินสิริ ผู้ชำนาญการด้านการสื่อสารทางสังคม สช. เปิดเผยว่า ได้เลือกใช้การเดินทางไปโดยสายการบินนกแอร์ โดยจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าผ่านบริษัทจัดจำหน่ายตั๋ว มีกำหนดเดินทางไปจาก กทม.ด้วยสายการบินนกแอร์ เที่ยวบินที่ DD9402 ออกจาก กทม. วันที่ 3 มี.ค. เวลา 09.00น. แต่เมื่อถึงวันที่ 2 มี.ค. 2553 เวลาประมาณ 16.00 น. ซึ่งใกล้จะถึงเวลาเดินทาง เจ้าหน้าที่ของสายการบินนกแอร์โทรมาแจ้งยกเลิกเที่ยวบินในวันที่ 3 มีค. 2553 โดยให้เหตุผลว่า “นักบินไม่บินให้” ทาง สช. ไม่สามารถเปลี่ยนแผนการเดินทางด้วยวิธีอื่นได้ทันเวลา จึงจำเป็นต้องปรับแผนการทำงานโดยตัดกิจกรรมของสื่อมวลชนในวันที่ 3 มี.ค.2553 ออกทั้งหมด เหลือเฉพาะกิจกรรมต่างๆในวันที่ 4 มี.ค.2553 เพียงวันเดียว โดยจำเป็นต้องปรับเวลาเดินทางใหม่อย่างกระทันหันไปเป็นที่ยวบินที่ DD9402 วันที่ 4 มี.ค.2553 เวลา 9.00 น. แต่เมื่อคณะเดินทางไปรอขึ้นเครื่องจะเดินทางจนกระทั่งเวลาเกือบ 09.30 น.เจ้าหน้าที่สายการบินแจ้งให้ทราบว่าเครื่องมีการล่าช้าเนื่องจากรอช่างจากการบินไทยซึ่งต้องบินไปด้วย และทยอยแจกคูปองอาหารให้แก่ผู้โดยสาร พร้อมทั้งยืนยันว่าเวลาประมาณ 10.20 น.จะออกเดินทางได้ แต่เมื่อถึงเวลาดังกล่าวก็ยังไม่สามารถออกเดินทางได้ บนจอภาพแสดงเวลาเดินทางระบุเวลาเดินทางเปลี่ยนไปเป็น 11.00 น. ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็ยังไม่สามารถออกเดินทางได้อีก เวลาผ่านไปอีกกว่าครึ่งชั่วโมง กัปตันจึงปรากฏตัวและเจ้าหน้าที่เริ่มทยอยเชิญผู้โดยสารขึ้นเครื่องซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา 12.00 น. ทางคณะจึงจำเป็นตัดสินใจยกเลิกการเดินทาง เนื่องจากล่าช้ากว่ากำหนดไปมาก ไม่มีเวลาเพียงพอจะปฏิบัติงานตามแผนงาน เพราะมีกำหนดการเดินทางกลับจาก จ.สกลนคร ไปขึ้นเครื่องบินที่จ.อุดรธานีตั้งแต่เวลา 15.30 น.เพื่อโดยสารการบินไทย เที่ยวบิน ที่ TG015 ในวันเดียวกันนั้น
ด้าน นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ อธิบดีกรมควบคุมประพฤติ หนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิฯด้านสุขภาพ ซึ่งร่วมเดินทางไปด้วย กล่าวว่า การยกเลิกเที่ยวบินและความล่าช้าของสายการบินนกแอร์ในครั้งนี้ทำความเสียหายอย่างมาก เพราะได้วางแผนการไปทำงานในพื้นที่ไว้แล้ว โดยไม่รับนัดทำงานอื่น แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถไปทำงานตามแผนได้ทันเวลา
“เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ผมก็เดินทางไปไม่ได้ มาวันนี้ผมต้องมาเสียเวลานั่งอยู่ที่สนามบิน 3 ชั่วโมง ด้วยเงินเดือนที่เป็นภาษีของประชาชน แต่ไม่สามารถทำงานที่เป็นประโยชน์อะไรได้เลย” นายชาญเชาวน์ กล่าว
ขณะที่ นพ.ชาตรี เจริญศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ทำความเสียหายให้กับสำนักงาน คณะกรรมการ หน่วยงานองค์กรในพื้นที่ที่เตรียมงานต่างๆ ไว้หมดแล้ว รวมทั้งสื่อมวลชนที่ร่วมไปทำงานอีกเป็นจำนวนมาก จึงได้ปรึกษากับผู้บริหารแล้วกำลังเตรียมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสายการบินนกแอร์ โดยใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นเครื่องมือต่อไป
“ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการซึ่งต้องเสียไป และจัดการใหม่ ทั้งค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางฯลฯ แต่ยังรวมถึง “ค่าเสียโอกาส” ของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายกว่า 20 ราย ณ อโรคยาศาล วัดคำประมง ซึ่ง สช. ประสานสื่อโทรทัศน์ 3 ช่อง สื่อสิ่งพิมพ์กว่า 10 ฉบับ ไปทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวอันงดงามของการเยียวยาด้วยหัวใจมนุษย์ ซึ่งหลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม เป็นผู้ริเริ่มโครงการจิตอาสา ตระเตรียมให้ผู้ป่วย ญาติ และอาสาสมัคร ได้สื่อสารสู่สังคม แต่เมื่อเที่ยวบินมีการยกเลิกและเลื่อนออกไป สื่อจึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงเป็นการตัดโอกาสของผู้ป่วยเหล่านี้อย่างน่าเสียดาย หลายคนอาจไม่มีชีวิตอยู่ได้นานนัก อีกทั้งกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิฯหลายท่าน ซึ่งมิอาจเดินทางมาได้ ก็ทำให้การประชุมหารือแนวทางปฏิบัติตาม ม.12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จากไปอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องยกเลิกการประชุมไป ทำให้การทำงานที่จะสร้างประโยชน์แก่สังคมต้องสูญเสียไปด้วย จากการประเมินเบื้องต้นทาง สช.จะฟ้องค่าเสียหายจากนกแอร์ 9 ล้านบาท” นพ.ชาตรี กล่าว