“จุรินทร์” ตั้งปลัดกระทรวงศึกษา เป็นประธานกรรมการประเมินคุณภาพ กศน.ระดับชาติ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้เรียนต่อในระดับสูงขึ้น ด้านชินภัทร เริ่มประเมินปีการศึกษา 2553
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตนได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ดังนี้ นายชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. 3. ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. นายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการ กศน. นายวิมล จำนงบุตร รองเลขาธิการ กศน. นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้อำนวยชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน.
ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการมีหน้าที่กำหนดนโยบายและให้คำปรึกษาในการดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ให้มีคุณภาพมาตรฐานและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยในศูนย์จัดสอบทุกแห่งทั่วประเทศ
ส่วนรายชื่อคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย นายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการ กศน. ประธานกรรมการ นายวิมล จำนงบุตร รองเลขาธิการ กศน. รองประธานกรรมการ นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน. รองประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย นายวิวัฒน์ เลาหบุตร์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) น.ส.มิ่งขวัญ คงเจริญ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผู้แทนจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2 คน นางศุทธินี งามเขตต์ สำนักงาน กศน. นายกษิพัฒ ภูลังกา สำนักงาน กศน. นางพรทิพย์ กล้ารบ สำนักงาน กศน. นางพรรณทิพา ชินชัชวาล สำนักงาน กศน. น.ส.เบ็ญจวรรณ อำไพศรี สำนักงาน กศน. และนายชัยพัฒน์ พันธุ์วัฒนสกุล สำนักงาน กศน.
โดยคณะกรรมการดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ มีหน้าที่ จัดทำและพัฒนาแบบทดสอบประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติให้มีคุณภาพตรงตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร วางระบบการดำเนินงานสอบครบวงจรและป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบ พัฒนาระบบบริหารการสอบโดยใช้ e-Exam ติดตามผลการดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
นายชินภัทร กล่าวว่า การจัดการศึกษานอกระบบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาเทียบเคียงกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่พ้นวัยเรียนภาคบังคับ โดยผู้ที่จบจาก กศน.จะมีใบรับรองขั้นพื้นฐาน เพื่อประโยชน์ในการเรียนต่อระดับสูงขึ้น ดังนั้น การวัดและประเมินคุณภาพ กศน.จะต้องมีลักษณะเฉพาะ ไม่ใช่วัดแบบเด็กในระบบ อย่างไรก็ตาม คงต้องไปปรึกษาถึงเกณฑ์การประเมินผู้เรียน กศน.ในระดับขั้นพื้นฐานต่อไป และการวางระบบการสอบ เพื่ออำนวยความสะกวดแก่ผู้สอบให้เดินทางไปสอบที่ศูนย์สอบ
“เราจะส่งหลักสูตร กศน.ให้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)ไปทำต้นแบบข้อสอบ ม.ต้นและม.ปลาย ซึ่ง กศน.เป็นคนละวัยกับเด็กในระบบ อาจจะสอบความรู้ส่วนหนึ่ง ประเมินจากประสบการณ์อีกส่วนหนึ่ง โดยจะเริ่มประเมินในปีการศึกษา 2553 ใน 8 กลุ่มสาระวิชา”