แพทยสภาเตรียมออกประกาศหลักเกณฑ์วินิจฉัยสมองตายคาดบังคับใช้ได้ ธ.ค.นี้ ชี้เป็นแนวทางให้หมอกล้าวินิจฉัยสมองตายก่อนนำอวัยวะปลูกถ่ายให้ผู้รอบริจาคมีชีวิตใหม่ ขณะที่แพทย์ไม่ต้องกลัวถูกฟ้องร้อง รมว.ยุติธรรม แนะผลักดันเป็นกฎหมายเหตุข้อบังคับแพทยสภาบังคับเฉพาะแพทย์ไม่ครอบคลุมทนาย ผู้พิพากษา เร่งทำให้สังคมยอมรับ
วันที่ 13 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวในพิธีเปิดประชุมสัมมนากฎหมายทางการแพทย์เรื่อง “สมองตาย : การตายตามกฎหมายที่แพทย์วินิจฉัยและนักกฎหมายควรทราบ” ว่า ปัญหาการตายที่ทางการแพทย์เรียกว่าสมองตายมีการถกเถียงเป็นปัญหาทั้งในทางกฎหมายและวงการแพทย์มานานแล้ว และยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากทางกฎหมายยังไม่ยอมรับว่าสมองตายถือเป็นการตายของบุคคล และถือว่าบุคคลนั้นยังหายใจและหัวใจเต้นอยู่เท่ากับยังมีชีวิตอยู่ เมื่อมุมมองยังไม่เป็นไปในทางเดียวกัน ทำให้แพทย์เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องและกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายได้
“อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม และประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตาย เป็นเพียงข้อบังคับที่ใช้ได้กับวิชาชีพแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในภาพรวม กับทนาย ผู้พิพากษา หรือวิชาชีพอื่นได้ ดังนั้น แม้ว่าแพทย์จะปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภาไม่ถือว่าผิดจริยธรรม แต่อาจผิดกฎหมายได้ แพทย์จึงไม่ได้ปลอดภัย 100% ดังนั้น แพทยสภาควรจะต่อยอด โดยการผลักดันให้เกิดกฎหมายเพื่อนำบังคับใช้ เพราะไม่ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เมื่อมีกฎหมายก็ต้องปฏิบัติตามและอยู่ภายใต้กฎหมาย” นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้อาจจะต้องมีการระดมความคิดเห็นทุกด้าน ทุกแง่ ทุกมุม ให้มากขึ้น เพื่อให้สังคม ทนาย บุคลากรทางด้านกฎหมายให้อีกฝ่ายยอมรับ เพราะหากมีการร้องเรียนเป็นคดีความขึ้น นำเรื่องเข้าพิจารณาในศาล ซึ่งการตีความเป็นการวินิจฉัยส่วนบุคคล ศาลชั้นต้นอาจวินิจฉัยว่าไม่ผิดกฎหมาย เมื่อญาติอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อาจจะวินิจฉัยว่า ผิดกฎหมายและต้องสู้คดีไปถึงขั้นฎีกา แม้สุดท้ายแพทย์จะไม่ผิดเพราะทำตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา แต่ก็ถือว่าทำให้ต้องเสียเวลาในการต่อสู้คดี
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา คนที่ 1 กล่าวว่า คณะกรรมการแพทยสภาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายและเสนอกฎหมายรับรองการตาย โดยมีการกำหนดคำจำกัดความของการตายของบุคคล ไว้ในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ว่าการตายของบุคคลหมายถึง บุคคลอยู่ในสภาวะที่ระบบการไหลเวียนเลือดและระบบการหายใจหยุดทำงานโดยไม่สามารถกลับคืนได้อีก หรืออยู่ในสภาวะสองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป โดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 ทั้งนี้ได้มีการออกประกาศแพทยสภา เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตาย ซึ่งคณะกรรมการแพทยสภาได้พิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 โดยจะนำความคิดเห็นครั้งนี้ รวบรวมข้อมูลนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการแพทยสภาในเดือนธันวาคม เพื่อให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ต่อไป
นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการที่มีการปรับปรุง มีประเด็นสำคัญ เช่น การวินิจฉัยสมองตายจะทำได้ในสภาวะและเงื่อนไข เช่น ผู้ป่วยต้องไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ซึ่งรู้แน่ชัดแล้วว่าไม่มีหนทางเยียวยาได้ โดยหลักเกณฑ์การตรวจต้องมีการทดสอบการไม่หายใจ โดยการหยุดเครื่องช่วยหายใจนานไม่น้อยกว่า 10 นาที สังเกตว่าไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือหน้าท้อง และการวินิจฉัยสมองตายให้กระทำโดยองค์คณะของแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยผู้ทำการทดสอบและลงนามรับรองไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นประสาทศัลยแพทย์หรือประสาทแพทย์แต่ให้แพทย์ที่ร่วมดูแลเป็นผู้ทำการทดสอบและลงนามรับรองได้ และมีการกำหนดระยะเวลาการตรวจซ้ำ 2 ครั้งห่างกันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เป็นต้น
“ที่ผ่านมาการจำกัดความเรื่องการตายของบุคคลไม่เคยมีการบัญญัติในกฎหมาย มีเพียงกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ที่กำหนดว่าผู้รับรองการตายคือแพทย์ ซึ่งแพทยสภาได้กำหนดให้แพทย์วินิจฉัยการตายโดยเกณฑ์สมองตายตั้งแต่ปี 2532 และมีการปรับปรุงในปี 2539 ซึ่งยังไม่ได้เป็นกฎหมาย ขณะที่ในต่างประเทศมีการบัญญัติกฎหมายนี้แล้ว ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ เพื่อให้การวินิจฉัยการตายของแพทย์เป็นไปตามหลักสากลมากขึ้นและไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งทางกฎหมาย รวมถึงให้ผู้ที่สมองตายได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สามารถบริจาคอวัยวะนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้รอรับการบริจาคต่อชีวิตให้กับผู้อื่น” นพ.อำนาจกล่าว
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ประกาศฯ ฉบับนี้มีเหตุมาจากการที่เคยมีกรณีการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลวชิระสมุทรปราการ ที่นำไตของผู้สมองตายออกไปขณะที่ยังไม่ตายหรือไม่ ซึ่งการที่แพทย์จะฆ่าผู้ป่วยเพื่อนำอวัยวะไปเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด แต่อาจเกิดความผิดพลาดขั้นตอนการดำเนินการไม่ถูกต้อง โดยแพทยสภาได้ลงโทษโดยยึดใบอนุญาต ซึ่งขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในชั้นของศาลฎีกา อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์นั้นทำให้แพทย์ไม่กล้าที่จะนำอวัยวะของผู้สมองตายไปปลูกถ่ายอวัยวะให้กับผู้รับบริจาค ดังนั้น หากไม่ออกประกาศฯฉบับนี้ก็จะยังทำให้แพทย์มีความหวาดกลัวอยู่ และทำให้ผู้รอรับบริจาคที่ขึ้นทะเบียนมากว่า 2,000 คน และผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนอีกนับหมื่นก็อาจต้องเสียโอกาส ซึ่งการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น การปลูกถ่ายไตนั้น จะช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น ลดภาระการดูแลและค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก
วันที่ 13 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวในพิธีเปิดประชุมสัมมนากฎหมายทางการแพทย์เรื่อง “สมองตาย : การตายตามกฎหมายที่แพทย์วินิจฉัยและนักกฎหมายควรทราบ” ว่า ปัญหาการตายที่ทางการแพทย์เรียกว่าสมองตายมีการถกเถียงเป็นปัญหาทั้งในทางกฎหมายและวงการแพทย์มานานแล้ว และยังไม่ได้ข้อยุติเนื่องจากทางกฎหมายยังไม่ยอมรับว่าสมองตายถือเป็นการตายของบุคคล และถือว่าบุคคลนั้นยังหายใจและหัวใจเต้นอยู่เท่ากับยังมีชีวิตอยู่ เมื่อมุมมองยังไม่เป็นไปในทางเดียวกัน ทำให้แพทย์เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องและกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายได้
“อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม และประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตาย เป็นเพียงข้อบังคับที่ใช้ได้กับวิชาชีพแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในภาพรวม กับทนาย ผู้พิพากษา หรือวิชาชีพอื่นได้ ดังนั้น แม้ว่าแพทย์จะปฏิบัติตามข้อบังคับแพทยสภาไม่ถือว่าผิดจริยธรรม แต่อาจผิดกฎหมายได้ แพทย์จึงไม่ได้ปลอดภัย 100% ดังนั้น แพทยสภาควรจะต่อยอด โดยการผลักดันให้เกิดกฎหมายเพื่อนำบังคับใช้ เพราะไม่ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เมื่อมีกฎหมายก็ต้องปฏิบัติตามและอยู่ภายใต้กฎหมาย” นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้อาจจะต้องมีการระดมความคิดเห็นทุกด้าน ทุกแง่ ทุกมุม ให้มากขึ้น เพื่อให้สังคม ทนาย บุคลากรทางด้านกฎหมายให้อีกฝ่ายยอมรับ เพราะหากมีการร้องเรียนเป็นคดีความขึ้น นำเรื่องเข้าพิจารณาในศาล ซึ่งการตีความเป็นการวินิจฉัยส่วนบุคคล ศาลชั้นต้นอาจวินิจฉัยว่าไม่ผิดกฎหมาย เมื่อญาติอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อาจจะวินิจฉัยว่า ผิดกฎหมายและต้องสู้คดีไปถึงขั้นฎีกา แม้สุดท้ายแพทย์จะไม่ผิดเพราะทำตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา แต่ก็ถือว่าทำให้ต้องเสียเวลาในการต่อสู้คดี
นพ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา คนที่ 1 กล่าวว่า คณะกรรมการแพทยสภาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายและเสนอกฎหมายรับรองการตาย โดยมีการกำหนดคำจำกัดความของการตายของบุคคล ไว้ในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ว่าการตายของบุคคลหมายถึง บุคคลอยู่ในสภาวะที่ระบบการไหลเวียนเลือดและระบบการหายใจหยุดทำงานโดยไม่สามารถกลับคืนได้อีก หรืออยู่ในสภาวะสองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป โดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 ทั้งนี้ได้มีการออกประกาศแพทยสภา เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตาย ซึ่งคณะกรรมการแพทยสภาได้พิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 โดยจะนำความคิดเห็นครั้งนี้ รวบรวมข้อมูลนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการแพทยสภาในเดือนธันวาคม เพื่อให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ต่อไป
นพ.อำนาจ กล่าวต่อว่า สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการที่มีการปรับปรุง มีประเด็นสำคัญ เช่น การวินิจฉัยสมองตายจะทำได้ในสภาวะและเงื่อนไข เช่น ผู้ป่วยต้องไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ซึ่งรู้แน่ชัดแล้วว่าไม่มีหนทางเยียวยาได้ โดยหลักเกณฑ์การตรวจต้องมีการทดสอบการไม่หายใจ โดยการหยุดเครื่องช่วยหายใจนานไม่น้อยกว่า 10 นาที สังเกตว่าไม่มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกหรือหน้าท้อง และการวินิจฉัยสมองตายให้กระทำโดยองค์คณะของแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยผู้ทำการทดสอบและลงนามรับรองไม่กำหนดว่าจะต้องเป็นประสาทศัลยแพทย์หรือประสาทแพทย์แต่ให้แพทย์ที่ร่วมดูแลเป็นผู้ทำการทดสอบและลงนามรับรองได้ และมีการกำหนดระยะเวลาการตรวจซ้ำ 2 ครั้งห่างกันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เป็นต้น
“ที่ผ่านมาการจำกัดความเรื่องการตายของบุคคลไม่เคยมีการบัญญัติในกฎหมาย มีเพียงกฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ที่กำหนดว่าผู้รับรองการตายคือแพทย์ ซึ่งแพทยสภาได้กำหนดให้แพทย์วินิจฉัยการตายโดยเกณฑ์สมองตายตั้งแต่ปี 2532 และมีการปรับปรุงในปี 2539 ซึ่งยังไม่ได้เป็นกฎหมาย ขณะที่ในต่างประเทศมีการบัญญัติกฎหมายนี้แล้ว ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ เพื่อให้การวินิจฉัยการตายของแพทย์เป็นไปตามหลักสากลมากขึ้นและไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งทางกฎหมาย รวมถึงให้ผู้ที่สมองตายได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สามารถบริจาคอวัยวะนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้รอรับการบริจาคต่อชีวิตให้กับผู้อื่น” นพ.อำนาจกล่าว
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ประกาศฯ ฉบับนี้มีเหตุมาจากการที่เคยมีกรณีการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลวชิระสมุทรปราการ ที่นำไตของผู้สมองตายออกไปขณะที่ยังไม่ตายหรือไม่ ซึ่งการที่แพทย์จะฆ่าผู้ป่วยเพื่อนำอวัยวะไปเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด แต่อาจเกิดความผิดพลาดขั้นตอนการดำเนินการไม่ถูกต้อง โดยแพทยสภาได้ลงโทษโดยยึดใบอนุญาต ซึ่งขณะนี้คดีดังกล่าวอยู่ในชั้นของศาลฎีกา อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์นั้นทำให้แพทย์ไม่กล้าที่จะนำอวัยวะของผู้สมองตายไปปลูกถ่ายอวัยวะให้กับผู้รับบริจาค ดังนั้น หากไม่ออกประกาศฯฉบับนี้ก็จะยังทำให้แพทย์มีความหวาดกลัวอยู่ และทำให้ผู้รอรับบริจาคที่ขึ้นทะเบียนมากว่า 2,000 คน และผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนอีกนับหมื่นก็อาจต้องเสียโอกาส ซึ่งการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น การปลูกถ่ายไตนั้น จะช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น ลดภาระการดูแลและค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก