เอเจนซี-จีนแก้ไขประเด็นร้อนปัญหา “ซีอุยล้วงตับ ไต...” คน ที่ระบาดหนักมานานในประเทศ โดยประกาศระบบการบริจาคอวัยวะ ด้วยความหวังว่าจะช่วยขจัดการค้าอวัยวะที่ผิดกฎหมาย และส่งเสริมให้ประชาชนบริจาคอวัยวะเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคร้าย
กระทรวงสาธารณสุขแถลงโครงการบริจาคอวัยวะ ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เริ่มส่งเสริมจัดตั้งระบบการบริจาคฯตามมณฑลและเมืองใหญ่ต่างๆ 10 เมือง รวมทั้งเมืองยักษ์ใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ และมณฑลภาคใต้กว่างตง หรือกวางตุ้ง
“วิธีการปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ และจริยธรรมสากล” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขจีน นาย หวง เจี๋ยฝู่ กล่าวระหว่างแถลงโครงการฯเมื่อวันอังคาร(25 ส.ค.)
ทั้งนี้ จีนประสบปัญหาขาดแคลนอวัยวะบริจาค ซึ่งเจ้าหน้าที่เผยว่าเมื่อปีที่แล้วมีผู้บริจาคอวัยวะเพียง 36 คน ขณะที่ประเทศจีนมีประชาชนมากถึง 1,300 ล้านคน และแหล่งอวัยวะที่จีนนำมาผ่าตัดปลูกถ่ายฯ ได้แก่ อวัยวะจากนักโทษประหาร จีนพึ่งพิงอวัยวะจากนักโทษมาเป็นเวลานาน และเป็นประเด็นร้อนด้านสิทธิมนุษยชน ที่ทำให้จีนถูกประณามจากทั่วโลก
เแต่อวัยวะจากนักโทษประหารในจีนก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยจีนที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีมากกว่า 1.5 ล้านคน รองผู้อำนวยการการปลูกถ่ายอวัยวะแห่งสมาคมการแพทย์จีน นาย เฉิน จงหัว เผย พร้อมชี้ว่าการขาดแคลนอวัยวะบริจาคอย่างหนักนี้ ทำให้ตลาดมืดซื้อขายอวัยวะบูม และขณะเดียวกันตลาดมืดนี้ก็ทำลายศรัทธาสาธารณชนและความเต็มใจที่จะบริจาค
“ขณะนี้ มีสัญญาณผลกระทบจากตลาดมืดต่อความรู้สึกของประชาชน โดยตัวเลขผู้บริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศยิ่งลดลงไปอีก ได้แก่ เมื่อปีที่แล้ว มีเพียง 36 ราย ลดจากปีก่อนหน้า ที่มี 41 ราย และในปีนี้ ก็เพิ่งมีผู้บริจาคฯเพียง 10 ราย”
เฉินยังกล่าวว่า ในแต่ละปีจีนสามารถผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะแก่ผู้ป่วย 11,000 ราย โดยใช้อวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิตและที่เสียชีวิตแล้ว ด้านองค์การอนามัยโลกชี้ว่าอวัยวะที่จีนใช้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายฯนั้น กว่าร้อยละ 90 เป็นอวัยวะของนักโทษประหาร
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ จีนพยายามแก้ไขปัญหา โดยในปี 2540 ออกกฎระเบียบใหม่ ห้ามการค้าอวัยวะ ทั้งปราบปรามกระแส “ท่องเที่ยวปลูกถ่ายอวัยวะ” ของกลุ่มที่ไม่ใช่พลเมืองจีน
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า จำนวนผู้ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะในจีนเมื่อปี 2540 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100
ด้านกระทรวงสาธารณสุขจีนหวังงว่าระบบการบริจาคอวัยวะใหม่นี้ จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้บริจาค ในอัตราส่วนราว 0.03 (ผู้บริจาค) ต่อประชาชน 1 ล้านคน “โดยจะต้องใช้เวลา 5-10 ปี ถึงสามารถดันอัตราส่วนการบริจาค 0.3 ต่อ 1 ล้านคน” เฉินประมาณ .
กระทรวงสาธารณสุขแถลงโครงการบริจาคอวัยวะ ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้เริ่มส่งเสริมจัดตั้งระบบการบริจาคฯตามมณฑลและเมืองใหญ่ต่างๆ 10 เมือง รวมทั้งเมืองยักษ์ใหญ่อย่างเซี่ยงไฮ้ และมณฑลภาคใต้กว่างตง หรือกวางตุ้ง
“วิธีการปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ และจริยธรรมสากล” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขจีน นาย หวง เจี๋ยฝู่ กล่าวระหว่างแถลงโครงการฯเมื่อวันอังคาร(25 ส.ค.)
ทั้งนี้ จีนประสบปัญหาขาดแคลนอวัยวะบริจาค ซึ่งเจ้าหน้าที่เผยว่าเมื่อปีที่แล้วมีผู้บริจาคอวัยวะเพียง 36 คน ขณะที่ประเทศจีนมีประชาชนมากถึง 1,300 ล้านคน และแหล่งอวัยวะที่จีนนำมาผ่าตัดปลูกถ่ายฯ ได้แก่ อวัยวะจากนักโทษประหาร จีนพึ่งพิงอวัยวะจากนักโทษมาเป็นเวลานาน และเป็นประเด็นร้อนด้านสิทธิมนุษยชน ที่ทำให้จีนถูกประณามจากทั่วโลก
เแต่อวัยวะจากนักโทษประหารในจีนก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยจีนที่จำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีมากกว่า 1.5 ล้านคน รองผู้อำนวยการการปลูกถ่ายอวัยวะแห่งสมาคมการแพทย์จีน นาย เฉิน จงหัว เผย พร้อมชี้ว่าการขาดแคลนอวัยวะบริจาคอย่างหนักนี้ ทำให้ตลาดมืดซื้อขายอวัยวะบูม และขณะเดียวกันตลาดมืดนี้ก็ทำลายศรัทธาสาธารณชนและความเต็มใจที่จะบริจาค
“ขณะนี้ มีสัญญาณผลกระทบจากตลาดมืดต่อความรู้สึกของประชาชน โดยตัวเลขผู้บริจาคอวัยวะจากทั่วประเทศยิ่งลดลงไปอีก ได้แก่ เมื่อปีที่แล้ว มีเพียง 36 ราย ลดจากปีก่อนหน้า ที่มี 41 ราย และในปีนี้ ก็เพิ่งมีผู้บริจาคฯเพียง 10 ราย”
เฉินยังกล่าวว่า ในแต่ละปีจีนสามารถผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะแก่ผู้ป่วย 11,000 ราย โดยใช้อวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิตและที่เสียชีวิตแล้ว ด้านองค์การอนามัยโลกชี้ว่าอวัยวะที่จีนใช้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายฯนั้น กว่าร้อยละ 90 เป็นอวัยวะของนักโทษประหาร
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ จีนพยายามแก้ไขปัญหา โดยในปี 2540 ออกกฎระเบียบใหม่ ห้ามการค้าอวัยวะ ทั้งปราบปรามกระแส “ท่องเที่ยวปลูกถ่ายอวัยวะ” ของกลุ่มที่ไม่ใช่พลเมืองจีน
ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า จำนวนผู้ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะในจีนเมื่อปี 2540 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 100
ด้านกระทรวงสาธารณสุขจีนหวังงว่าระบบการบริจาคอวัยวะใหม่นี้ จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้บริจาค ในอัตราส่วนราว 0.03 (ผู้บริจาค) ต่อประชาชน 1 ล้านคน “โดยจะต้องใช้เวลา 5-10 ปี ถึงสามารถดันอัตราส่วนการบริจาค 0.3 ต่อ 1 ล้านคน” เฉินประมาณ .