“อธิการฯ นิด้า” เผย ทปอ.ติดตามสถานการณ์ไทย-เขมร ใกล้ชิด ชี้ เหตุการณ์คงไม่รุนแรง เหตุ “ฮุนเซน” หวั่นคะแนนนิยมตก หากเหตุการณ์บานปลายถึงขั้นปิดพรมแดน ตัดสัมพันธ์ต่างๆ ทำประชาชนเสียประโยชน์ ด้าน “นช.ทักษิณ” ก็กลัวตัวสั่นไม่แพ้กัน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย เชื่อ พันธมิตรฯ ชุมนุมไร้ปัญหา ย้ำชูธงสู้เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักษาประโยชน์บ้านเมืองมาตลอด แขวะลูกสมุนแม้วเชียร์ในทางที่ถูกที่ควร ย้อนดูตอนไทยเสียกรุง เป็นตัวอย่าง ต้นเหตุมาจากเสนาบดีบางคนคิดคด ทรยศชาติ
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มอบหมายให้ตนเป็นหัวหน้ากลุ่มในการดำเนินการ ประเมินสถานการณ์ในกรณีความขัดแย้งที่กัมพูชาแต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจก่อความขัดแย้งให้แก่สังคมได้นั้น ขณะนี้ทาง ทปอ.ยังได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังไม่มีแนวทางการเคลื่อนไหวใดๆ โดยการดำเนินงานอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดเวทีสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา คงไม่รุนแรงไปกว่านี้ เพราะทางฝั่ง สมเด็จฮุน เซน เองก็คงต้องระมัดระวังท่าทีพอสมควร เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ยังไม่อาจบอกประชาชนชาวกัมพูชาได้ชัดเจนว่าทำเพื่อตัวเอง หรือทำเพื่อประเทศชาติ ชาวกัมพูชาจะได้อะไร
ตรงนี้ สมเด็จฮุน เซน เอง ก็ห่วงกระแสความนิยมของตนเองเช่นกัน เพราะหากแต่งตั้งคุณทักษิณ เป็นที่ปรึกษาแล้วประชาชนชาวกัมพูชาไม่ได้ประโยชน์ อีกทั้งต้องเสี่ยงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย เพราะหากสถานการณ์บานปลายจนถึงขั้นปิดพรมแดน ตัดสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ประชาชนของเขาก็จะเสียผลประโยชน์ และอาจทำให้คะแนนนิยมของตัวเองลดลงด้วย ในส่วนของไทยนั้น สถานการณ์เหล่านี้ถือว่าเปราะบางมาก เพราะมีกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วย จนเกิดเป็นกระแสชาตินิยม ปรากฏการณ์นี้ถือว่า คุณทักษิณ เสียประโยชน์ไปเต็มๆ เรียกได้ว่าทั้งสมเด็จฮุนเซน และคุณทักษิณ ต่างก็หวั่นในเรื่องนี้ไม่ต่างกัน
ศ.ดร.สมบัติ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนักวิชาการนั้นเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า และไม่ประสงค์ให้ทั้ง 2 ชาติ เกิดความขัดแย้งกันจากเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งเรื่องนี้อาจนำไปสู่บาดแผลของคนทั้ง 2 ชาติได้ ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ความบาดหมางเรื่องนี้เกิดขึ้น ดังนั้นประชาชนต้องแยกให้ออกถึงบทบาทของผู้นำและอดีตผู้นำของทั้ง 2 ประเทศนี้ว่าดำเนินการอะไรที่ถูกต้องตามหลักที่ควรจะเป็นหรือไม่
เมื่อถามถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศรวมพลครั้งใหญ่เพื่อแสดงพลังคนรักชาติ ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เกรงว่า จะมีปัญหาบานปลายหรือไม่นั้น รศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า ความจริงแล้วการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะกลุ่มไหนก็สามารถทำได้ตามหลักประชาธิปไตย หากอยู่ในกรอบกฎหมาย ในส่วนของกลุ่มพันธมิตรฯ เองก็มีจุดยืนชัดเจนมาตลอดในการปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ คัดค้านนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ ทุจริต และการชุมชุมในทุกครั้งก็จัดการให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง แต่ทั้งนี้ ก็ต้องไม่ลืมว่า กลุ่มพันธมิตรฯ เกี่ยวข้องโดยตรงกับพรรคการเมืองใหม่ และการจะดำเนินการอะไรก็คงต้องระวังให้มากขึ้นเช่นกัน
“ในฐานะประชาชนไม่ว่าจะรักใครชอบใครก็เป็นสิทธิส่วนตัว แต่ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นกระทบต่อความสัมพันธ์ และผลประโยชน์ของชาติหรือไม่ อย่างในประวัติศาสตร์ก็มีเรื่องราวให้ศึกษามากมาย ที่มีเสนาบดี เจ้านายชั้นผู้ใหญ่บางคนที่คิดคด ชักศึกเข้าบ้านตัวเอง แล้วผลที่เสียหายคือทำให้ไทยต้องเสียกรุง ตรงเชื่อว่าประชาชนคงแยกแยะออกว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งไหนชาติได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ หรือได้ประโยน์แค่กลุ่มคนบางคน หากเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่กระทบต่อบ้านเมืองคนที่สนับสนุนอยู่ก็ขอให้ช่วยกันตักเตือน ห้ามปราม ไม่ใช่สนับสนุนในเรื่องที่นำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ” อธิการบดี นิด้า กล่าว
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มอบหมายให้ตนเป็นหัวหน้ากลุ่มในการดำเนินการ ประเมินสถานการณ์ในกรณีความขัดแย้งที่กัมพูชาแต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจก่อความขัดแย้งให้แก่สังคมได้นั้น ขณะนี้ทาง ทปอ.ยังได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และยังไม่มีแนวทางการเคลื่อนไหวใดๆ โดยการดำเนินงานอาจอยู่ในรูปแบบของการจัดเวทีสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน แต่ส่วนตัวเชื่อว่าสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา คงไม่รุนแรงไปกว่านี้ เพราะทางฝั่ง สมเด็จฮุน เซน เองก็คงต้องระมัดระวังท่าทีพอสมควร เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ยังไม่อาจบอกประชาชนชาวกัมพูชาได้ชัดเจนว่าทำเพื่อตัวเอง หรือทำเพื่อประเทศชาติ ชาวกัมพูชาจะได้อะไร
ตรงนี้ สมเด็จฮุน เซน เอง ก็ห่วงกระแสความนิยมของตนเองเช่นกัน เพราะหากแต่งตั้งคุณทักษิณ เป็นที่ปรึกษาแล้วประชาชนชาวกัมพูชาไม่ได้ประโยชน์ อีกทั้งต้องเสี่ยงผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย เพราะหากสถานการณ์บานปลายจนถึงขั้นปิดพรมแดน ตัดสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ประชาชนของเขาก็จะเสียผลประโยชน์ และอาจทำให้คะแนนนิยมของตัวเองลดลงด้วย ในส่วนของไทยนั้น สถานการณ์เหล่านี้ถือว่าเปราะบางมาก เพราะมีกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วย จนเกิดเป็นกระแสชาตินิยม ปรากฏการณ์นี้ถือว่า คุณทักษิณ เสียประโยชน์ไปเต็มๆ เรียกได้ว่าทั้งสมเด็จฮุนเซน และคุณทักษิณ ต่างก็หวั่นในเรื่องนี้ไม่ต่างกัน
ศ.ดร.สมบัติ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนักวิชาการนั้นเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า และไม่ประสงค์ให้ทั้ง 2 ชาติ เกิดความขัดแย้งกันจากเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งเรื่องนี้อาจนำไปสู่บาดแผลของคนทั้ง 2 ชาติได้ ซึ่งจะทำอย่างไรที่จะไม่ให้ความบาดหมางเรื่องนี้เกิดขึ้น ดังนั้นประชาชนต้องแยกให้ออกถึงบทบาทของผู้นำและอดีตผู้นำของทั้ง 2 ประเทศนี้ว่าดำเนินการอะไรที่ถูกต้องตามหลักที่ควรจะเป็นหรือไม่
เมื่อถามถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศรวมพลครั้งใหญ่เพื่อแสดงพลังคนรักชาติ ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เกรงว่า จะมีปัญหาบานปลายหรือไม่นั้น รศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า ความจริงแล้วการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะกลุ่มไหนก็สามารถทำได้ตามหลักประชาธิปไตย หากอยู่ในกรอบกฎหมาย ในส่วนของกลุ่มพันธมิตรฯ เองก็มีจุดยืนชัดเจนมาตลอดในการปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ คัดค้านนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ ทุจริต และการชุมชุมในทุกครั้งก็จัดการให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง แต่ทั้งนี้ ก็ต้องไม่ลืมว่า กลุ่มพันธมิตรฯ เกี่ยวข้องโดยตรงกับพรรคการเมืองใหม่ และการจะดำเนินการอะไรก็คงต้องระวังให้มากขึ้นเช่นกัน
“ในฐานะประชาชนไม่ว่าจะรักใครชอบใครก็เป็นสิทธิส่วนตัว แต่ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นกระทบต่อความสัมพันธ์ และผลประโยชน์ของชาติหรือไม่ อย่างในประวัติศาสตร์ก็มีเรื่องราวให้ศึกษามากมาย ที่มีเสนาบดี เจ้านายชั้นผู้ใหญ่บางคนที่คิดคด ชักศึกเข้าบ้านตัวเอง แล้วผลที่เสียหายคือทำให้ไทยต้องเสียกรุง ตรงเชื่อว่าประชาชนคงแยกแยะออกว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งไหนชาติได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ หรือได้ประโยน์แค่กลุ่มคนบางคน หากเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่กระทบต่อบ้านเมืองคนที่สนับสนุนอยู่ก็ขอให้ช่วยกันตักเตือน ห้ามปราม ไม่ใช่สนับสนุนในเรื่องที่นำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ” อธิการบดี นิด้า กล่าว