สธ.ร่วมกับ สปสช. และราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ริเริ่มโครงการจัดศึกษาอบรมแพทย์ใน รพ.ชุมชน เพื่อสอบวุฒิบัตร เน้นอบรมขณะปฎิบัติงานใน รพ.ชุมชนหรือศูนย์แพทย์ภายใต้กำกับของอาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญ หลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้แพทย์เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นกำลังหลักในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง เป็นหลักประกันสุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจเพื่อประชาชนต่อไป
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยลงนามความร่วมมือเปิดหลักสูตร 3 ปี ต่อยอดผลิตแพทย์เพื่อพัฒนาบริการสุขภาพขั้นต้น โดยอบรมแพทย์ในชุมชนเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิให้บริการประชาชนในพื้นที่ภายใต้โครงการใกล้บ้านใกล้ใจ
เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของระบบสาธารณสุขไทย คือ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้เข้มแข็ง และครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยระบบนี้มี รพ.ชุมชนและศูนย์แพทย์ชุมชนเป็นฐานสำคัญ ซึ่งการพัฒนาที่สำคัญ คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานใน รพ.ชุมชน โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นบุคลากรสาขาหนึ่งที่เป็นผู้นำในการให้บริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์สาขานี้เป็นจำนวนมาก ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
นพ.วินัย กล่าวว่า จากความร่วมมือของโครงการที่สำคัญ คือ การจัดหลักสูตรการศึกษาอบรมในขณะปฎิบัติงาน เพื่อสอบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในสาขาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวขึ้น มีเป้าหมายเพิ่มการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรายใหม่ปีละ 200 ราย เป็นระยะเวลา 5 ปี เท่ากับว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มแพทย์เวชศาสตรครอบครัวได้ 1,000 คน ซึ่งแพทย์เหล่านี้จะสามารถปฎิบัติงานและคงอยู่ในระบบบริการปฐมภูมิได้ยาวนาน และเป็นฐานหลักที่จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้มาเสริมระบบอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งในระหว่างการศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มจากที่ได้รับในระบบปกติในอัตราสูงสุดปีที่หนึ่ง 10,000 บาท/คน/เดือน ปีที่สอง 20,000 บาท/คน/เดือน และปีที่สาม 30,000 บาท/คน/เดือน เมื่อศึกษาจบต้องกลับไปปฏิบัติงานที่ต้นสังกัดเดิมในหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างน้อย 3 ปี
นพ.ขจิต ชูปัญญา ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จุดเน้นที่สำคัญของโครงการนี้คือ แพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมใช้เวลาส่วนใหญ่ปฎิบัติงานอยู่ในสถานที่ปฎิบัติงานของตนเองหรือในสถาบันสมทบ ภายใต้อาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นผู้ดูแล มีลักษณะการเรียนการสอนแบบ longitudinal และควบคุมมาตรฐานการฝึกอบรมโดยราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ระยะเวลา 3 ปี ตรงนี้จะเป็นพัฒนาให้หน่วยบริการในระดับปฐมภูมิเป็นแหล่งการเรียนการสอนด้านเวชศาสตร์ครอบครัวได้
“หลักสูตรการเรียนการสอนนั้นเหมือนกับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว แต่ได้เพิ่มเติมการประยุกต์หลักการจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากการสัมผัสประสบการณ์ การเรียนรู้ผ่านบริบทของผู้เรียน และการเรียนรู้ผ่านแฟ้มสะสมผลงาน คุณสมบัติแพทย์ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ต้องเป็นแพทย์ใช้ทุนตั้งแต่ปี 2 ขึ้นไปที่ปฏิบัติงานในศูนย์แพทย์ชุมชน รพ.ชุมชน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งแพทย์ที่จบการศึกษาจะสามารถให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ ที่เน้นความรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพอย่างเบ็ดเสร็จ” นพ.ขจิตกล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยลงนามความร่วมมือเปิดหลักสูตร 3 ปี ต่อยอดผลิตแพทย์เพื่อพัฒนาบริการสุขภาพขั้นต้น โดยอบรมแพทย์ในชุมชนเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิให้บริการประชาชนในพื้นที่ภายใต้โครงการใกล้บ้านใกล้ใจ
เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของระบบสาธารณสุขไทย คือ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิให้เข้มแข็ง และครอบคลุมประชาชนอย่างทั่วถึง ซึ่งจะเป็นหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยระบบนี้มี รพ.ชุมชนและศูนย์แพทย์ชุมชนเป็นฐานสำคัญ ซึ่งการพัฒนาที่สำคัญ คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำงานใน รพ.ชุมชน โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นบุคลากรสาขาหนึ่งที่เป็นผู้นำในการให้บริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์สาขานี้เป็นจำนวนมาก ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
นพ.วินัย กล่าวว่า จากความร่วมมือของโครงการที่สำคัญ คือ การจัดหลักสูตรการศึกษาอบรมในขณะปฎิบัติงาน เพื่อสอบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในสาขาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวขึ้น มีเป้าหมายเพิ่มการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรายใหม่ปีละ 200 ราย เป็นระยะเวลา 5 ปี เท่ากับว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มแพทย์เวชศาสตรครอบครัวได้ 1,000 คน ซึ่งแพทย์เหล่านี้จะสามารถปฎิบัติงานและคงอยู่ในระบบบริการปฐมภูมิได้ยาวนาน และเป็นฐานหลักที่จะให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้มาเสริมระบบอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งในระหว่างการศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มจากที่ได้รับในระบบปกติในอัตราสูงสุดปีที่หนึ่ง 10,000 บาท/คน/เดือน ปีที่สอง 20,000 บาท/คน/เดือน และปีที่สาม 30,000 บาท/คน/เดือน เมื่อศึกษาจบต้องกลับไปปฏิบัติงานที่ต้นสังกัดเดิมในหน่วยบริการปฐมภูมิอย่างน้อย 3 ปี
นพ.ขจิต ชูปัญญา ประธานราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จุดเน้นที่สำคัญของโครงการนี้คือ แพทย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมใช้เวลาส่วนใหญ่ปฎิบัติงานอยู่ในสถานที่ปฎิบัติงานของตนเองหรือในสถาบันสมทบ ภายใต้อาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นผู้ดูแล มีลักษณะการเรียนการสอนแบบ longitudinal และควบคุมมาตรฐานการฝึกอบรมโดยราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย ระยะเวลา 3 ปี ตรงนี้จะเป็นพัฒนาให้หน่วยบริการในระดับปฐมภูมิเป็นแหล่งการเรียนการสอนด้านเวชศาสตร์ครอบครัวได้
“หลักสูตรการเรียนการสอนนั้นเหมือนกับหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว แต่ได้เพิ่มเติมการประยุกต์หลักการจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ การเรียนรู้จากการสัมผัสประสบการณ์ การเรียนรู้ผ่านบริบทของผู้เรียน และการเรียนรู้ผ่านแฟ้มสะสมผลงาน คุณสมบัติแพทย์ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ต้องเป็นแพทย์ใช้ทุนตั้งแต่ปี 2 ขึ้นไปที่ปฏิบัติงานในศูนย์แพทย์ชุมชน รพ.ชุมชน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งแพทย์ที่จบการศึกษาจะสามารถให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ ที่เน้นความรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาลการเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพอย่างเบ็ดเสร็จ” นพ.ขจิตกล่าว