เผย 10 ประเทศอาเซียน มีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ 25 ล้านราย อินโดฯ ครองแชมป์สูงสุด ส่วนไทยติดอันดับ 5 สธ.-มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่-สสส.ดันคุมบุหรี่เข้าหารือในที่ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนปีหน้า เสนอ 3 ข้อตกลงให้อาเซียนปลอดบุหรี่ พิมพ์คำเตือน และเฝ้าระวังยาสูบรูปแบบใหม่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ประชากร 572 ล้านคน ใน10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ในจำนวนนี้ 25 ล้านคน เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ โดย 5 อันดับ ประเทศที่มีผู้สูบบุหรี่มากที่สุด คือ อินโดนีเซีย ร้อยละ 46.16 รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ร้อยละ 16.62 เวียดนามร้อยละ 14.11 พม่าร้อยละ 8.73 และไทย ร้อยละ 7.74 ทำให้ในขณะนี้กลุ่มประเทศอาเซียนตื่นตัวในการรณรงค์ให้ประชากรลด ละ เลิก การสูบบุหรี่อย่างมาก จนนำไปสู่การที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับมูลนิธิฯ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลักดันให้มีวาระเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบ บรรจุอยู่ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 10 ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจากการประชุมระดับผู้นำประเทศด้านสาธารณสุขใน 10 ประเทศ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมจัดทำข้อตกลงร่วมกันก่อนนำไปเสนอในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนปีหน้า
“ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบข้อตกลงเรื่องยาสูบ 3 ข้อ ดังนี้ 1.โครงการอาเซียนปลอดบุหรี่ 100 เปอร์เซ็นต์ 2.สนับสนุนให้ประเทศอาเซียนให้มีการพิมพ์ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ ให้ครอบ 10 ประเทศ จากปัจจุบันดำเนินการแล้ว 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ และ 3.การเฝ้าระวังไม่ให้ยาสูบรูปแบบใหม่ระบาด เช่น บารากู่ บุหรี่รสชาติต่างๆ” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ข้อสรุปทั้งหมดจะส่งไปให้กับตัวแทนจากประเทศต่างๆ เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนจะมีการนำเสนอกรอบข้อตกลงในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อกำหนดและปรึกษาวาระการประชุม ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ภายในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมนี้ ทั้งนี้ ข้อตกลงที่ได้ทุกประเทศอาเซียนต่างให้ความสนใจและเห็นด้วยที่จะร่วมกันผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย หาก 10 ประเทศอาเซียนสามารถดำเนินการตามข้อตกลง เชื่อมั่นว่าแนวทางควบคุมยาสูบในภูมิภาคเอเชียจะเข้มแข็งมากขึ้น
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ประชากร 572 ล้านคน ใน10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ในจำนวนนี้ 25 ล้านคน เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ โดย 5 อันดับ ประเทศที่มีผู้สูบบุหรี่มากที่สุด คือ อินโดนีเซีย ร้อยละ 46.16 รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ร้อยละ 16.62 เวียดนามร้อยละ 14.11 พม่าร้อยละ 8.73 และไทย ร้อยละ 7.74 ทำให้ในขณะนี้กลุ่มประเทศอาเซียนตื่นตัวในการรณรงค์ให้ประชากรลด ละ เลิก การสูบบุหรี่อย่างมาก จนนำไปสู่การที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับมูลนิธิฯ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลักดันให้มีวาระเรื่องการควบคุมการบริโภคยาสูบ บรรจุอยู่ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 10 ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจากการประชุมระดับผู้นำประเทศด้านสาธารณสุขใน 10 ประเทศ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมจัดทำข้อตกลงร่วมกันก่อนนำไปเสนอในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนปีหน้า
“ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบข้อตกลงเรื่องยาสูบ 3 ข้อ ดังนี้ 1.โครงการอาเซียนปลอดบุหรี่ 100 เปอร์เซ็นต์ 2.สนับสนุนให้ประเทศอาเซียนให้มีการพิมพ์ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ ให้ครอบ 10 ประเทศ จากปัจจุบันดำเนินการแล้ว 4 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์ และ 3.การเฝ้าระวังไม่ให้ยาสูบรูปแบบใหม่ระบาด เช่น บารากู่ บุหรี่รสชาติต่างๆ” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ รองผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ข้อสรุปทั้งหมดจะส่งไปให้กับตัวแทนจากประเทศต่างๆ เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนจะมีการนำเสนอกรอบข้อตกลงในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อกำหนดและปรึกษาวาระการประชุม ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ภายในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมนี้ ทั้งนี้ ข้อตกลงที่ได้ทุกประเทศอาเซียนต่างให้ความสนใจและเห็นด้วยที่จะร่วมกันผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย หาก 10 ประเทศอาเซียนสามารถดำเนินการตามข้อตกลง เชื่อมั่นว่าแนวทางควบคุมยาสูบในภูมิภาคเอเชียจะเข้มแข็งมากขึ้น