อาจารย์คณะนิเทศฯ ม.รังสิต เผยผลศึกษาการใช้บารากู่ในวัยรุ่นพบว่าเป็นที่รู้จักกันแล้ว และหาง่ายติดสถานศึกษา-หอพัก ระบุกลายเป็นแฟชั่นในวัย 15-19 ปี และกำลังระบาดไปเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปี ด้านเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยผู้สูบบารากู่อันตรายเท่าบุหรี่
ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ศึกษาการใช้บารากู่ของเยาวชนไทยระดับมัธยมศึกษา สายอาชีพ และมหาวิทยาลัย จำนวน 754 คน พบว่านักเรียนมัธยมรู้จักบารากู่กันแล้ว และยังพบว่าเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายเพราะมีร้านขายอยู่ติดกับสถานศึกษา แถมบางร้านยังอยู่ในบริเวณหอพักนักศึกษาอีกด้วย พบสถานการณ์การใช้บารากู่ที่น่าเป็นห่วงกับวัยรุ่น คือ กลายเป็นแฟชั่นของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี จะมีการสูบและดื่มเมื่อเที่ยวกลางคืน พร้อมทั้งสูบบุหรี่ด้วย โดยในปัจจุบันร้านเหล้าทั่วไปมักให้บริการบารากู่ร่วมด้วย เพื่อสร้างความแปลกใหม่ในบริการ นอกจากนี้ ยังพบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่คิดว่า บารากู่ไม่อันตรายเพราะสูบผ่านน้ำ และคิดว่าเป็นผลไม้ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นรูปผลไม้ นอกจากร้านเหล้ายังมีช่องทางจำหน่ายหลายทางแม้แต่ในอินเทอร์เน็ต และยังพบว่าขณะนี้บารากู่ได้ระบาดไปยังเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีแล้ว ทั้งนี้บารากู่เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมาย ตำรวจและกระทรวงที่เกี่ยวข้องไม่ควรนิ่งเฉยอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยงานวิจัยล่าสุด โดย ดร.ฮิลลารี แวร์ลิง ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือควบคุมยาสูบของอังกฤษพบว่า การสูบบารากู่ทำให้ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในระดับ 40-70 ppm หรือ 40-70 ส่วนในอากาศล้านส่วน มีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ปกติสูงถึงร้อยละ 8-12 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ ในผู้สูบบุหรี่ที่สูบหนัก ซึ่งจะได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในระดับ 30-40 ppm หรือ 30-40 ส่วนในอากาศล้านส่วน ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ปกติเท่ากับร้อยละ 5-7 ทั้งนี้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ใน 10 ส่วนในอากาศล้านส่วน (10 ppm) จะเป็นพิษต่อร่างกาย โดยจะเข้าแทนที่ออกซิเจนในกระแสโลหิต ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับก๊าซออกซิเจนได้ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นเหียน ตาพร่า ความคิดสับสน ประสาทหลอน ร่างกายอ่อนแอ หัวใจเต้นถี่ เป็นลมหมดสติ ถ้าได้รับปริมาณมากๆ จะมีอาการชักกระตุก หัวใจเต้นอ่อนแรง การหายใจช้าลง และเสียชีวิตได้
ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ศึกษาการใช้บารากู่ของเยาวชนไทยระดับมัธยมศึกษา สายอาชีพ และมหาวิทยาลัย จำนวน 754 คน พบว่านักเรียนมัธยมรู้จักบารากู่กันแล้ว และยังพบว่าเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายเพราะมีร้านขายอยู่ติดกับสถานศึกษา แถมบางร้านยังอยู่ในบริเวณหอพักนักศึกษาอีกด้วย พบสถานการณ์การใช้บารากู่ที่น่าเป็นห่วงกับวัยรุ่น คือ กลายเป็นแฟชั่นของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี จะมีการสูบและดื่มเมื่อเที่ยวกลางคืน พร้อมทั้งสูบบุหรี่ด้วย โดยในปัจจุบันร้านเหล้าทั่วไปมักให้บริการบารากู่ร่วมด้วย เพื่อสร้างความแปลกใหม่ในบริการ นอกจากนี้ ยังพบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่คิดว่า บารากู่ไม่อันตรายเพราะสูบผ่านน้ำ และคิดว่าเป็นผลไม้ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เป็นรูปผลไม้ นอกจากร้านเหล้ายังมีช่องทางจำหน่ายหลายทางแม้แต่ในอินเทอร์เน็ต และยังพบว่าขณะนี้บารากู่ได้ระบาดไปยังเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีแล้ว ทั้งนี้บารากู่เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ผิดกฎหมาย ตำรวจและกระทรวงที่เกี่ยวข้องไม่ควรนิ่งเฉยอย่างที่เป็นอยู่ขณะนี้
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยงานวิจัยล่าสุด โดย ดร.ฮิลลารี แวร์ลิง ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือควบคุมยาสูบของอังกฤษพบว่า การสูบบารากู่ทำให้ได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในระดับ 40-70 ppm หรือ 40-70 ส่วนในอากาศล้านส่วน มีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ปกติสูงถึงร้อยละ 8-12 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ ในผู้สูบบุหรี่ที่สูบหนัก ซึ่งจะได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในระดับ 30-40 ppm หรือ 30-40 ส่วนในอากาศล้านส่วน ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ปกติเท่ากับร้อยละ 5-7 ทั้งนี้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ใน 10 ส่วนในอากาศล้านส่วน (10 ppm) จะเป็นพิษต่อร่างกาย โดยจะเข้าแทนที่ออกซิเจนในกระแสโลหิต ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับก๊าซออกซิเจนได้ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นเหียน ตาพร่า ความคิดสับสน ประสาทหลอน ร่างกายอ่อนแอ หัวใจเต้นถี่ เป็นลมหมดสติ ถ้าได้รับปริมาณมากๆ จะมีอาการชักกระตุก หัวใจเต้นอ่อนแรง การหายใจช้าลง และเสียชีวิตได้