xs
xsm
sm
md
lg

ข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา(ที่รอผ่านสภา) = แถลงร่วมฉบับ นพดล ปัทมะ นั่นเอง!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์
บทความโดย : ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยระดับผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา 18 มิถุนายน 2551 หรือที่เรียกกันติดปากในเวลานี้ว่า Joint Communiqué ของนายนพดล ปัทมะ มีคุณสมบัติประจำตัวที่เด่นชัดว่า
1) ขัดรัฐธรรมนูญ 2) มีนัยว่าทำให้เสียอธิปไตยและดินแดน เรื่องนี้ นายกษิต ภิรมย์ เองได้เคยวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มาแล้วครั้งหนึ่ง จนถึงวันที่นายกษิต ภิรมย์ ได้มาออกทีวีแสดงจุดยืนของตนเองในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 ท่านรัฐมนตรีกษิต ภิรมย์ ก็ยังกล่าวยืนยันคุณสมบัติของแถลงการณ์ร่วมฉบับนั้นว่าขัดรัฐธรรมนูญ และมีนัยว่าทำให้เสียอธิปไตยและดินแดนของประเทศไทยอย่างแน่นอนอยู่

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552 รัฐบาลโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา(JBC) พร้อมแนบร่างข้อตกลงชั่วคราว ไทย-กัมพูชา เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา (การประชุมร่วมสมัยนิติบัญญัติ ระเบียบวาระที่ 5.7) มีการประชุมลับและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่มีกระบวนการทางสังคมของภาคประชาชนขับเคลื่อนเพื่อขอให้เลิกหรือชะลอการพิจารณาเรื่องสำคัญนี้ออกไปก่อน ด้วยภาคประชาชนได้ทำหนังสือ เขียนบทความ แม้แต่เสนอกิจกรรมทำร่วมกับอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ จัดการเสวนาให้เห็นถึงผลกระทบต่ออธิปไตยและดินแดน จากการใช้ข้อตกลงร่วม ไทย-กัมพูชา ฉบับดังกล่าวในวันข้างหน้า (และในที่สุดมีการเลื่อนพิจารณาเรื่องนี้ไป 2 ครั้ง และคาดว่าจะมีการนำเข้าใหม่ประมาณเดือนตุลาคม 2552)

ร่างข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นการเข้าไปร่วมของรัฐบาลไทยในการยอมรับจนถึงการกล่าวได้ว่าเป็นการช่วยปกปักรักษาการอ้างสิทธิทับซ้อนของกัมพูชาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทย และมีนัยถึงการรับรองแผนที่หนึ่งต่อสองแสนของกัมพูชา(แผนที่ Annex 1)

แสดงให้เห็นการเตรียมพร้อมพื้นที่ให้เป็นพื้นที่กันชน (Buffer Zone) และพื้นที่พัฒนาร่วมตามมาตรการที่ว่าเหมาะสมของแม่ทัพภาคที่ 2 ของฝ่ายไทย ซึ่งนอกจากจะมีนัยว่าเป็นการจัดการพื้นที่ Development Zone แล้ว ยังมีนัยว่าเป็นการเตรียมให้สัตยาบันรับรองการรุกรานและยึดครองพื้นที่จากกองกำลังต่างชาติพร้อมอาวุธ ในความหมายของภาคประชาชนว่า นั่นคือการเสียอธิปไตยและดินแดนแล้ว แต่ในความหมายของหน่วยงานทุกหน่วยงานภายใต้กำกับของรัฐบาลว่าคือการพัฒนาพื้นที่

ยิ่งกว่านั้น ร่างข้อตกลงดังกล่าวยังถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในเรื่องที่สำคัญเช่น ข้อ 1 เรื่องการถอนทหารไทยออกจากพื้นที่ ข้อ 5 ยืนยันการอ้างสิทธิทับซ้อนของพื้นที่ซึ่งการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมจะไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องให้บังเกิดผลใดๆ ได้ และข้อ 8 ซึ่งว่าด้วยผลสำเร็จในทันที และผลบังคับที่จะทำให้ “ความเป็นชั่วคราว” ตามชื่อของข้อตกลงฉบับนี้ มีอายุให้การใช้งานในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นในความหมาย “การเสียอธิปไตยและดินแดน” หรือ “การพัฒนาพื้นที่” ยาวนานได้ไม่มีจุดจบ

ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ร่างข้อตกลงฉบับนี้คือหลักฐานหรือใบเสร็จที่กัมพูชาต้องการนำไปยืนยันต่อคณะกรรมการมรดกโลกถึงผลการเจรจาอย่างสันติระหว่างคู่ภาคี ไทย-กัมพูชา ที่จะทำให้ไม่มีอะไรต้องผิดพลาดไปจากเงื่อนไขของคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ในข้อที่ว่า ต้องเป็นมรดกที่อยู่ในดินแดนที่ไม่มีภาวะสงคราม

ที่จริงมีเงื่อนไขที่สำคัญอีกข้อหนึ่งของคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเทศ คือจะต้องแสดงให้เห็นการยอมรับหรือผ่านกระบวนการตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศโดยสมบูรณ์แล้ว นัยนี้หมายถึงการผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาตรา 190 และแถลงการณ์ร่วมฉบับนายนพดล ปัทมะ เป็นตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าขัดรัฐธรรมนูญ

ร่างข้อตกลงฉบับนี้ยังมีเรื่องที่ชวนให้คิดว่าผ่านกระบวนการตามกฎหมายภายในโดยครบถ้วนและสมบูรณ์แล้วหรือไม่ ไม่ว่าจะพิจารณาเรื่องการให้ข้อมูลการรับฟังความคิดเห็นตลอดจนเสียงสะท้อนจากประชาชน หรือข้อสงสัยที่มีต่อกรณีที่ ส.ส.และ ส.ว.ในการประชุมสภาร่วมกันเมื่อ 28 ตุลาคม 2551 มีมติโดยเสียงข้างมาก (409:7 เสียง) รับรองกรอบการเจรจา JBC ที่ได้อ้างว่าจะใช้ MOU 2543 ที่มีวัตถุประสงค์เรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา 73 หลัก เป็นหลัก แต่ในข้อเท็จจริงมิได้ทำตามวัตถุประสงค์นั้น กลับเปลี่ยนแปลงโยกย้ายมาสำรวจจัดทำในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารแทน และทำให้สงสัยได้ว่ามติเสียงข้างมากของรัฐสภาไม่อาจจะเป็นมติที่ถูกต้องเสมอไปหากมตินั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญในบทบัญญัติว่าด้วยอธิปไตยและดินแดน

การเปลี่ยนวัตถุประสงค์ดังกล่าว สอดคล้องกับความจงใจปฏิบัติตาม MOU 2544 และแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา 2544 ที่มีเหตุผลวิจารณ์ว่าเป็นการไปรับรอง “ความมั่ว” ที่ไม่มีการอ้างอิงหลักวิชาการในการประกาศและจัดทำเส้นเขตแดนทางทะเลของกัมพูชา เพื่อผลประโยชน์ทับซ้อนเชิงนโยบายของกลุ่มบุคคล ซึ่งการกระทำของรัฐบาลไทยในขณะนั้นก็ทำผิดหลักกฎหมายภายในของประเทศอย่างชัดเจนอยู่แล้ว เพราะไม่มีการนำเรื่องผ่านรัฐสภา หรือการทำประชาพิจารณ์เสียก่อน

เรื่องการรับรองคำประกาศและจัดทำเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศคือไทยและกัมพูชานี้ ผูกพันกับเงื่อนไขที่ไทยจะต้องรับรองและปกปักรักษาการอ้างสิทธิพื้นที่ทางบกของกัมพูชาด้วย ตามสาระการประชุมข้อ (1)-(5) ของการประชุม JBC ครั้งแรกของMOU 2544 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2544 ที่ปรากฏข้อความที่มีนัยสำคัญว่า “ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลไทยและกัมพูชา ต้องพิจารณาตกลงแก้ไขประเด็นต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อน”

เรื่องนี้เป็นเรื่องซับซ้อนแต่จะไม่เกินวิสัยของการศึกษาติดตาม ตลอดจนการใช้เหตุผลวิเคราะห์เรื่องราวอย่างต่อเนื่อง ความผิดถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่อย่าปล่อยให้ตกตะกอนเป็นซากทับถมกันเป็นชั้นจนยากที่จะแก้ไข ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องแสดงให้เห็นว่าตนใช้หลักนิติรัฐ มีการแก้ไขจัดการบ้านเมืองอย่างจริงจังจนถึงขนาดปฏิรูปใหม่ในหน่วยงาน องค์กร และสถาบันที่เกี่ยวข้อง

เรื่องซับซ้อนเรื่องนี้เป็นตัวอย่างจากการศึกษาว่า ร่างข้อตกลงชั่วคราว ไทย-กัมพูชา (ที่กำลังรอผ่านรัฐสภา...น่าจะประมาณเดือนตุลาคม 2552) ก็คือ แถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา ฉบับนายนภดล ปัทมะ ซึ่งมีความหมายและสาระสำคัญที่พูดกันง่ายๆ ได้ว่า “แปลงร่าง” มานั่นเอง

ตารางเปรียบเทียบช้างล่างพร้อมข้อสังเกตบางประการที่เสนอไว้นี้ ทำเพื่อเป็นแนวทางความเข้าใจ และช่วยกันแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง อย่าให้วาทกรรม “การเจรจาอย่างสันติ” บดบังการใช้สติปัญญาจนไม่ตั้งข้อสงสัยเสียเลยกับร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชาว่าจะเป็นข้อกฎหมายรับรองการเสียอธิปไตยและดินแดนไทย
นายนพดล ปัทมะ
ตารางเปรียบเทียบ ร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา กับแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาฉบับนายนพดล ปัทมะ

ร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ [ไทย-ปราสาทพระวิหาร] [กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)]ร่าง ณ วันที่ 6 เมษายน 2552 ที่กรุงพนมเปญแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนายนพดล ปัทมะ 18 มิถุนายน 2551หมายเหตุ/ความคิดเห็น
ยืนยันอีกครั้ง ถึงสิทธิและพันธกรณีภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 (ต่อไปนี้เรียกว่า “บันทึกความเข้าใจฯ ค.ศ. 2000”) รวมถึงแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วม ค.ศ. 2003 ซึ่งกล่าวถึงในนั้นณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2008 มีการประชุมหารือกันระหว่าง นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรับผิดชอบสำนักคณะรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อสืบต่อการหารือระหว่างทั้งสองท่าน ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ในบัญชีมรดกโลก การประชุมคราวนี้จัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโก ในกรุงปารีส โดยที่มีท่านอื่นๆ เข้าร่วมด้วย ได้แก่ นางฟรองซัวส์ ริเวเร (Francoise Riviere) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก, เอกอัครราชทูต ฟรานเซสโก คารูโซ (Francesco Caruso), นายอาเซดิโน เบสชอต (Azedino Beschaouch), นางเปาลา เลออนซินี บาร์โตลี (Paola Leoncini Bartoli) และนายจิโอวานนี บอคคาร์ดี (Giovanni Boccardi)การประชุมหารือคราวนี้ดำเนินไปด้วยเจตนารมณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือกันระหว่างการประชุมหารือ ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงกันดังต่อไปนี้ 
เชื่อมั่น ว่าระหว่างรอการจัดทำหลักเขตแดนทางบกภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศทั้งสองในพื้นที่ประชิดกับ [ไทย-ปราสาท][ [กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)] โดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “JBC”) ควรหลีกเลี่ยงการปะทะกันและการใช้กำลัง โดยการปรึกษาหารือกันระหว่างคู่ภาคี  
ยืนยัน ความตั้งใจของคู่ภาคีที่จะยังคงใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุด และปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัดในความสัมพันธ์ชายแดน และ  
ยืนยันอีกครั้ง ถึงความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเขตแดนในพื้นที่ประชิดกับ [ไทย-ปราสาท] [กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์(พระวิหารในภาษาไทย)] โดยสันติวิธีและอย่างเป็นมิตร ในเจตนารมณ์ของการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  
ข้อ1คู่ภาคีจะไม่คงกำลังทหารของแต่ละฝ่ายในวัด “แก้วสิขาคีรีสะวารา” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “วัด”) พื้นที่รอบวัด และพื้นที่ [ไทย-ปราสาทพระวิหาร][กัมพูชา-ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)] แม่ทัพภาคที่สองของกองทัพบกไทยและผู้บัญชาการกองทัพภาคที่4 ของกองทัพกัมพูชา จะกำหนดมาตรการที่เหมาะสมร่วมกัน เพื่อปฏิบัติให้ข้อบทนี้มีผล โดยผ่านชุดทหารติดตามสถานการณ์ชั่วคราวของแต่ละฝ่ายข้อ1ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหาร เข้าไว้ในบัญชีมรดกโลก ตามการเสนอของราชอาณาจักรกัมพูชา ณ การประชุมครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก (นครควิเบก, ประเทศแคนาดา, เดือนกรกฎาคม 2008) ตามขอบเขตรอบดินแดนซึ่งระบุไว้ว่าเป็น หมายเลข 1 ในแผนที่ซึ่งจัดทำโดยทางการผู้รับผิดชอบของกัมพูชา และได้แนบท้ายมาด้วยแล้ว แผนที่ดังกล่าวยังได้ครอบคลุมพื้นที่กันชนทางด้านตะวันออกข้อเท็จจริงในเวลานี้คือ กองกำลังกัมพูชาเข้ามาตั้งที่วัด พื้นที่รอบวัด และพื้นที่ตั้งแต่ผลาญหินแปดก้อน, ภูมะเขือ, ช่องตาเฒ่า มาจนถึง ซำแต โดยรุกล้ำพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาพนมดงรักตั้งข้อสังเกตด้วยว่ามาตรการที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร จะกระทำความผิดรัฐธรรมนูญและ
ข้อ2คู่ภาคีจะจัดตั้งชุดประสานงานชั่วคราว (Temporary Coordinating Task Force - TCTF) ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทั้งสองฝ่าย เพื่อพิจารณาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ประชิดกับ[ไทย - ปราสาท] [กัมพูชา – ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)] ซึ่งจะต้องมีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดย JBC รวมถึงวัด ชุดประสานงานชั่วคราวจะประชุมโดยเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ และจะประชุมโดยไม่ชักช้าไม่ว่าเมื่อใดที่จำเป็นหรือเมื่อได้รับการร้องขอจากคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ข้อ2ด้วยเจตนารมณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือกัน ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่า ปราสาทพระวิหารที่จะเสนอขอขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีมรดกโลก ในขั้นนี้จะไม่ได้รวมพื้นที่กันชนทางด้านเหนือและด้านตะวันตกของปราสาท1) ขึ้นทะเบียนแต่ตัวปราสาท ละเว้นพื้นที่ประชิดกับปราสาท โดยแถลงการณ์ร่วมบอกว่ายังไม่รวมถึงพื้นที่ด้านทิศเหนือและตะวันตก ส่วนร่างข้อตกลงเลี่ยงไปว่าพื้นที่ติดปราสาทจะมีการสำรวจจัดทำหลักเขตแดน ซึ่งเมื่อเชื่อมกับข้อ4, ข้อ5 และข้อ8 ในร่างข้อตกลงฯ จะเป็นการส่งพื้นที่ตรงนี้ให้กัมพูชาได้สิทธิ์และใช้ประโยชน์อย่างแนบเนียน2) หนังสือ นายฮอร์ นัม ฮง ถึง นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของไทย ฉบับลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.2008 เน้นย้ำให้มีการประชุมเพื่อดำเนินการถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารโดยเร็วไม่ให้ล่าช้าไปมากกว่านี้
ข้อ3คู่ภาคีจะเก็บกู้ทุ่นระเบิดในลักษณะประสานงานกันในพื้นที่ประชิดกับ [ไทย - ปราสาท] [กัมพูชา – ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)] ซึ่งจะต้องได้รับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดย JBCข้อ3แผนที่ซึ่งอ้างไว้ในวรรค 1 ข้างต้น จะแทนที่แผนที่ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องและบรรจุไว้ใน “Schema Directeur pour le Zonage de Preah Vihear” ตลอดจนการอ้างอิงด้านกราฟฟิกทั้งหมดที่ระบุบ่งชี้ถึง “บริเวณหลัก” (core zone) และการแบ่งบริเวณอื่นๆ (zonage) ของปราสาทพระวิหาร ที่บรรจุอยู่ในแฟ้มเสนอขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาด้วยกัมพูชาจะมีสนธิสัญญาเรื่องการเก็บกู้ทุ่นระเบิด แต่ในกรณีนี้น่าจะเป็นเรื่องการเตรียมพื้นที่ตามเงื่อนไขอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลก และตรงกับการบริหารจัดการพื้นที่ในการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
ข้อ4JBC จะกำหนดพื้นที่ที่จะทำให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขต4) แดนภายใต้แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ฯ ปี 2546 (ค.ศ.2003) พื้นที่ดังกล่าวจะต้องถูกทำให้อยู่ในสภาพพร้อมก่อนที่ชุดสำรวจร่วมจะเริ่มทำงานข้อ4ระหว่างที่รอผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมเพื่อการปักปันเขตแดนทางบก (Joint Commission for Land Boundary หรือ JBC) เกี่ยวกับพื้นที่ด้านเหนือและด้านตะวันตกรอบๆ ปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้รับการระบุให้เป็น หมายเลข 3 ในแผนที่ที่อ้างอิงไว้ในวรรค 1 ข้างต้น แผนการบริหารจัดการ พื้นที่เหล่านี้จะได้รับการจัดทำในลักษณะของการประสานร่วมมือกันระหว่างทางการผู้รับผิดชอบของกัมพูชาและทางการผู้รับผิดชอบของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระหว่างประเทศ ด้วยทัศนะที่มุ่งรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของทรัพย์สินดังกล่าวนี้ แผนการบริหารจัดการดังกล่าวนี้จะบรรจุไว้ในแผนการบริหารจัดการสุดท้ายสำหรับปราสาทพระวิหารและบริเวณรอบๆ ปราสาท ซึ่งจะยื่นเสนอต่อศูนย์กลางมรดกโลก (World Heritage 1) จะเห็นว่า JBC เป็นเรื่องสำคัญที่จะมีข้อตกลงเป็นประกันการขึ้นทะเบียนมรดกโลก2) ปิดกั้นการใช้กลไกอื่นนอกจากการเจรจา อาจจะเพื่อมิให้ใช้กำลังขับเคลื่อนทางทหารหมายเหตุ/ความคิดเห็น
 (ต่อจากข้อ 4) Centre) ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2010 เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณามรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 34 ในปี 2010 
ข้อ5ข้อตกลงชั่วคราวฯ นี้จะไม่กระทบต่อสิทธิของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในกรอบของ JBC และท่าทีทางกฎหมายแต่ละฝ่ายข้อ5การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ในบัญชีมรดกโลกครั้งนี้ จะไม่ทำให้เสื่อมเสียสิทธิ์ของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ในการกำหนดปักปันเขตแดนของคณะกรรมการร่วมเพื่อการปักปันเขตแดนทางบก (JBC) ของประเทศทั้งสอง1) ปรากฏข้อความว่า พื้นที่ 4.6 ตร.กม.นั้นเป็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชายังอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันอยู่ (อ้างเอกสารที่ กต 0803/453, 20 มิ.ย.2551 : 6 ในข้อ 8.4.2 บรรทัดที่7) ซึ่งถ้ามีนัยดังนี้ พื้นที่ 4.6 ตร.กม.ก็จะถูกอ้างว่าเป็นของไทยหรือกัมพูชาแต่ผู้เดียวไม่ได้เด็ดขาดตามข้อตกลง และตามแถลงการณ์ร่วม2) ปรากฏข้อความว่า “..ในระหว่างที่การสำรวจและจัดหลักเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชายังไม่เสร็จสิ้น และในการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการและอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารในพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน ไทย-กัมพูชาจะดำเนินการร่วมกันตาม เงื่อนไขของ
  (ต่อข้อ5)ยูเนสโก และตามที่ได้ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วม ก็จะมีส่วนสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว...” (อ้าง เอกสารเดิม : 6-7 ในข้อ 8.4.5 บรรทัดที่5 เป็นต้นไป) อย่างน้อยข้อความทั้ง2 ยืนยันได้ว่าไทยไมได้ยืนยันพื้นที่ 4.6 ตร.กม.
ข้อ6ข้อตกลงชั่วคราวฯ นี้ อาจแก้ไขได้โดยความเห็นชอบร่วมกันของคู่ภาคีเป็นลายลักษณ์อักษรข้อ6ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ขอแสดงความซาบซึ้งใจอย่างยิ่งต่อท่านผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ฯพณฯ นายโคอิชิโร มัตสึอุระ สำหรับความช่วยเหลือของท่านในการอำนวยความสะดวกให้แก่กระบวนการเพื่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไว้ในบัญชีมรดกโลกยืนยันเรื่องเจตนารมณ์ตรงกัน
ข้อ7ข้อตกลงชั่วคราวฯ นี้อาจบอกเลิกได้โดยภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 6 เดือนก่อนวันที่ข้อตกลงชั่วคราวฯ สิ้นสุดลง มีการลดระยะเวลา ในการแจ้งยกเลิกข้อตกลงชั่วคราวฯโดยการแจ้งล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรของภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จาก 12 เดือน เหลือ 6 เดือนน่าสังเกตเรื่องระยะเวลา 6 เดือนจากเดือนที่เปิดประชุมสมัยสามัญ นิติบัญญัติ
  (สิงหาคม 2552)ก็จะเป็น มกราคม 2553 เป็นอย่างช้าสุด เท่ากับเร่งให้ทันเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ข้อ8ข้อตกลงชั่วคราวฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่มีการแลกเปลี่ยนหนังสือแจ้งภาคีแต่ละฝ่ายว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของตนเสร็จสิ้นแล้ว และคงมีผลบังคับใช้จนกว่าการจัดทำหลักเขตแดนจะเสร็จสิ้นลงในพื้นที่ประชิดกับ [ไทย - ปราสาท] [กัมพูชา – ปราสาทเปรียะวีเฮียร์ (พระวิหารในภาษาไทย)] คู่ภาคีจะพยายามเร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของตน 1) ข้อสังเกต - เวลาที่มีผลสำเร็จ (เสียดินแดนตามกฎหมายทันที)- ระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ (ชั่วคราวแต่ยาวนาน!)(กระทรวงการต่างประเทศ และ กลาโหม เคยให้ข้อมูลว่าการถ่วงเวลาการเจรจาจัดทำหลักเขตแดนให้ยาวนานจะเป็นผลดีต่อประเทศไทย แต่เมื่อสาระของข้อตกลงเป็นเช่นนี้ ย่อมเป็นผลเสียต่อประเทศชาติมากกว่าผลดี
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเรื่องสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหารดู www.praviharn.net e-mail ผู้เขียน walwipha2000@hotmail.com
กำลังโหลดความคิดเห็น