“จุรินทร์” หารือ ผอ.ยูเนสโกประจำกรุงเทพฯ ในฐานะอดีต รมช.ศึกษาเกาหลี แลกเปลี่ยนปฏิรูปฯ รอบสอง ชี้เกาหลีเจอปัญหาการศึกษาเหมือนไทย ทั้งผลิตบัณฑิตไม่ตรงตลาด ทุ่มงบมหาศาลแต่ไร้ผล เด็กแย่งเข้ามหา’ลัย แต่ที่นั่งมีน้อย ส่งผลกวดวิชาพุ่ง รับพร้อมนำข้อเสนอแนะปรับใช้กับไทย
วันนี้ (23 ก.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า นายกวางโจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำกรุงเทพมหานคร ในฐานะอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการการะทรวงศึกษาธิการประเทศเกาหลี ได้เข้าพบตนเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการปฎิรูการศึกษา ซึ่งประเทศเกาหลีได้เริ่มปฎิรูปการศึกษามาตั้งแต่ปี 2538 แล้ว โดยมีผลมาจากอัตราการเกิดต่ำ และการลงทุนด้านการศึกษาสูง แต่กลับพบว่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจตกต่ำ จนทำให้การผลิตบัณฑิตของประเทศเกาหลีไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงมีทักษะของบัณฑิตไม่ตรงกับตามความต้องการของสาขาอาชีพ ซึ่งปัญหาดังกล่าาวเป็นปัญหาเดียวกับประเทศไทยกำลังประสบ นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีได้ใช้แนวทางปฎิรูปการศึกษาทั้งระบบ ที่เน้นให้ทุกคนได้เข้าถึงการศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตร และปรับปรุงกฎหมาย การบริหารจัดการ ปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศและไอซีที รวมถึงการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียน และพัฒนาทัรพยากรมนุษย์ควบคู่ไป ซึ่งหลักการณ์ดังกล่าวตรงกับหลักการปฎิรูปการศึกษาของประเทศไทยเช่นกัน
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้อดีต รมช.ศธ.ประเทศเกาหลี ยังได้แนะนำถึงจุดอ่อนและปัญหาในการปฎิรูปการศึกษาของประเทศเกาหลีที่ผ่านมาโดยพบว่า ได้มีการทุ่มงบประมาณสำหรับพัฒนาระบบไอซีทีอย่างมาก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดการอบรมพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้ระบบไอซีที นอกจากนี้มีอัตราการแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่สูง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ส่งผลให้การกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีการแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มที่นั่งเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยระดับรองลงมา เพื่อลดอัตราการแข่งขัน
“แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งในอนาคตจะนำมาใช้ในประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันยังได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากประชากรนอกวัยเรียนของเกาหลีมีจำนวนมาก และได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเอกชนด้วย เพื่อเป็นการลดภาระให้แก่ภาครัฐและเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้นายกวางโจ คิม ยังได้เสนอให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการปฎิรูปการศึกษาของประเทศไทยด้วย” รมว.ศธ.กล่าว
วันนี้ (23 ก.ย.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า นายกวางโจ คิม ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำกรุงเทพมหานคร ในฐานะอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการการะทรวงศึกษาธิการประเทศเกาหลี ได้เข้าพบตนเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการปฎิรูการศึกษา ซึ่งประเทศเกาหลีได้เริ่มปฎิรูปการศึกษามาตั้งแต่ปี 2538 แล้ว โดยมีผลมาจากอัตราการเกิดต่ำ และการลงทุนด้านการศึกษาสูง แต่กลับพบว่า ผลผลิตทางเศรษฐกิจตกต่ำ จนทำให้การผลิตบัณฑิตของประเทศเกาหลีไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงมีทักษะของบัณฑิตไม่ตรงกับตามความต้องการของสาขาอาชีพ ซึ่งปัญหาดังกล่าาวเป็นปัญหาเดียวกับประเทศไทยกำลังประสบ นอกจากนี้ ประเทศเกาหลีได้ใช้แนวทางปฎิรูปการศึกษาทั้งระบบ ที่เน้นให้ทุกคนได้เข้าถึงการศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตร และปรับปรุงกฎหมาย การบริหารจัดการ ปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศและไอซีที รวมถึงการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียน และพัฒนาทัรพยากรมนุษย์ควบคู่ไป ซึ่งหลักการณ์ดังกล่าวตรงกับหลักการปฎิรูปการศึกษาของประเทศไทยเช่นกัน
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ทั้งนี้อดีต รมช.ศธ.ประเทศเกาหลี ยังได้แนะนำถึงจุดอ่อนและปัญหาในการปฎิรูปการศึกษาของประเทศเกาหลีที่ผ่านมาโดยพบว่า ได้มีการทุ่มงบประมาณสำหรับพัฒนาระบบไอซีทีอย่างมาก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดการอบรมพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้ระบบไอซีที นอกจากนี้มีอัตราการแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่สูง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ส่งผลให้การกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีการแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มที่นั่งเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และยกระดับคุณภาพมหาวิทยาลัยระดับรองลงมา เพื่อลดอัตราการแข่งขัน
“แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งในอนาคตจะนำมาใช้ในประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันยังได้มีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากประชากรนอกวัยเรียนของเกาหลีมีจำนวนมาก และได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเอกชนด้วย เพื่อเป็นการลดภาระให้แก่ภาครัฐและเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้นายกวางโจ คิม ยังได้เสนอให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการปฎิรูปการศึกษาของประเทศไทยด้วย” รมว.ศธ.กล่าว