ศูนย์ไกลเกลี่ยข้อพิพาท เผยสถิติความรุนแรงในครอบครัว 2 ปี 6 เดือน กว่า 2 พันเรื่อง ระบุ ยอดผู้หญิงโทรปรึกษาปัญหาครอบครัวตัวเลขพุ่งเฉียดพัน ขณะที่พบข่มขืนกว่า 20 เรื่อง
วันนี้ (22 ก.ย.)นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ไกลเกลี่ยข้อพิพาท เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาของสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า จากการที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย ได้เปิดให้บริการกับประชาชนเรื่องของกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ทั้งด้านร่างกายและจิตใจนั้น พบว่า ผู้ขอคำปรึกษาโดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ซึ่งสถิติการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย ว่า มีประชาชนเข้าปรึกษาและขอคำแนะนำทางกฎหมายแบบเดินทางมา 291 เรื่อง โดยเห็นสมควรเชิญมาไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท 47 เรื่อง มอบทนายอาสาดำเนินการทางศาล 35 เรื่อง รับปรึกษาทางโทรศัพท์ 806 เรื่อง ให้คำปรึกษานอกสถานที่ทั้งหมด 2,310 เรื่อง
นางประกายรัตน์ กล่าวอีกว่า ตัวเลขผู้ขอคำปรึกษาในแต่ละปีมีจำนวนสูงขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี2550 มียอดสถิติรวม 295 เรื่องของการใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนปี 2551 ทั้งหมด 545 เรื่อง และตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน ปี 2552 มีทั้งหมด 247 เรื่อง
“สรุปเวลา 2 ปี 6 เดือนของการบริการให้คำปรึกษาดังกล่าวมีการแบ่งแยกกรณีเป็นการปรึกษาปัญหาครอบครัวโดยตรง 197 เรื่อง เรื่องคดีแพ่งทั่วไป 114 เรื่อง ปัญหาข่มขืนอนาจาร 11 เรื่อง อาญาทั่วไป 40 เรื่อง ส่วนปรึกษาทางโทรศัพท์มี 806 เรื่อง แยกเป็นการปรึกษาปัญหาครอบครัว 474 เรื่อง แพ่งทั่วไป 230 เรื่องปัญหาข่มขืนอนาจาร 20 เรื่อง และอาญาทั่วไป 82 เรื่อง ส่วนใหญ่ผู้หญิงและลูกได้รับผลกระทบ นั้นทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ที่มีอยู่ทุกย่อมหญ้า”
รอง ผอ.ศูนย์ไกล่เกลี่ย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชาชนยังไม่มีความเข้าใจ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 โดยเฉพาะผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของสาระในกฎหมาย ซึ่งหากถูกกระทำความรุนแรง เหยื่อต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หากผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อสามารถปกป้องดูแลตัวเองได้จะเป็นการป้องกันด้วยทางหนึ่ง
วันนี้ (22 ก.ย.)นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ไกลเกลี่ยข้อพิพาท เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาของสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวว่า จากการที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย ได้เปิดให้บริการกับประชาชนเรื่องของกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ทั้งด้านร่างกายและจิตใจนั้น พบว่า ผู้ขอคำปรึกษาโดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ซึ่งสถิติการให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านกฎหมาย ว่า มีประชาชนเข้าปรึกษาและขอคำแนะนำทางกฎหมายแบบเดินทางมา 291 เรื่อง โดยเห็นสมควรเชิญมาไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท 47 เรื่อง มอบทนายอาสาดำเนินการทางศาล 35 เรื่อง รับปรึกษาทางโทรศัพท์ 806 เรื่อง ให้คำปรึกษานอกสถานที่ทั้งหมด 2,310 เรื่อง
นางประกายรัตน์ กล่าวอีกว่า ตัวเลขผู้ขอคำปรึกษาในแต่ละปีมีจำนวนสูงขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี2550 มียอดสถิติรวม 295 เรื่องของการใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนปี 2551 ทั้งหมด 545 เรื่อง และตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน ปี 2552 มีทั้งหมด 247 เรื่อง
“สรุปเวลา 2 ปี 6 เดือนของการบริการให้คำปรึกษาดังกล่าวมีการแบ่งแยกกรณีเป็นการปรึกษาปัญหาครอบครัวโดยตรง 197 เรื่อง เรื่องคดีแพ่งทั่วไป 114 เรื่อง ปัญหาข่มขืนอนาจาร 11 เรื่อง อาญาทั่วไป 40 เรื่อง ส่วนปรึกษาทางโทรศัพท์มี 806 เรื่อง แยกเป็นการปรึกษาปัญหาครอบครัว 474 เรื่อง แพ่งทั่วไป 230 เรื่องปัญหาข่มขืนอนาจาร 20 เรื่อง และอาญาทั่วไป 82 เรื่อง ส่วนใหญ่ผู้หญิงและลูกได้รับผลกระทบ นั้นทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ที่มีอยู่ทุกย่อมหญ้า”
รอง ผอ.ศูนย์ไกล่เกลี่ย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชาชนยังไม่มีความเข้าใจ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 โดยเฉพาะผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของสาระในกฎหมาย ซึ่งหากถูกกระทำความรุนแรง เหยื่อต้องแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หากผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อสามารถปกป้องดูแลตัวเองได้จะเป็นการป้องกันด้วยทางหนึ่ง