เผย 1 ปีรอ 7 เรตติ้ง ไทยแบนหนังโรงแล้ว 10 เรื่อง หนังเทศโดนเพียบ ระบุ เนื้อหารุนแรง-ขัดศีลธรรม ผอ.สำนักพิจารณาภาพยนตร์ฯ เตือนโรงหนังนับถอยหลัง 60 วันเร่งขอใบอนุญาต ชี้ฝ่าฝืนปรับสูง 1 ล้านบาท ปรับวันละ 1 หมื่นจนกว่าจะจดทะเบียนถูกต้อง ขณะที่ “ผช.รมต.วธ.” ย้ำห้ามเล่นเกม 3 ชั่วโมง ปฏิบัติจริงไม่ได้ เสนอติดซีซีทีวีในร้านเกมให้ วธ.จังหวัดรีโมทดูแบบเรียลไทม์
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ มีการประชุมสัมมนาชี้แจงทางปฏิบัติตามอนุบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดย นายสุริยะ ศึกษากิจ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (ผช.รมต.วธ.) เป็นประธาน โดย นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวว่า การประชุมวันนี้เพื่อให้ข้าราชการในทุกจังหวัด ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและข้าราชการกรุงเทพมหานครรับทราบข้อกฎหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ซึ่งตนจะมอบให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด จัดประชุมชี้แจงในแต่ละจังหวัดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวดต่อไป
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม บรรยายหัวข้อ “กระทรวงวัฒนธรรมกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์” ตอนหนึ่งว่า ความเป็นห่วงจากภาคประชาสังคมเกี่ยวกับการเสนอให้มีการกำหนดระยะเวลา 3 ชั่วโมงในการจำกัดเวลาเล่นเกมของเด็กไว้ในกฎหมายนั้น วธ.ได้ทราบเรื่องดี แต่ทั้งนี้ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะติดปัญหาบุคคลากรสำหรับควบคุมดูแลตามกฎหมายและการไม่สามารถกำหนดเวลาเล่นในเกมบางประเภทได้ ตนจึงได้เสนอแนวคิดติดตั้งและบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดหรือซีซีทีวีภายในร้านเกมแทน แล้วทำการส่งภาพดังกล่าวไปยังศูนย์กลางของแต่ละจังหวัดเพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล โดยลักษณะจะคล้ายกับการติดตั้งกล้องซีซีทีวีตามแยกจราจร
“เนื่องจากตามกฎกระทรวงบังคับให้ร้านเกมต้องติดกล้องซีซีทีวีอยู่แล้ว ดังนั้นอาจกำหนดเพิ่มเติมให้ร้านเกมลงทุนซื้อเครื่องบันทึกภาพเพิ่มเติม จากนั้นให้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีในร้านสำหรับเชื่อมข้อมูลภาพดังกล่าวไปยังสำนักงานวัฒนธรรมแต่ละจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่จะสามารถรีโมทเข้าไปดูร้านเกมแบบเรียลไทม์ได้ เชื่อว่าวิธีการนี้จะช่วยให้เกิดการดูแลอย่างรัดกุมมากขึ้น” ผช.รมต.วธ.กล่าว
ด้าน นายประดิษฐ์ โปซิว ผู้อำนวยการสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กล่าวว่า ตั้งแต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ในเดือน มิ.ย.2551 ที่ผ่านมา กฎหมายลูกก็ยังล่าช้าและเพิ่งผ่านมติ ครม.จนครบ 5 ฉบับเมื่อไม่นานมานี้ จึงทำให้เกิดปัญหาในหลายส่วน ดังนั้น จึงต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจที่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม นับจากวันที่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ มีผลบังคับใช้จนกระทั่งวันนี้ มีภาพยนตร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกฉายในราชอาณาจักรไทยเนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ จำนวน 10 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศ อาทิ FRONTIERE (S), HALLOWEN, FUNNY GAMES,ZACK AND MARI MAKE A PORNO และ ALL THE BOYS LOVE MANDY LANE เป็นต้น
“เนื้อหาส่วนใหญ่จะมีความรุนแรง ขัดกับศีลธรรมอันดีของไทย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาภาพยนตร์บางเรื่องที่กล่าวถึงผู้ชายคนหนึ่งขอเข้าพักในบ้าน แต่สุดท้ายกลับฆ่าเจ้าบ้านที่ตัวเองอาศัยอยู่ ซึ่งขัดกับจารีตคนไทยที่ยึดถือหลักความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ” ผอ.สำนักพิจารณาภาพยนตร์ฯ กล่าวและว่า ทั้งนี้ เมื่อกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ พ.ศ.2552 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์จะต้องขอใบอนุญาตประกอบการภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศ ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนกันยายน หากพ้นกำหนดดังกล่าวผู้ประกอบที่ไม่ดำเนินการขอใบอนุญาตจะมีความผิดทางอาญา ระวางโทษปรับตั้งแต่ 200,000 -1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ มีการประชุมสัมมนาชี้แจงทางปฏิบัติตามอนุบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 โดย นายสุริยะ ศึกษากิจ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (ผช.รมต.วธ.) เป็นประธาน โดย นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวว่า การประชุมวันนี้เพื่อให้ข้าราชการในทุกจังหวัด ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจและข้าราชการกรุงเทพมหานครรับทราบข้อกฎหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ซึ่งตนจะมอบให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมจังหวัด จัดประชุมชี้แจงในแต่ละจังหวัดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวดต่อไป
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม บรรยายหัวข้อ “กระทรวงวัฒนธรรมกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์” ตอนหนึ่งว่า ความเป็นห่วงจากภาคประชาสังคมเกี่ยวกับการเสนอให้มีการกำหนดระยะเวลา 3 ชั่วโมงในการจำกัดเวลาเล่นเกมของเด็กไว้ในกฎหมายนั้น วธ.ได้ทราบเรื่องดี แต่ทั้งนี้ไม่สามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เพราะติดปัญหาบุคคลากรสำหรับควบคุมดูแลตามกฎหมายและการไม่สามารถกำหนดเวลาเล่นในเกมบางประเภทได้ ตนจึงได้เสนอแนวคิดติดตั้งและบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดหรือซีซีทีวีภายในร้านเกมแทน แล้วทำการส่งภาพดังกล่าวไปยังศูนย์กลางของแต่ละจังหวัดเพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล โดยลักษณะจะคล้ายกับการติดตั้งกล้องซีซีทีวีตามแยกจราจร
“เนื่องจากตามกฎกระทรวงบังคับให้ร้านเกมต้องติดกล้องซีซีทีวีอยู่แล้ว ดังนั้นอาจกำหนดเพิ่มเติมให้ร้านเกมลงทุนซื้อเครื่องบันทึกภาพเพิ่มเติม จากนั้นให้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีในร้านสำหรับเชื่อมข้อมูลภาพดังกล่าวไปยังสำนักงานวัฒนธรรมแต่ละจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่จะสามารถรีโมทเข้าไปดูร้านเกมแบบเรียลไทม์ได้ เชื่อว่าวิธีการนี้จะช่วยให้เกิดการดูแลอย่างรัดกุมมากขึ้น” ผช.รมต.วธ.กล่าว
ด้าน นายประดิษฐ์ โปซิว ผู้อำนวยการสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กล่าวว่า ตั้งแต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ในเดือน มิ.ย.2551 ที่ผ่านมา กฎหมายลูกก็ยังล่าช้าและเพิ่งผ่านมติ ครม.จนครบ 5 ฉบับเมื่อไม่นานมานี้ จึงทำให้เกิดปัญหาในหลายส่วน ดังนั้น จึงต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจที่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม นับจากวันที่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ มีผลบังคับใช้จนกระทั่งวันนี้ มีภาพยนตร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกฉายในราชอาณาจักรไทยเนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ จำนวน 10 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศ อาทิ FRONTIERE (S), HALLOWEN, FUNNY GAMES,ZACK AND MARI MAKE A PORNO และ ALL THE BOYS LOVE MANDY LANE เป็นต้น
“เนื้อหาส่วนใหญ่จะมีความรุนแรง ขัดกับศีลธรรมอันดีของไทย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาภาพยนตร์บางเรื่องที่กล่าวถึงผู้ชายคนหนึ่งขอเข้าพักในบ้าน แต่สุดท้ายกลับฆ่าเจ้าบ้านที่ตัวเองอาศัยอยู่ ซึ่งขัดกับจารีตคนไทยที่ยึดถือหลักความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ” ผอ.สำนักพิจารณาภาพยนตร์ฯ กล่าวและว่า ทั้งนี้ เมื่อกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงภาพยนตร์ พ.ศ.2552 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์จะต้องขอใบอนุญาตประกอบการภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศ ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนกันยายน หากพ้นกำหนดดังกล่าวผู้ประกอบที่ไม่ดำเนินการขอใบอนุญาตจะมีความผิดทางอาญา ระวางโทษปรับตั้งแต่ 200,000 -1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง