ระดมแพทย์ผ่าตัดแปลงเพศประชุมเตรียมความพร้อม หลังข้อบังคับแพทยสภา รักษาเพื่อแปลงเพศ มีผลบังคับใช้ 25 พ.ย.นี้ พร้อมไฟเขียวให้เด็กอายุ 18 ปีขึ้นไปผ่าตัดแปลงเพศได้ แต่ต้องมีใบยินยอมจากผู้ปกครอง และผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องเท่านั้น
วันที่ 11 กันยายน 2552 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อมและให้ความรู้ ความเข้าใจกับแพทย์ที่ทำการผ่าตัดแปลงเพศ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติอย่างถูกต้อง ในการรักษาเพื่อแปลงเพศให้กับผู้ที่มีความต้องการทำศัลยกรรมแปลงเพศ โดย นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการแพทยสภาได้พิจารณาเห็นชอบข้อบังคับแพทยสภา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแพทยสภา ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 126 ตอนพิเศษ 77 ง วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 แล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552นี้
“ปัจจุบันได้มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีความประสงค์จะทำศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศ เพื่อให้เป็นไปตามสภาพจิตใจที่ตรงกับตนเอง แต่เนื่องจากกระบวนการในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น อาจจะมีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม ของตัวผู้ป่วยเอง อีกทั้งผลกระทบในข้อกฎหมาย ที่ผ่านมายังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับการผ่าตัดแปลงเพศไว้เป็นการเฉพาะ ที่สำคัญเมื่อทำการผ่าตัดแปลงเพศให้กับประชาชนที่มีความต้องการแล้ว มีความเชื่อมั่นต่อแพทย์ผู้รักษา และเชื่อมั่นต่อแพทยสภาว่าจะคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน” นายกแพทยสภากล่าว
ด้าน นพ.สัมพันธุ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับศัลยแพทย์เกี่ยวกับข้อบังคับของแพทย์สภาที่จะบังคับใช้ในปลายปีนี้ มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1.การประเมินคนไข้ ว่ามีความพร้อมสมควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่ ทั้งร่างกายและจิตใจ 2.การเตรียมคนไข้ ซึ่งต้องทำอย่างน้อย 1 ปี ดูเรื่องของสภาพจิตใจเป็นหลัก 3.การผ่าตัด และ 4.การติดตามผลหลังการผ่าตัด สำหรับแพทย์ที่สามารถดำเนินการผ่าตัดแปลงเพศได้นั้น ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภา และต้องเป็นศัลยแพทย์เท่านั้น
“ส่วนการผ่าตัดแปลงเพศ กำหนดให้ทำให้ผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และผู้ที่มีเกณฑ์อายุระหว่าง 18-20 ปี การผ่าตัดต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง ส่วนการแก้ไขข้อกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิให้แก่ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วนั้น หรือการผลัดกัน พ.ร.บ.เพศที่ 3 นั้นถือเป็นหน้าที่ของกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยทางแพทยสภายินดีให้ความคิดเห็นเรื่องการผ่าตัดที่ในอนาคตอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนทั้งการทำบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง การเกณฑ์ทหาร” เลขาธิการแพทยสภากล่วา
วันที่ 11 กันยายน 2552 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อมและให้ความรู้ ความเข้าใจกับแพทย์ที่ทำการผ่าตัดแปลงเพศ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติอย่างถูกต้อง ในการรักษาเพื่อแปลงเพศให้กับผู้ที่มีความต้องการทำศัลยกรรมแปลงเพศ โดย นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการแพทยสภาได้พิจารณาเห็นชอบข้อบังคับแพทยสภา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศและผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแพทยสภา ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 126 ตอนพิเศษ 77 ง วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 แล้ว และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552นี้
“ปัจจุบันได้มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีความประสงค์จะทำศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศ เพื่อให้เป็นไปตามสภาพจิตใจที่ตรงกับตนเอง แต่เนื่องจากกระบวนการในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น อาจจะมีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม ของตัวผู้ป่วยเอง อีกทั้งผลกระทบในข้อกฎหมาย ที่ผ่านมายังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสำหรับการผ่าตัดแปลงเพศไว้เป็นการเฉพาะ ที่สำคัญเมื่อทำการผ่าตัดแปลงเพศให้กับประชาชนที่มีความต้องการแล้ว มีความเชื่อมั่นต่อแพทย์ผู้รักษา และเชื่อมั่นต่อแพทยสภาว่าจะคุ้มครองสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน” นายกแพทยสภากล่าว
ด้าน นพ.สัมพันธุ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับศัลยแพทย์เกี่ยวกับข้อบังคับของแพทย์สภาที่จะบังคับใช้ในปลายปีนี้ มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1.การประเมินคนไข้ ว่ามีความพร้อมสมควรได้รับการผ่าตัดหรือไม่ ทั้งร่างกายและจิตใจ 2.การเตรียมคนไข้ ซึ่งต้องทำอย่างน้อย 1 ปี ดูเรื่องของสภาพจิตใจเป็นหลัก 3.การผ่าตัด และ 4.การติดตามผลหลังการผ่าตัด สำหรับแพทย์ที่สามารถดำเนินการผ่าตัดแปลงเพศได้นั้น ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากแพทยสภา และต้องเป็นศัลยแพทย์เท่านั้น
“ส่วนการผ่าตัดแปลงเพศ กำหนดให้ทำให้ผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และผู้ที่มีเกณฑ์อายุระหว่าง 18-20 ปี การผ่าตัดต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง ส่วนการแก้ไขข้อกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิให้แก่ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วนั้น หรือการผลัดกัน พ.ร.บ.เพศที่ 3 นั้นถือเป็นหน้าที่ของกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยทางแพทยสภายินดีให้ความคิดเห็นเรื่องการผ่าตัดที่ในอนาคตอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนทั้งการทำบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง การเกณฑ์ทหาร” เลขาธิการแพทยสภากล่วา