กรมควบคุมโรค จับมืออธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูล หวังเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก” พร้อมจับมือป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและในสัตว์ร่วมกันรับฤดูกาลการระบาดของโรคที่ใกล้จะมาถึง
วันที่ 11 กันยายน ที่ห้องประชุมประเมินจันทวิมล กรมควบคุมโรค นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ระหว่างกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า นับตั้งแต่เริ่มมีโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นผลให้ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกในคนมามากกว่า 3 ปี (พ.ศ.2550-2552) โดยพบผู้ป่วยครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 และไม่พบสัตว์ปีกป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกมานาน 10 เดือนแล้ว โดยพบสัตว์ปีกป่วยครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุมโรคจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการเฝ้าระวังโรคทั้งในคน และในสัตว์ปีก รวมทั้งเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันฐานข้อมูลระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และฐานข้อมูลในสัตว์โดยกรมปศุสัตว์ ยังมีความเชื่อมโยงทั้งด้านรายละเอียด และความครอบคลุมของข้อมูล และบูรณาการข้อมูลในระบบเฝ้าระวังโรคทั้งในสัตว์และในคนไม่ชัดเจน ดังนั้นทั้งสองหน่วยงานจึงได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน US 56,467 หรือ ประมาณ 1 ล้าน 9 แสนบาทเศษ จากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯด้านสาธารณสุข (TUC) เพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังไข้หวัดนกร่วมกัน
นอกจากมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกร่วมกันแล้ว ในช่วงฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ใกล้จะมาถึงนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคร่วมกันโดยมีการจัดการระบบปศุสัตว์ปลอดโรคทั้งในสัตว์เศรษฐกิจ และสัตว์ปีกพื้นเมืองได้แก่ ไก่ชน เป็ดไล่ทุ่ง และควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์โดยเคร่งครัด การเตรียมความพร้อมด้านบริการทางการแพทย์ การเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมทั้งสร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน และภาคธุรกิจ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสำรวจสัตว์ปีกป่วยตาย และดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในชุมชน ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการกำชับจังหวัดที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกซ้ำซากให้มีมาตรการเข้มในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและในสัตว์ปีก หากพบให้รีบรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและแจ้งมาที่ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่น่าเป็นห่วงในฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดนก คือ การกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งถ้ามีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดนก อาจทำให้มีการกลายพันธุ์ ทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในชนบทเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ขอให้เกษตรกร หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ปีก และหมูปฏิบัติดังนี้กล่าวคือ ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับการเลี้ยงหมู และห้ามเกษตรกร หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ปีกและหมูที่ป่วยเป็นไข้หวัด ไอจามเข้าคอกเลี้ยงสัตว์ปีกและหมู เนื่องจากเป็นโอกาสให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ของเชื้อโรคหวัดในคนในสัตว์ปีกและในหมูเกิดเป็นเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ป่วยหากสัมผัสสัตว์ปีก หรือหมูที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจให้รีบไปชำระล้างร่างกาย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่เพื่อลดการติดเชื้อจากสัตว์ และถ้ามีสัตว์ตายผิดปกติให้รีบแจ้งอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หรือปศุสัตว์ใกล้บ้านโดยเร็ว รวมทั้งห้ามนำซากสัตว์มารับประทาน หรือโยนทิ้งในที่สาธารณะ
วันที่ 11 กันยายน ที่ห้องประชุมประเมินจันทวิมล กรมควบคุมโรค นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ระหว่างกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า นับตั้งแต่เริ่มมีโรคไข้หวัดนกเกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นผลให้ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกในคนมามากกว่า 3 ปี (พ.ศ.2550-2552) โดยพบผู้ป่วยครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 และไม่พบสัตว์ปีกป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกมานาน 10 เดือนแล้ว โดยพบสัตว์ปีกป่วยครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุมโรคจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการเฝ้าระวังโรคทั้งในคน และในสัตว์ปีก รวมทั้งเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันฐานข้อมูลระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และฐานข้อมูลในสัตว์โดยกรมปศุสัตว์ ยังมีความเชื่อมโยงทั้งด้านรายละเอียด และความครอบคลุมของข้อมูล และบูรณาการข้อมูลในระบบเฝ้าระวังโรคทั้งในสัตว์และในคนไม่ชัดเจน ดังนั้นทั้งสองหน่วยงานจึงได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน US 56,467 หรือ ประมาณ 1 ล้าน 9 แสนบาทเศษ จากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐฯด้านสาธารณสุข (TUC) เพื่อการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังไข้หวัดนกร่วมกัน
นอกจากมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกร่วมกันแล้ว ในช่วงฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ใกล้จะมาถึงนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคร่วมกันโดยมีการจัดการระบบปศุสัตว์ปลอดโรคทั้งในสัตว์เศรษฐกิจ และสัตว์ปีกพื้นเมืองได้แก่ ไก่ชน เป็ดไล่ทุ่ง และควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์โดยเคร่งครัด การเตรียมความพร้อมด้านบริการทางการแพทย์ การเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมทั้งสร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน และภาคธุรกิจ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ยังคงมีบทบาทสำคัญในการสำรวจสัตว์ปีกป่วยตาย และดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในชุมชน ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการกำชับจังหวัดที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกซ้ำซากให้มีมาตรการเข้มในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและในสัตว์ปีก หากพบให้รีบรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและแจ้งมาที่ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่น่าเป็นห่วงในฤดูกาลการระบาดของโรคไข้หวัดนก คือ การกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งถ้ามีการผสมข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดนก อาจทำให้มีการกลายพันธุ์ ทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นได้ นอกจากนี้มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในชนบทเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ขอให้เกษตรกร หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ปีก และหมูปฏิบัติดังนี้กล่าวคือ ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ปีกในบริเวณเดียวกับการเลี้ยงหมู และห้ามเกษตรกร หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ปีกและหมูที่ป่วยเป็นไข้หวัด ไอจามเข้าคอกเลี้ยงสัตว์ปีกและหมู เนื่องจากเป็นโอกาสให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ของเชื้อโรคหวัดในคนในสัตว์ปีกและในหมูเกิดเป็นเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ป่วยหากสัมผัสสัตว์ปีก หรือหมูที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจให้รีบไปชำระล้างร่างกาย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่เพื่อลดการติดเชื้อจากสัตว์ และถ้ามีสัตว์ตายผิดปกติให้รีบแจ้งอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หรือปศุสัตว์ใกล้บ้านโดยเร็ว รวมทั้งห้ามนำซากสัตว์มารับประทาน หรือโยนทิ้งในที่สาธารณะ