กทม.จับมือกรมปศุสัตว์ ตั้งคณะทำงานร่วมรับมือการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รอบสอง อธิบดีกรมปศุสัตว์เผยไม่หวั่นการระบาดของโรคไข้หวัด 2009 จากคนสู่สัตว์ แต่น่าห่วงคือการผสมพันธุ์ของโรคจากสัตว์ต่างสายพันธุ์
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมหามาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จากคนไปสู่สัตว์ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกัน รวมทั้งจะเชิญจังหวัดปริมณฑลเข้าร่วมในคณะกรรมการด้วย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนนี้
ด้าน นายยุคล กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลายหน่วยงานต้องทำร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันโรคไข้หวัด 2009 ที่อาจจะมีการระบาดจากคนไปสู่สัตว์ได้ ในส่วนของกรมปศุสัตว์มี พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ มีอำนาจในการควบคุม รวมถึงกักดูอาการสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรค ซึ่งหลังจากการตั้งคณะทำงานร่วมแล้วจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของ กทม.มีอำนาจใช้ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ได้เต็มที่ เพื่อการดูแลป้องกันโรคดังกล่าวได้มากขึ้น การหารือครั้งนี้ยังได้หาทางป้องกันโรคระบาดอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคฉี่หนู ด้วย
สำหรับการเตรียมตัวป้องกันโรคไข้หวัด 2009 จากคนไปสู่สัตว์โดยเฉพาะสุกรนั้น นายยุคล กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้กำชับไปยังฟาร์มเลี้ยงสัตว์สุกร และทุกชนิดต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ห้ามนำสัตว์ อาทิ ไก่ และสุกร มาเลี้ยงรวมกัน เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ของโรค หากเจ้าหน้าที่ในฟาร์มป่วยห้ามเข้าไปในบริเวณฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งจะส่งเจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์ไปแนะนำให้ความรู้ถึงที่ฟาร์ม ล่าสุดจากการเก็บตัวอย่างสุกรที่เลี้ยงไว้กว่า 20,000 ตัวมาตรวจหาไวรัส ซึ่งยังไม่พบว่ามีการระบาดไปสู่สัตว์ในประเทศไทย
นายยุคล กล่าวอีกว่า การทำงานจะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่หลายฝ่ายเกรงว่าอาจจะมีการระบาดของโรคหวัด 2009 รอบสอง โดยเฉพาะในการเคลื่อนย้ายสัตว์ได้กำชับให้ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายทั่วประเทศจะต้องแจ้งมายังกรมปศุสัตว์ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ เพื่อจะได้ทราบวัตถุประสงค์ และหากเกิดการติดเชื้อ จะได้รู้ต้นตอว่ามาจากที่ใด ซึ่งในกรณีหากเกิดการระบาดจากคนไปสู่สัตว์จริง แนวทางการป้องกันที่ได้หารือกับนักวิชาการ เริ่มแรกคือ จะต้องปิดฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อกักดูอาการของสัตว์เป็นระยะเวลา 2 วัน จากนั้นจะให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจว่ายังมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวสัตว์หรือไม่ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของไข้หวัด 2009 แต่เป็นเรื่องของการผสมพันธุ์ของเชื้อโรคจากสัตว์ต่างสายพันธุ์ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่หลายฝ่ายต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป
พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อธิบดีกรมปศุสัตว์ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมหามาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จากคนไปสู่สัตว์ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกัน รวมทั้งจะเชิญจังหวัดปริมณฑลเข้าร่วมในคณะกรรมการด้วย เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนนี้
ด้าน นายยุคล กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลายหน่วยงานต้องทำร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันโรคไข้หวัด 2009 ที่อาจจะมีการระบาดจากคนไปสู่สัตว์ได้ ในส่วนของกรมปศุสัตว์มี พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ มีอำนาจในการควบคุม รวมถึงกักดูอาการสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรค ซึ่งหลังจากการตั้งคณะทำงานร่วมแล้วจะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของ กทม.มีอำนาจใช้ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ได้เต็มที่ เพื่อการดูแลป้องกันโรคดังกล่าวได้มากขึ้น การหารือครั้งนี้ยังได้หาทางป้องกันโรคระบาดอื่นๆ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคฉี่หนู ด้วย
สำหรับการเตรียมตัวป้องกันโรคไข้หวัด 2009 จากคนไปสู่สัตว์โดยเฉพาะสุกรนั้น นายยุคล กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้กำชับไปยังฟาร์มเลี้ยงสัตว์สุกร และทุกชนิดต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ห้ามนำสัตว์ อาทิ ไก่ และสุกร มาเลี้ยงรวมกัน เพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ของโรค หากเจ้าหน้าที่ในฟาร์มป่วยห้ามเข้าไปในบริเวณฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งจะส่งเจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์ไปแนะนำให้ความรู้ถึงที่ฟาร์ม ล่าสุดจากการเก็บตัวอย่างสุกรที่เลี้ยงไว้กว่า 20,000 ตัวมาตรวจหาไวรัส ซึ่งยังไม่พบว่ามีการระบาดไปสู่สัตว์ในประเทศไทย
นายยุคล กล่าวอีกว่า การทำงานจะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงปลายปีที่หลายฝ่ายเกรงว่าอาจจะมีการระบาดของโรคหวัด 2009 รอบสอง โดยเฉพาะในการเคลื่อนย้ายสัตว์ได้กำชับให้ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายทั่วประเทศจะต้องแจ้งมายังกรมปศุสัตว์ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ เพื่อจะได้ทราบวัตถุประสงค์ และหากเกิดการติดเชื้อ จะได้รู้ต้นตอว่ามาจากที่ใด ซึ่งในกรณีหากเกิดการระบาดจากคนไปสู่สัตว์จริง แนวทางการป้องกันที่ได้หารือกับนักวิชาการ เริ่มแรกคือ จะต้องปิดฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อกักดูอาการของสัตว์เป็นระยะเวลา 2 วัน จากนั้นจะให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจว่ายังมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวสัตว์หรือไม่ และสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของไข้หวัด 2009 แต่เป็นเรื่องของการผสมพันธุ์ของเชื้อโรคจากสัตว์ต่างสายพันธุ์ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่หลายฝ่ายต้องทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป