สหภาพครูฯ โต้ “จุรินทร์” ชี้แนวคิดสถาบันคุรุศึกษาฯ เลิศหรู แต่ในร่าง พ.ร.บ.เจอประเด็นซ้ำซ้อน พ.ร.บ.สภาครู เพียบ ระบุชัดตั้งขึ้นเพื่อผลิต พัฒนาครู แถมหลักการ-เหตุผล ซัดคุรุสภาไร้ความพร้อม หวั่นสาระในร่างกำกวม อนาคตอาจเจอปัญหา เตรียมนำข้อเสนอปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ยื่น รมว.ศธ.-นายกฯ พร้อมขอมีส่วนร่วมปรับแก้ใหม่ด้วย
วันนี้ (10 ก.ย.) นายเพิ่ม หลวงแก้ว คณะกรรมการคุรุสภา ในฐานะประธานสหภาพครูแห่งชาติ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ ที่ร่างเสร็จแล้วและขณะนี้อยู่ระหว่างการรอยื่นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา โดยทางองค์กรครูแต่ละภาคได้ทำการวิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 2-3 รอบ โดยในวันนี้จะมีการประชุมหารือกันเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเท่าที่เห็นพบว่า พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ นั้น ดูแล้วมีความซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2546 โดยใน พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ เขียนไว้ชัดเจนว่ามีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งถือเป็นความซ้ำซ้อน ทั้งภาระหน้าที่ งบประมาณ ทั้งนี้หลังจากได้ข้อสรุปแล้วผู้นำองค์กรครู ทั้ง เครือข่ายสหภาพครูแห่งชาติ (ส.ค.ช.) สมาพันธ์ สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) และเครือข่ายพัฒนาชีวิตครูแห่งประเทศไทย จะนำข้อเสนอยื่นต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ และนายกรัฐมนตรีต่อไป
“ข้อเสนอขององค์กรครูอยากให้ตัดความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นในร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ ออกไป จริงๆ แล้วเราเห็นด้วยกับการจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาฯ แต่ที่คุยกันในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มีตัวแทนจากองค์กรต่างๆ อาทิ สภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เราเคยถามว่าจริงๆ แล้วสถาบันคุรุศึกษาฯ ทำหน้าที่อะไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับชัดเจนว่าทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูของครู เช่น ครูที่สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนั้นเราเห็นด้วย แต่ในส่วนที่ดูร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ ก็พบส่วนที่ซ้ำซ้อนหลายอย่าง ซึ่งอยากให้มีการปรับแก้ อย่างในมาตรา 12 ที่ระบุว่า อำนาจหน้าที่ของสถาบันทำหน้าที่ดำเนินการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าซ้ำซ้อน ที่สำคัญที่สุดคือหลักการและเหตุผลของร่างพ.ร.บ.นี้ ได้บอกว่า ปัจจุบันสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู ขาดความพร้อม ขาดความเข้มแข็ง ซึ่งสามารถตีความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากคุรุสภา ก็เลยต้องตั้งสถาบันคุรุศึกษาฯ นี้ขึ้นมาเพื่อผลิตและพัฒนาครูแทน” ปธ.สหภาพครูแห่งชาติ กล่าว
เมื่อถามว่า รมว.ศธ.ได้บอกว่าสถาบันคุรุศึกษาฯ เป็นแหล่งผลิต พัฒนาครูที่ไม่ใช่ ป.ตรี แต่เป็นครู ป.โท-ป.เอกนั้น นายเพิ่มกล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ติดใจ แต่กับคำพูดและเนื้อหาที่เป็นข้อเขียนลงไปในร่าง พ.ร.บ.กลับไม่ตรงกัน ซึ่งต้องเขียนให้ไม่สามารถนำไปตีความที่กำกวมได้ เพราะเกรงว่าอนาคตอาจมีการตีความเป็นอย่างอื่น ตนไม่ขัดข้องในข้อเสนอที่จะมีสถาบันคุรุศึกษาฯ แต่ที่ในร่าง พ.ร.บ.ที่ออกมากลับเป็นอย่างอื่น อยากให้ปรับขอบเขต หน้าที่ของสถาบันให้ชัดเจน กลัวว่าอนาคตเมื่อกฎหมายออกมาเรียบร้อยแล้ว มีการเขียนอย่างกำกวม เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ปัญหาอาจจะตามมามากมาย ทางองค์กรครูจึงอยากขอมีส่วนร่วมในการเข้าไปพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ใหม่ก่อนมีการส่งเข้าพิจารณาต่อ ครม.
นายเพิ่มกล่าวด้วยว่า สำหรับการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 นั้นในส่วนของคุรุสภาจะมีข้อเสนอแนะที่เกี่ยวเนื่องการพัฒนาศักยภาพของครู ในฐานะที่คุรุสภาเป็นสถาของครูทั้งประเทศ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อ รมว.ศธ.เช่นกัน
วันนี้ (10 ก.ย.) นายเพิ่ม หลวงแก้ว คณะกรรมการคุรุสภา ในฐานะประธานสหภาพครูแห่งชาติ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติ ที่ร่างเสร็จแล้วและขณะนี้อยู่ระหว่างการรอยื่นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา โดยทางองค์กรครูแต่ละภาคได้ทำการวิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว 2-3 รอบ โดยในวันนี้จะมีการประชุมหารือกันเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเท่าที่เห็นพบว่า พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ นั้น ดูแล้วมีความซ้ำซ้อนกับ พ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2546 โดยใน พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ เขียนไว้ชัดเจนว่ามีหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งถือเป็นความซ้ำซ้อน ทั้งภาระหน้าที่ งบประมาณ ทั้งนี้หลังจากได้ข้อสรุปแล้วผู้นำองค์กรครู ทั้ง เครือข่ายสหภาพครูแห่งชาติ (ส.ค.ช.) สมาพันธ์ สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) และเครือข่ายพัฒนาชีวิตครูแห่งประเทศไทย จะนำข้อเสนอยื่นต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ และนายกรัฐมนตรีต่อไป
“ข้อเสนอขององค์กรครูอยากให้ตัดความซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นในร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ ออกไป จริงๆ แล้วเราเห็นด้วยกับการจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาฯ แต่ที่คุยกันในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มีตัวแทนจากองค์กรต่างๆ อาทิ สภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เราเคยถามว่าจริงๆ แล้วสถาบันคุรุศึกษาฯ ทำหน้าที่อะไร ซึ่งคำตอบที่ได้รับชัดเจนว่าทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครูของครู เช่น ครูที่สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนั้นเราเห็นด้วย แต่ในส่วนที่ดูร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุรุศึกษาฯ ก็พบส่วนที่ซ้ำซ้อนหลายอย่าง ซึ่งอยากให้มีการปรับแก้ อย่างในมาตรา 12 ที่ระบุว่า อำนาจหน้าที่ของสถาบันทำหน้าที่ดำเนินการผลิตและพัฒนาครู ซึ่งตรงนี้ชัดเจนว่าซ้ำซ้อน ที่สำคัญที่สุดคือหลักการและเหตุผลของร่างพ.ร.บ.นี้ ได้บอกว่า ปัจจุบันสถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู ขาดความพร้อม ขาดความเข้มแข็ง ซึ่งสามารถตีความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากคุรุสภา ก็เลยต้องตั้งสถาบันคุรุศึกษาฯ นี้ขึ้นมาเพื่อผลิตและพัฒนาครูแทน” ปธ.สหภาพครูแห่งชาติ กล่าว
เมื่อถามว่า รมว.ศธ.ได้บอกว่าสถาบันคุรุศึกษาฯ เป็นแหล่งผลิต พัฒนาครูที่ไม่ใช่ ป.ตรี แต่เป็นครู ป.โท-ป.เอกนั้น นายเพิ่มกล่าวว่า ตรงนี้ตนไม่ติดใจ แต่กับคำพูดและเนื้อหาที่เป็นข้อเขียนลงไปในร่าง พ.ร.บ.กลับไม่ตรงกัน ซึ่งต้องเขียนให้ไม่สามารถนำไปตีความที่กำกวมได้ เพราะเกรงว่าอนาคตอาจมีการตีความเป็นอย่างอื่น ตนไม่ขัดข้องในข้อเสนอที่จะมีสถาบันคุรุศึกษาฯ แต่ที่ในร่าง พ.ร.บ.ที่ออกมากลับเป็นอย่างอื่น อยากให้ปรับขอบเขต หน้าที่ของสถาบันให้ชัดเจน กลัวว่าอนาคตเมื่อกฎหมายออกมาเรียบร้อยแล้ว มีการเขียนอย่างกำกวม เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนถ่ายอำนาจ ปัญหาอาจจะตามมามากมาย ทางองค์กรครูจึงอยากขอมีส่วนร่วมในการเข้าไปพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ใหม่ก่อนมีการส่งเข้าพิจารณาต่อ ครม.
นายเพิ่มกล่าวด้วยว่า สำหรับการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 นั้นในส่วนของคุรุสภาจะมีข้อเสนอแนะที่เกี่ยวเนื่องการพัฒนาศักยภาพของครู ในฐานะที่คุรุสภาเป็นสถาของครูทั้งประเทศ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อ รมว.ศธ.เช่นกัน