“จุรินทร์” ชูงานวิจัยส่วนสำคัญขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ชี้ครูเจ้าของงานวิจัยใช้ผลงานขอเลื่อนวิทยฐานะได้ ขณะที่ “รศ.ดร.วรากรณ์” เผยงานวิจัยต้องง่าย ใช้ประโยชน์ได้จริงทันที แนะ สกศ.กำหนดทิศทางให้ชัดเจน ส่งเสริมวิจัยระดับชาติ ระดับโรงเรียน
วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 13 “ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา” ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประยุกต์โดยนำผลงานวิจัยทางการศึกษา องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ ต่อยอดในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการนำผลงานวิจัยทางการศึกษาที่มีคุณภาพระดับชาติ จำนวน 102 เรื่อง จากผลงานวิจัยที่เสนอเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 369 เรื่องมาเผยแพร่ ซึ่งการวิจัยต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ได้นั้น ต้องเข้าใจทิศทางและเป้าหมายที่ต้องเดินไปให้ถึงให้ตรงกันก่อนว่าคือ ทำอย่างไรให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่คนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ แหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการบริหารจัดการแนวใหม่ ซึ่งเป็นงานที่หนัก และต้องผนึกกำลังกันให้ได้ โดยเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยในช่วงระยะเวลาต่อไป
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ตนจะนำผลที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ ไปกำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการเตรียมโครงการต่างๆ ไว้รองรับแล้ว แต่ก็สามารถนำมาต่อยอดกันได้
“ในส่วนข้อเสนอของครูที่ต้องการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะนั้น หากครูเป็นเจ้าของผลงานวิจัยก็สามารถนำมาใช้ประกอบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้อยู่แล้ว” รมว.ศธ.กล่าว
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การวิจัยกับการพัฒนาครู คณาจารย์เพื่อคุณภาพการศึกษา” ตอนหนึ่งว่า งานวิจัยเป็นการค้นหาความจริงเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่ครูจะมองว่างานวิจัยต้องใหญ่โต มองว่าเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน ทั้งนี้ตนมองว่างานวิจัยที่ดีที่สุดต้องเป็นงานวิจัยแบบง่ายๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ที่ผ่านมางานวิจัยส่วนใหญ่จะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงอยากให้ครูให้ความสำคัญกับงานวิจัยแบบง่ายๆ อาทิ การวิจัยเรื่องจะสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างไรให้เด็กเข้าใจง่ายที่สุด รวมถึงระยะเวลา รายวิชาการเรียนของแต่ละวิชาว่าต้องใช้เวลาเท่าไร เด็กถึงจะสนใจ ที่สำคัญหากครูได้ทำงานงานวิจัยจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอน และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการสอนของตัวเอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการนำงานวิจัยมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ควรกำหนดทิศทางการวิจัยให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการทำวิจัยทั้งระดับชาติ และระดับล่างในส่วนงานวิจัยภายในโรงเรียน เพื่อนำผลการวิจัย ข้อเสนอต่างๆ มาเป็นแนวทาง ในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2
วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 13 “ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา” ว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประยุกต์โดยนำผลงานวิจัยทางการศึกษา องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ ต่อยอดในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการนำผลงานวิจัยทางการศึกษาที่มีคุณภาพระดับชาติ จำนวน 102 เรื่อง จากผลงานวิจัยที่เสนอเข้ารับการคัดเลือกทั้งหมด 369 เรื่องมาเผยแพร่ ซึ่งการวิจัยต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ได้นั้น ต้องเข้าใจทิศทางและเป้าหมายที่ต้องเดินไปให้ถึงให้ตรงกันก่อนว่าคือ ทำอย่างไรให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ คุณภาพ โอกาส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่คนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ แหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการบริหารจัดการแนวใหม่ ซึ่งเป็นงานที่หนัก และต้องผนึกกำลังกันให้ได้ โดยเรื่องนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการวิจัยในช่วงระยะเวลาต่อไป
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ตนจะนำผลที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ ไปกำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีการเตรียมโครงการต่างๆ ไว้รองรับแล้ว แต่ก็สามารถนำมาต่อยอดกันได้
“ในส่วนข้อเสนอของครูที่ต้องการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะนั้น หากครูเป็นเจ้าของผลงานวิจัยก็สามารถนำมาใช้ประกอบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้อยู่แล้ว” รมว.ศธ.กล่าว
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะกรรมการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การวิจัยกับการพัฒนาครู คณาจารย์เพื่อคุณภาพการศึกษา” ตอนหนึ่งว่า งานวิจัยเป็นการค้นหาความจริงเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่ครูจะมองว่างานวิจัยต้องใหญ่โต มองว่าเป็นเรื่องยาก ซับซ้อน ทั้งนี้ตนมองว่างานวิจัยที่ดีที่สุดต้องเป็นงานวิจัยแบบง่ายๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่ที่ผ่านมางานวิจัยส่วนใหญ่จะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงอยากให้ครูให้ความสำคัญกับงานวิจัยแบบง่ายๆ อาทิ การวิจัยเรื่องจะสอนวิชาภาษาอังกฤษอย่างไรให้เด็กเข้าใจง่ายที่สุด รวมถึงระยะเวลา รายวิชาการเรียนของแต่ละวิชาว่าต้องใช้เวลาเท่าไร เด็กถึงจะสนใจ ที่สำคัญหากครูได้ทำงานงานวิจัยจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอน และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการสอนของตัวเอง ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนการนำงานวิจัยมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ควรกำหนดทิศทางการวิจัยให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการทำวิจัยทั้งระดับชาติ และระดับล่างในส่วนงานวิจัยภายในโรงเรียน เพื่อนำผลการวิจัย ข้อเสนอต่างๆ มาเป็นแนวทาง ในการปฏิรูปการศึกษารอบ 2