“หมอธีระวัฒน์” เสนอ สธ.ร่วมมือ ก.เกษตรฯ ปรับปรุงโรงงานวัคซีนปากช่องจากผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์เป็นโรงงานผลิตเชื้อเป็นสำหรับคนแทน ยันฮูแนะนำว่าสามารถทำได้ ชี้หากไม่รีบทำระบาดรอบ 2 เร็วกว่าเดิมตายเพียบแน่
เมื่อวานนี้ (22 สิงหาคม) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน และอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระลอก 2 ถือว่ามีความน่าเป็นห่วง ซึ่งหากการระบาดกลับมาในช่วง2-3 เดือนนี้ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นเพราะวัคซีนที่ผลิตเองยังไม่สามารถใช้ได้ สถานการณ์ต่อจากนี้จึงควรมีการคิดหาแผนสำรองได้แล้ว
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาของดร.พญ.จงกล เลิศเทียนดำรงค์ ซึ่งศึกษาถึงกรณีการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่ปี 2549-2552 พบว่า ประเทศไทยมีโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิตวัคซีนได้ คือ โรงงานของกรมปศุสัตว์ที่ อ.ปากช่อง ซึ่งมีการผลิตวัคซีนเชื้อเป็นสำหรับสัตว์อยู่และได้มาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญพร้อม สำหรับเปลี่ยนเป็นการผลิตวัคซีนเชื้อเป็นของคน และไม่มีผลกระทบอะไรเพราะวัคซีนสำหรับสัตว์สามารถซื้อจากประเทศอื่นได้โดยใช้งบประมาณเพียง 9 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ฉะนั้นหากมีการปรับปรุงโรงงานดังกล่าวจะใช้งบประมาณเพียง 80-100 ล้านบาท หากสามารถใช้โรงงานผลิตวัคซีนของกรมปศุสัตว์ได้จริง คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ประมาณ 86 ล้านโด๊สต่อ 3 เดือน โดยใช้เวลาปรับปรุงโรงงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
“หากหวังพึ่งโรงงานวัคซีนต้นแบบที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแห่งเดียว ก็จะไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เพียงพอต่อคนในประเทศอย่างแน่นอน ส่วนโรงงานต้นแบบแห่งใหม่ที่ใช้งบประมาณ 150-200 ล้านก็ยังต้องใช้เวลาอีกเป็นปี ไม่ทันต่อสถานการณ์การระบาด โดยองค์การอนามัยได้ตีพิมพ์คำแนะนำในเว็ปไซต์ว่า หากบางประเทศในโลกมีโรงงานที่มีความพร้อมอยู่แล้วก็สามารถเปลี่ยนสลับมาใช้โรงงานเพื่อผลิตวัคซีนในสถานการณ์การระบาดได้ ดังนั้นความคิดว่าโรงงานสำหรับผลิตวัคซีนสัตว์ไม่สามารถผลิตวัคซีนคนได้จึงไม่เป็นความจริง” ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวเคยนำเสนอหลายครั้งแต่ถูกปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าโรงงานผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์ไม่สามารถเปลี่ยนมาผลิตวัคซีนสำหรับคนได้ ซึ่งไม่จริงเพราะเทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบเดียวกัน อีกทั้งมาตรฐานในการผลิตวัคซีนคนและสัตว์ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยที่ผ่านมา เคยมีผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกเดินทางมาดูโรงงานดังกล่าวและชื่นชมว่าไทยมีโรงงานที่สามารถผลิตวัคซีนได้
“ถึงเวลานี้แล้วอยากให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันและไม่เกี่ยงงอนว่าเป็นของของใคร เพราะขณะนี้ถือว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตหากไม่มีอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวเอง หากเกิดการระบาดระลอก 2 เร็วกว่าที่คิดหรือก่อนที่จะสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้ก็จะทำให้ประเทศและคนไทยเสียประโยชน์และจะมีคนตายจำนวนมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องหันหน้ากัน เพราะที่ผ่านมาต่างคนต่างทำงานทำให้ไทยลงทุนเทคโนโลยีซ้ำซ้อนกันจำนวนมาก”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
เมื่อวานนี้ (22 สิงหาคม) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน และอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระลอก 2 ถือว่ามีความน่าเป็นห่วง ซึ่งหากการระบาดกลับมาในช่วง2-3 เดือนนี้ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นเพราะวัคซีนที่ผลิตเองยังไม่สามารถใช้ได้ สถานการณ์ต่อจากนี้จึงควรมีการคิดหาแผนสำรองได้แล้ว
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาของดร.พญ.จงกล เลิศเทียนดำรงค์ ซึ่งศึกษาถึงกรณีการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่ปี 2549-2552 พบว่า ประเทศไทยมีโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิตวัคซีนได้ คือ โรงงานของกรมปศุสัตว์ที่ อ.ปากช่อง ซึ่งมีการผลิตวัคซีนเชื้อเป็นสำหรับสัตว์อยู่และได้มาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญพร้อม สำหรับเปลี่ยนเป็นการผลิตวัคซีนเชื้อเป็นของคน และไม่มีผลกระทบอะไรเพราะวัคซีนสำหรับสัตว์สามารถซื้อจากประเทศอื่นได้โดยใช้งบประมาณเพียง 9 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ฉะนั้นหากมีการปรับปรุงโรงงานดังกล่าวจะใช้งบประมาณเพียง 80-100 ล้านบาท หากสามารถใช้โรงงานผลิตวัคซีนของกรมปศุสัตว์ได้จริง คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ประมาณ 86 ล้านโด๊สต่อ 3 เดือน โดยใช้เวลาปรับปรุงโรงงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
“หากหวังพึ่งโรงงานวัคซีนต้นแบบที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแห่งเดียว ก็จะไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เพียงพอต่อคนในประเทศอย่างแน่นอน ส่วนโรงงานต้นแบบแห่งใหม่ที่ใช้งบประมาณ 150-200 ล้านก็ยังต้องใช้เวลาอีกเป็นปี ไม่ทันต่อสถานการณ์การระบาด โดยองค์การอนามัยได้ตีพิมพ์คำแนะนำในเว็ปไซต์ว่า หากบางประเทศในโลกมีโรงงานที่มีความพร้อมอยู่แล้วก็สามารถเปลี่ยนสลับมาใช้โรงงานเพื่อผลิตวัคซีนในสถานการณ์การระบาดได้ ดังนั้นความคิดว่าโรงงานสำหรับผลิตวัคซีนสัตว์ไม่สามารถผลิตวัคซีนคนได้จึงไม่เป็นความจริง” ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวเคยนำเสนอหลายครั้งแต่ถูกปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าโรงงานผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์ไม่สามารถเปลี่ยนมาผลิตวัคซีนสำหรับคนได้ ซึ่งไม่จริงเพราะเทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบเดียวกัน อีกทั้งมาตรฐานในการผลิตวัคซีนคนและสัตว์ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก โดยที่ผ่านมา เคยมีผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกเดินทางมาดูโรงงานดังกล่าวและชื่นชมว่าไทยมีโรงงานที่สามารถผลิตวัคซีนได้
“ถึงเวลานี้แล้วอยากให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันและไม่เกี่ยงงอนว่าเป็นของของใคร เพราะขณะนี้ถือว่าเรากำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตหากไม่มีอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวเอง หากเกิดการระบาดระลอก 2 เร็วกว่าที่คิดหรือก่อนที่จะสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้ก็จะทำให้ประเทศและคนไทยเสียประโยชน์และจะมีคนตายจำนวนมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องหันหน้ากัน เพราะที่ผ่านมาต่างคนต่างทำงานทำให้ไทยลงทุนเทคโนโลยีซ้ำซ้อนกันจำนวนมาก”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว