“จุรินทร์” ย้ำปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เน้นคุณภาพและสร้างสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมยอมรับมาตรฐานการสอนของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยยังไม่เท่ากัน เตรียมเปิดช่อง “ติวเตอร์ชาแนล” ผ่าน NBT ทุกวันเสาร์ให้วิทยากร ครู ชื่อดัง ออกอากาศให้เด็กทุกคนมีโอกาสเท่ากัน คาดเริ่มได้เดือน ก.ย.นี้
บรรยากาศภายในงานธรรมศาสตร์วิชาการ ’52 ร่วมสร้างทางออกประเทศไทย วันสุดท้าย จัดขึ้นภายในอาคารยิมเนเซียม 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ยังคงมีนักเรียนทั้งจากกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้น ม.6 มาร่วมงานจำนวนมาก มีการแนะนำพร้อมนำชมบรรยากาศการเรียนการสอนหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษากับทางออกประเทศไทย” โดยกล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเน้นไปที่ 2 เรื่องคือเรื่องการปรับโครงสร้างการศึกษาใหม่ทุกระบบและเน้นความสำคัญเพียงการศึกษาในระบบ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ที่จะมีผลถึงปี 2561 โดยจะเดินหน้า 2 เรื่องสำคัญ คือ เพิ่มคุณภาพการศึกษา ไม่เน้นการเรียนการสอนแค่ในระบบจะเพิ่มการศึกษานอกระบบ และสร้างการศึกษาตามอัธยาศัย จะทำควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบ ให้การศึกษาเป็นไปอย่างครบวงจร รวมถึงเป็นการสร้างสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต
จากนั้นบนเวทีเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฟังการปาฐกถา เขียนคำถามให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบ หลายคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษา อาทิ จะสามารถนำระบบเอนทรานซ์เดิมกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า คงเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้คือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รวม 26 มหาวิทยาลัย มีแนวโน้มใช้ระบบแอดมิชชั่นส์เหมือนเดิม แต่อาจจะมีการปรับสัดส่วนคะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไปและการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ (GAT-PAT) และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งภายใน 1 เดือนหลังจากนี้จะได้คำตอบที่ชัดเจนให้เด็กได้เตรียมตัว
นอกจากนี้นายจุรินทร์ กล่าวตอบคำถามถึงการแก้ปัญหามาตรฐานการสอนแต่ละโรงเรียนไม่เท่านั้นว่า เป็นความจริง ที่คุณภาพการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยไม่เท่ากัน ล่าสุดได้สำรวจพบ 50 สาขาวิชาในสถาบันอุดมศึกษายังไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นที่มาที่จะจัดทำนโยบายปรับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ให้มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น เช่น ติวเตอร์ชาแนล ผ่านทางช่องสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ที่ผ่านมา ศธ.ได้ทำรายการแบบนี้เช่นผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ศธ.ผ่านเคเบิลทีวี มีนักเรียนบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถรับชมได้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อผ่านฟรีทีวีให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้จากวิทยากรหรือครูชื่อดัง จะมีทุกวันเสาร์ กำลังดูช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มดำเนินการ คาดว่า เริ่มได้เดือน ก.ย.นี้
“ฝากไปถึงนักเรียนว่าการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยรัฐ ไม่ได้ประกันความสำเร็จของชีวิต เพราะเป็นเพียงทางผ่านหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ฝากนักเรียนทุกคนนำความรู้ที่ตนเองมีและได้จากการเรียนมาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดและรู้จักภาวะผู้นำและผู้ตาม สำคัญที่สุดคือมีคุณธรรมและจริยธรรม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว
บรรยากาศภายในงานธรรมศาสตร์วิชาการ ’52 ร่วมสร้างทางออกประเทศไทย วันสุดท้าย จัดขึ้นภายในอาคารยิมเนเซียม 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต ยังคงมีนักเรียนทั้งจากกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้น ม.6 มาร่วมงานจำนวนมาก มีการแนะนำพร้อมนำชมบรรยากาศการเรียนการสอนหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การปฏิรูปการศึกษากับทางออกประเทศไทย” โดยกล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเน้นไปที่ 2 เรื่องคือเรื่องการปรับโครงสร้างการศึกษาใหม่ทุกระบบและเน้นความสำคัญเพียงการศึกษาในระบบ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ที่จะมีผลถึงปี 2561 โดยจะเดินหน้า 2 เรื่องสำคัญ คือ เพิ่มคุณภาพการศึกษา ไม่เน้นการเรียนการสอนแค่ในระบบจะเพิ่มการศึกษานอกระบบ และสร้างการศึกษาตามอัธยาศัย จะทำควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบ ให้การศึกษาเป็นไปอย่างครบวงจร รวมถึงเป็นการสร้างสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต
จากนั้นบนเวทีเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฟังการปาฐกถา เขียนคำถามให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตอบ หลายคำถามเกี่ยวกับระบบการศึกษา อาทิ จะสามารถนำระบบเอนทรานซ์เดิมกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า คงเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนี้คือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รวม 26 มหาวิทยาลัย มีแนวโน้มใช้ระบบแอดมิชชั่นส์เหมือนเดิม แต่อาจจะมีการปรับสัดส่วนคะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไปและการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ (GAT-PAT) และคะแนนการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งภายใน 1 เดือนหลังจากนี้จะได้คำตอบที่ชัดเจนให้เด็กได้เตรียมตัว
นอกจากนี้นายจุรินทร์ กล่าวตอบคำถามถึงการแก้ปัญหามาตรฐานการสอนแต่ละโรงเรียนไม่เท่านั้นว่า เป็นความจริง ที่คุณภาพการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยไม่เท่ากัน ล่าสุดได้สำรวจพบ 50 สาขาวิชาในสถาบันอุดมศึกษายังไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นที่มาที่จะจัดทำนโยบายปรับคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ให้มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น เช่น ติวเตอร์ชาแนล ผ่านทางช่องสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ที่ผ่านมา ศธ.ได้ทำรายการแบบนี้เช่นผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ศธ.ผ่านเคเบิลทีวี มีนักเรียนบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถรับชมได้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อผ่านฟรีทีวีให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้จากวิทยากรหรือครูชื่อดัง จะมีทุกวันเสาร์ กำลังดูช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเริ่มดำเนินการ คาดว่า เริ่มได้เดือน ก.ย.นี้
“ฝากไปถึงนักเรียนว่าการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยรัฐ ไม่ได้ประกันความสำเร็จของชีวิต เพราะเป็นเพียงทางผ่านหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ฝากนักเรียนทุกคนนำความรู้ที่ตนเองมีและได้จากการเรียนมาใช้ในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดและรู้จักภาวะผู้นำและผู้ตาม สำคัญที่สุดคือมีคุณธรรมและจริยธรรม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว