“จุรินทร์” ตรวจเยี่ยม อีทีวี เตรียมความพร้อมสู่ อีฟรีทีวี เผยเริ่มดำเนินการปีนี้ คาดไม่เกิน 3 ปี เป็นรูปเป็นร่าง ระหว่างรอเตรียมผุด “ติวเตอร์แชนแนล” ทางฟรีทีวี หลังมอบ สพฐ.จัดหาช่วงเวลาให้เหมาะสม ก่อนยิงสดผ่านฟรีทีวี
วันนี้ (29 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการจัดผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (อีทีวี) กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งกล่าวว่า รัฐบาล โดย ศธ.จะมีการจัดตั้งอีทีวี ซึ่งเดิมเป็นการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม ให้เป็นอีฟรีทีวี โดยจะเริ่มดำเนินการในปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จได้ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งได้ตั้งงบประมาณไว้รองรับทั้งสิ้น 6 พันล้านบาท ซึ่งเชื่อว่า อีฟรีทีวีนี้จะมีประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรับผ่านจานดาวเทียม เป็นการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ ในส่วนของเรื่องการติวเพื่อเตรียมตัวสอบของนักเรียน นักศึกษานั้น ทางช่องอีทีวี ได้มีการเชิญอาจารย์ผู้สอนจากโรงเรียนชื่อดังต่างๆ เช่น ร.ร.สวนกุหลาบ ร.ร.เตรียมอุดม ร.ร.สตรีวิทยา เป็นต้น พร้อมทั้งเชิญครูติวเตอร์จากสถาบันกวดวิชาชื่อดังมาสอนอีกด้วย ซึ่งตรงนี้เองถือเป็นแม่เหล็กสำคัญที่จะช่วยดึงดูดเด็ก ให้มีความสนใจในเนื้อหาลักษณะเชิงลึกมากกว่าที่ได้รับจากภายในห้องเรียน
“ทุกอย่างในการเตรียมการเพื่อจัดตั้งอีฟรีทีวีนั้นได้ดำเนินการไว้หมดแล้ว แต่ที่ยังเริ่มไม่ได้เนื่องจากต้องรออำนาจจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งระหว่างรอได้มอบหมายให้ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ที่เป็นเจ้าของ อีทีวี เตรียมการในส่วนของการบริหารจัดการ เตรียมผังรายการ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไว้แล้ว ซึ่งเมื่อ กสช.จัดสรรคลื่นให้เมื่อไหร่ก็สามารถถ่ายทอดสดได้ทันที” รมว.ศธ.กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนการติวของนักเรียน นักศึกษานั้น ระหว่างที่รออีฟรีทีวี อาจมีการจัดตั้งเป็นช่องติวเตอร์แชนแนล ขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งตอนนี้ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เร่งทำแผนว่าในแต่ละปี จะต้องมีช่วงของการติวกี่รอบ เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของการสอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพืนฐาน (O-NET) หรือ การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) โดยอาจใช้ช่วงเวลาในช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ทั้งนี้ ก็ต้องประสานกับทาง กศน.อีกครั้ง
“การมีติวเตอร์แชนแนลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับนักเรียน นักศึกษา ตามต่างจังหวัด ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีโอกาสได้เรียนติวกับอาจารย์ชื่อดัง ทั้งนี้ ในส่วนของเนื้อหาการติวจะเห็นว่าที่มีขึ้นอยู่ภายในอีทีวีนั้นจะมีเนื้อหาที่ครบถ้วน และสามารถดูได้ย้อนหลัง แต่หากเป็นติวเตอร์แชแนลทางฟรีทีวี อาจต้องมีการสรุปเนื้อหาการติวให้กระชับขึ้น เพราะมีการจำกัดเรื่องของเวลา ก็ต้องกลับไปดูในรายละเอียดอีกครั้งว่าจะใช้เวลาในช่วงใด และผ่านทางฟรีทีวีช่องใด อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การเรียนติวผ่านอีทีวี หรือติวเตอร์แชนแนล ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ไม่กระทบต่อการเรียน การสอนในห้องเรียนแน่นอน เพราะติวเตอร์แชนแนลอาจต้องจัดให้มีขึ้นในวันหยุด เพื่อที่จะไม่ซ้ำกับเวลาเรียนปกติ” รมว.ศธ.กล่าว
วันนี้ (29 ก.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการจัดผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (อีทีวี) กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งกล่าวว่า รัฐบาล โดย ศธ.จะมีการจัดตั้งอีทีวี ซึ่งเดิมเป็นการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม ให้เป็นอีฟรีทีวี โดยจะเริ่มดำเนินการในปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จได้ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งได้ตั้งงบประมาณไว้รองรับทั้งสิ้น 6 พันล้านบาท ซึ่งเชื่อว่า อีฟรีทีวีนี้จะมีประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่จะสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรับผ่านจานดาวเทียม เป็นการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ ในส่วนของเรื่องการติวเพื่อเตรียมตัวสอบของนักเรียน นักศึกษานั้น ทางช่องอีทีวี ได้มีการเชิญอาจารย์ผู้สอนจากโรงเรียนชื่อดังต่างๆ เช่น ร.ร.สวนกุหลาบ ร.ร.เตรียมอุดม ร.ร.สตรีวิทยา เป็นต้น พร้อมทั้งเชิญครูติวเตอร์จากสถาบันกวดวิชาชื่อดังมาสอนอีกด้วย ซึ่งตรงนี้เองถือเป็นแม่เหล็กสำคัญที่จะช่วยดึงดูดเด็ก ให้มีความสนใจในเนื้อหาลักษณะเชิงลึกมากกว่าที่ได้รับจากภายในห้องเรียน
“ทุกอย่างในการเตรียมการเพื่อจัดตั้งอีฟรีทีวีนั้นได้ดำเนินการไว้หมดแล้ว แต่ที่ยังเริ่มไม่ได้เนื่องจากต้องรออำนาจจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งระหว่างรอได้มอบหมายให้ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ที่เป็นเจ้าของ อีทีวี เตรียมการในส่วนของการบริหารจัดการ เตรียมผังรายการ จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไว้แล้ว ซึ่งเมื่อ กสช.จัดสรรคลื่นให้เมื่อไหร่ก็สามารถถ่ายทอดสดได้ทันที” รมว.ศธ.กล่าว
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในส่วนการติวของนักเรียน นักศึกษานั้น ระหว่างที่รออีฟรีทีวี อาจมีการจัดตั้งเป็นช่องติวเตอร์แชนแนล ขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งตอนนี้ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เร่งทำแผนว่าในแต่ละปี จะต้องมีช่วงของการติวกี่รอบ เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาของการสอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพืนฐาน (O-NET) หรือ การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (NT) โดยอาจใช้ช่วงเวลาในช่องฟรีทีวีปัจจุบัน ทั้งนี้ ก็ต้องประสานกับทาง กศน.อีกครั้ง
“การมีติวเตอร์แชนแนลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับนักเรียน นักศึกษา ตามต่างจังหวัด ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีโอกาสได้เรียนติวกับอาจารย์ชื่อดัง ทั้งนี้ ในส่วนของเนื้อหาการติวจะเห็นว่าที่มีขึ้นอยู่ภายในอีทีวีนั้นจะมีเนื้อหาที่ครบถ้วน และสามารถดูได้ย้อนหลัง แต่หากเป็นติวเตอร์แชแนลทางฟรีทีวี อาจต้องมีการสรุปเนื้อหาการติวให้กระชับขึ้น เพราะมีการจำกัดเรื่องของเวลา ก็ต้องกลับไปดูในรายละเอียดอีกครั้งว่าจะใช้เวลาในช่วงใด และผ่านทางฟรีทีวีช่องใด อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การเรียนติวผ่านอีทีวี หรือติวเตอร์แชนแนล ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น ไม่กระทบต่อการเรียน การสอนในห้องเรียนแน่นอน เพราะติวเตอร์แชนแนลอาจต้องจัดให้มีขึ้นในวันหยุด เพื่อที่จะไม่ซ้ำกับเวลาเรียนปกติ” รมว.ศธ.กล่าว