“จุรินทร์” ระบุมีงบกว่า 900 ล้านให้ครูที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวมากู้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้รายละ 2 แสนบาท หากเป็นลูกหนี้ชั้นดี MLR-1 หากประสบภัยพิบัติ เสียชีวิต ดอกศูนย์เปอร์เซ็นต์ พิการ คิด 1% ภัยพิบัติ คิด 2%
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู กล่าวว่า ในปี 2552 มีเงินจำนวน 411 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 500 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 911 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ครูโดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้บริหาร สำหรับครูที่มีสิทธิกู้จะต้องเป็นครูผู้สอนของทุกหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ฯลฯ และเป็นครูที่มีหนี้ค้างอยู่ เพราะเรามีเป้าหมายจะให้ครูที่มีหนี้สามารถกู้เพื่อไปปรับโครงสร้างหนี้ รายละไม่เกิน 200,000 บาทใช้คืนภายใน 8 ปี
สำหรับการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ มีจุดที่แตกต่างกันก็คือ เดิมแบงก์จะคิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 6 ต่อปี ซึ่งจากการประชุมฯ ได้ข้อสรุปว่าต้องการลดภาระให้ครู โดยปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ จากเดิมร้อยละ 6 เป็นอัตราดอกเบี้ย MLR -1 สำหรับลูกค้าชั้นดี ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าครูเกือบทุกคนเป็นลูกหนี้ชั้นดีเพราะชำระหนี้ทุกเดือน ถ้าเข้าโครงการนี้ดอกเบี้ยจะเหลือประมาณร้อยละ 4.85
นายจุรินทร์กล่าวว่า นอกจากนี้จะมีลงนามประกาศหลักเกณฑ์แลวิธีการให้ความช่วยเหลือข้าราชการครูที่ประสบภัยพิบัติ เช่น เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บสาหัสระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ จะลดดอกเบี้ยให้อีก หากกรณีเสียชีวิตจะไม่เสียดอกเบี้ย ถ้าบาดเจ็บสาหัส คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 ประสบภัยพิบัติ เดือดร้อนที่อยู่อาศัย คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 2
“ต้องการปรับลดหนี้ให้แก้ครูที่มีหนี้สิน จึงเปิดโอกาสให้เฉพาะครูที่เป็นหนี้ในปัจจุบันให้มากู้โครงการนี้ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า พร้อมทั้งยืดระยะเวลาการชำระหนี้ถึง 8 ปี โดยจะพิจารณาครูที่มีหนี้เก่าและเป็นภาระหนักจนกระทั่งอยู่ในสภาพที่มีปัญหา คือ หักหนี้แล้วเหลือเงินเดือนน้อยที่สุดก่อน”
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู กล่าวว่า ในปี 2552 มีเงินจำนวน 411 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 500 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 911 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้ให้ครูโดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้บริหาร สำหรับครูที่มีสิทธิกู้จะต้องเป็นครูผู้สอนของทุกหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ฯลฯ และเป็นครูที่มีหนี้ค้างอยู่ เพราะเรามีเป้าหมายจะให้ครูที่มีหนี้สามารถกู้เพื่อไปปรับโครงสร้างหนี้ รายละไม่เกิน 200,000 บาทใช้คืนภายใน 8 ปี
สำหรับการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ มีจุดที่แตกต่างกันก็คือ เดิมแบงก์จะคิดอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 6 ต่อปี ซึ่งจากการประชุมฯ ได้ข้อสรุปว่าต้องการลดภาระให้ครู โดยปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ จากเดิมร้อยละ 6 เป็นอัตราดอกเบี้ย MLR -1 สำหรับลูกค้าชั้นดี ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าครูเกือบทุกคนเป็นลูกหนี้ชั้นดีเพราะชำระหนี้ทุกเดือน ถ้าเข้าโครงการนี้ดอกเบี้ยจะเหลือประมาณร้อยละ 4.85
นายจุรินทร์กล่าวว่า นอกจากนี้จะมีลงนามประกาศหลักเกณฑ์แลวิธีการให้ความช่วยเหลือข้าราชการครูที่ประสบภัยพิบัติ เช่น เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บสาหัสระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ จะลดดอกเบี้ยให้อีก หากกรณีเสียชีวิตจะไม่เสียดอกเบี้ย ถ้าบาดเจ็บสาหัส คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 ประสบภัยพิบัติ เดือดร้อนที่อยู่อาศัย คิดดอกเบี้ย ร้อยละ 2
“ต้องการปรับลดหนี้ให้แก้ครูที่มีหนี้สิน จึงเปิดโอกาสให้เฉพาะครูที่เป็นหนี้ในปัจจุบันให้มากู้โครงการนี้ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า พร้อมทั้งยืดระยะเวลาการชำระหนี้ถึง 8 ปี โดยจะพิจารณาครูที่มีหนี้เก่าและเป็นภาระหนักจนกระทั่งอยู่ในสภาพที่มีปัญหา คือ หักหนี้แล้วเหลือเงินเดือนน้อยที่สุดก่อน”