เว็บสถานทูตอเมริกาในไทย ตีแผ่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2552 ประเมินไทยไม่ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำปราบปรามค้ามนุษย์ แต่ยังดีที่มีความพยายามนำ พ.ร.บ.ป้องกันค้ามนุษย์ฉบับใหม่มาใช้ แนะเร่งจัดการตัวการใหญ่ ทำกลไกช่วยเหลือเหยื่ออย่างจริงจัง จัดหาที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้เหยื่อ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับขบวนการค้ามนุษย์ ขณะที่ พม.เต้น “อิสสระ” เตรียมแจงจุดยืนในการทำงานป้องกันค้ามนุษย์พรุ่งนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ภายในเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ.2552 ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์ ฉบับแก้ไข ซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสในปี พ.ศ.2543 ที่กำหนดให้ รมว.การต่างประเทศต้องส่งมอบรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ในการกำจัดการค้ามนุษย์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้เงินประมาณ 76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาล และองค์กรเอกชน 70 ประเทศในการดำเนินโครงการปราบปรามการค้ามนุษย์ 140 โครงการ และตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐฯ ให้เงินสนับสนุนกว่า 604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ
โดยในรายงานการค้ามนุษย์นี้ระบุให้ไทยอยู่ในกลุ่มสอง ซึ่งหมายความว่า ความพยายามของรัฐบาลไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์ยังไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำ แต่รัฐบาลกำลังใช้ความพยายามในการปราบปราม โดยเฉพาะการนำ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฉบับใหม่มาใช้ โดยรายงานระบุถึงประเทศไทยว่าเป็นประเทศต้นทาง ทางผ่านและปลายทาง สำหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก เพื่อการบังคับใช้แรงงานและการแสวงประโยชน์ทางเพศ ความเจริญของประเทศไทยเป็นสิ่งดึงดูดแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่อยู่ห่างไกล เช่น รัสเซีย และฟิจิ ซึ่งต้องการหนีความยากจน หรือภาวะการถูกกดขี่ การลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายของคนต่างชาติจำนวนมากเปิดโอกาสให้พ่อค้ามนุษย์บังคับ หลอกลวงทำเอกสารปลอมให้แรงงานต่างชาติที่ไม่มีเอกสารประจำตัวเหล่านี้มาบังคับใช้เป็นแรงงานเยี่ยงทาสหรือแสวงประโยชน์ทางเพศ ผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพม่าถูกนำมาค้าเพื่อบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการประมง โรงงาน ภาคเกษตร ก่อสร้างงานรับใช้ตามบ้าน และขอทาน
ทั้งนี้ ผู้หญิงและเด็กจากพม่า กัมพูชา ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม รัสเซีย และอุซเบกิสถาน ถูกนำมาค้าในธุรกิจทางเพศในไทย ชนกลุ่มน้อยเช่นชาวเขาในภาคเหนือซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานภาพตามกฎหมาย เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ในการกำจัดการค้ามนุษย์
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยกำลังดำเนินความพยายามที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเริ่มนำ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์มาบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2551 นอกจากนั้น รัฐบาลได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ ในช่วงปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศมีแนวโน้มลดน้อยลง
ทั้งนี้ ในรายงานได้ระบุข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย คือ การเพิ่มความพยายามในการสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดในการค้ามนุษย์ ปรับปรุงการคัดกรองผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในกลุ่มเสี่ยง สร้างหลักประกันว่าเหยื่อค้ามนุษย์ที่เป็นคนต่างชาติและไม่ใช่เด็กซึ่งเต็มใจที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของไทยจะไม่ถูกนำตัวไปไว้ในสถานพักพิงโดยไม่เต็มใจ จัดทำกลไกที่จะช่วยให้เหยื่อค้ามนุษย์ต่างชาติที่ไม่ใช่เด็กสามารถทำงานได้นอกสถานพักพิง ให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวเกี่ยวกับสิทธิที่พึงมี และหน้าที่ที่นายจ้างพึงมีต่อแรงงานเหล่านี้ และจัดหาที่ปรึกษาทางกฎหมายให้เหยื่อค้ามนุษย์ และช่องทางในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับพ่อค้ามนุษย์ ทั้งนี้ข้อมูลรายละเอียดสามารถดูได้ผ่านเว็บไซด์สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย http://thai.bangkok.usembassy.gov/embassy-activities/2009/june/05.html
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เตรียมที่จะแถลงชี้แจงต่อรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงจุดยืนของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) ที่กระทรวง พม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ภายในเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ.2552 ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์ ฉบับแก้ไข ซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภาคองเกรสในปี พ.ศ.2543 ที่กำหนดให้ รมว.การต่างประเทศต้องส่งมอบรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินการของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ในการกำจัดการค้ามนุษย์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้เงินประมาณ 76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาล และองค์กรเอกชน 70 ประเทศในการดำเนินโครงการปราบปรามการค้ามนุษย์ 140 โครงการ และตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา รัฐบาลสหรัฐฯ ให้เงินสนับสนุนกว่า 604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในต่างประเทศ
โดยในรายงานการค้ามนุษย์นี้ระบุให้ไทยอยู่ในกลุ่มสอง ซึ่งหมายความว่า ความพยายามของรัฐบาลไทยในการปราบปรามการค้ามนุษย์ยังไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำ แต่รัฐบาลกำลังใช้ความพยายามในการปราบปราม โดยเฉพาะการนำ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฉบับใหม่มาใช้ โดยรายงานระบุถึงประเทศไทยว่าเป็นประเทศต้นทาง ทางผ่านและปลายทาง สำหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก เพื่อการบังคับใช้แรงงานและการแสวงประโยชน์ทางเพศ ความเจริญของประเทศไทยเป็นสิ่งดึงดูดแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่อยู่ห่างไกล เช่น รัสเซีย และฟิจิ ซึ่งต้องการหนีความยากจน หรือภาวะการถูกกดขี่ การลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายของคนต่างชาติจำนวนมากเปิดโอกาสให้พ่อค้ามนุษย์บังคับ หลอกลวงทำเอกสารปลอมให้แรงงานต่างชาติที่ไม่มีเอกสารประจำตัวเหล่านี้มาบังคับใช้เป็นแรงงานเยี่ยงทาสหรือแสวงประโยชน์ทางเพศ ผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพม่าถูกนำมาค้าเพื่อบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการประมง โรงงาน ภาคเกษตร ก่อสร้างงานรับใช้ตามบ้าน และขอทาน
ทั้งนี้ ผู้หญิงและเด็กจากพม่า กัมพูชา ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม รัสเซีย และอุซเบกิสถาน ถูกนำมาค้าในธุรกิจทางเพศในไทย ชนกลุ่มน้อยเช่นชาวเขาในภาคเหนือซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีสถานภาพตามกฎหมาย เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ในการกำจัดการค้ามนุษย์
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยกำลังดำเนินความพยายามที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเริ่มนำ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์มาบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2551 นอกจากนั้น รัฐบาลได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ ในช่วงปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจทางเพศมีแนวโน้มลดน้อยลง
ทั้งนี้ ในรายงานได้ระบุข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย คือ การเพิ่มความพยายามในการสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดในการค้ามนุษย์ ปรับปรุงการคัดกรองผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในกลุ่มเสี่ยง สร้างหลักประกันว่าเหยื่อค้ามนุษย์ที่เป็นคนต่างชาติและไม่ใช่เด็กซึ่งเต็มใจที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของไทยจะไม่ถูกนำตัวไปไว้ในสถานพักพิงโดยไม่เต็มใจ จัดทำกลไกที่จะช่วยให้เหยื่อค้ามนุษย์ต่างชาติที่ไม่ใช่เด็กสามารถทำงานได้นอกสถานพักพิง ให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวเกี่ยวกับสิทธิที่พึงมี และหน้าที่ที่นายจ้างพึงมีต่อแรงงานเหล่านี้ และจัดหาที่ปรึกษาทางกฎหมายให้เหยื่อค้ามนุษย์ และช่องทางในการฟ้องร้องดำเนินคดีกับพ่อค้ามนุษย์ ทั้งนี้ข้อมูลรายละเอียดสามารถดูได้ผ่านเว็บไซด์สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย http://thai.bangkok.usembassy.gov/embassy-activities/2009/june/05.html
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เตรียมที่จะแถลงชี้แจงต่อรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงจุดยืนของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) ที่กระทรวง พม.