สัมมนา กมธ.เด็กวุฒิสภาร่วม สสส.ตะลึง! เด็กไม่กล้าปฏิเสธเพื่อนชวนเสพยา-มีเพศสัมพันธ์ก่อนวันอันควร กรมอนามัยเผยเด็กไทยมีสถิติฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 8 เตรียมออกคู่มือป้องกันฆ่าตัวตายเร็วๆ นี้
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ที่มี นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหา เป็นประธานฯ ร่วมกับแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ร่วมจัดสัมมนาหัวข้อ “การสร้างต้นทุนชีวิตเพื่อการแก้วิกฤติเด็กและเยาวชนในประเทศไทย”
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและผู้จัดการงานพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน กล่าวรายงานสภาวการณ์ต้นทุนชีวิตของเยาวชนไทยในภาพรวมเกี่ยวกับต้นทุนเด็กไทยกับยาเสพติดระบุว่า เราเก็บรวบรวมข้อมูล 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเยาวชนทั่วไปที่ปลอดจากยาเสพติดที่อยู่ในสถานศึกษา และกลุ่มที่ 2 เป็นเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นเยาวชนที่อยู่ในหน่วยงานรองรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอายุระหว่าง 14-18 ปี โดยสุ่มตัวอย่างจาก 4 ภาคทั่วประเทศ แบ่งเป็นภาคเหนือ 4 จังหวัด ภาคอีสาน 5 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด กรุงเทพฯ และปริมณฑล
พบข้อมูลว่า กลุ่มเยาวชนทั่วไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อยเพียงร้อยละ 34.52 ต่อสัปดาห์ ส่วนเยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจทำกิจกรรมกับชุมชนร้อยละ 33.39 ต่อสัปดาห์ ทั้งนี้พบอีกว่าทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมไม่กล้าปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รวมถึงหลีกเลี่ยงยาเสพติดและความรุนแรง โดยกลุ่มที่อยู่ในโรงเรียนกล้าปฏิเสธพฤติกรรมดังกล่าวเพียงร้อยละ 45.74
นายโสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากที่กรมอนามัยได้สำรวจเด็กทั่วประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ โดยใช้แบบสอบถามขององค์การอนามัยโลกพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า เด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิตและคิดจะฆ่าตัวตายประมาณร้อยละ 8 ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-3 ส่วนอีกร้อยละ 26 ระบุว่าผู้ปกครองไม่ค่อยให้ความสนใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยมีปัญหา ขาดคนพูดคุยดูแลเด็ก ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ถือเป็นการทำวิจัยครั้งแรก จึงถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจพอสมควร นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าเด็กและเยาวชนยังมีปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัย ยาเสพติด และความรุนแรงในโรงเรียนถึงร้อยละ 30
“โดยผลสำรวจเหล่านี้เราจะรวบรวมเป็นข้อมูลเพื่อประมวลหาสาเหตุการคิดฆ่าตัวตายของเด็กว่ามาจากเหตุอะไร โดยเชื่อว่ากรมสุขภาพจิตและกระทรวงศึกษาธิการน่าจะรับทราบข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว โดยจากนี้เราคงต้องร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังต่อไป ทั้งนี้เรากำลังจัดทำคู่มือสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและควบคุมพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของเด็ก ซึ่งจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้”นพ.โสภณ กล่าว
วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ที่มี นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหา เป็นประธานฯ ร่วมกับแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ร่วมจัดสัมมนาหัวข้อ “การสร้างต้นทุนชีวิตเพื่อการแก้วิกฤติเด็กและเยาวชนในประเทศไทย”
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและผู้จัดการงานพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน กล่าวรายงานสภาวการณ์ต้นทุนชีวิตของเยาวชนไทยในภาพรวมเกี่ยวกับต้นทุนเด็กไทยกับยาเสพติดระบุว่า เราเก็บรวบรวมข้อมูล 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเยาวชนทั่วไปที่ปลอดจากยาเสพติดที่อยู่ในสถานศึกษา และกลุ่มที่ 2 เป็นเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นเยาวชนที่อยู่ในหน่วยงานรองรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอายุระหว่าง 14-18 ปี โดยสุ่มตัวอย่างจาก 4 ภาคทั่วประเทศ แบ่งเป็นภาคเหนือ 4 จังหวัด ภาคอีสาน 5 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด กรุงเทพฯ และปริมณฑล
พบข้อมูลว่า กลุ่มเยาวชนทั่วไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อยเพียงร้อยละ 34.52 ต่อสัปดาห์ ส่วนเยาวชนที่อยู่ในสถานพินิจทำกิจกรรมกับชุมชนร้อยละ 33.39 ต่อสัปดาห์ ทั้งนี้พบอีกว่าทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมไม่กล้าปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รวมถึงหลีกเลี่ยงยาเสพติดและความรุนแรง โดยกลุ่มที่อยู่ในโรงเรียนกล้าปฏิเสธพฤติกรรมดังกล่าวเพียงร้อยละ 45.74
นายโสภณ เมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากที่กรมอนามัยได้สำรวจเด็กทั่วประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ โดยใช้แบบสอบถามขององค์การอนามัยโลกพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า เด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิตและคิดจะฆ่าตัวตายประมาณร้อยละ 8 ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-3 ส่วนอีกร้อยละ 26 ระบุว่าผู้ปกครองไม่ค่อยให้ความสนใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยมีปัญหา ขาดคนพูดคุยดูแลเด็ก ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ถือเป็นการทำวิจัยครั้งแรก จึงถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจพอสมควร นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่าเด็กและเยาวชนยังมีปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัย ยาเสพติด และความรุนแรงในโรงเรียนถึงร้อยละ 30
“โดยผลสำรวจเหล่านี้เราจะรวบรวมเป็นข้อมูลเพื่อประมวลหาสาเหตุการคิดฆ่าตัวตายของเด็กว่ามาจากเหตุอะไร โดยเชื่อว่ากรมสุขภาพจิตและกระทรวงศึกษาธิการน่าจะรับทราบข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว โดยจากนี้เราคงต้องร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังต่อไป ทั้งนี้เรากำลังจัดทำคู่มือสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและควบคุมพฤติกรรมการฆ่าตัวตายของเด็ก ซึ่งจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้”นพ.โสภณ กล่าว