ศธ.วางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน “ชัยวุฒิ” เผย พยาบาลขาดแคลนหนักกว่า 40,000 อัตรา ขณะที่สายสังคมยังล้น วางเป้าหมายผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และสังคม ให้อยู่ที่ 50:50
นาย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน กระทรวงศึกษาธิการ (กรอ.ศธ.) ว่า ที่ประชุมซึ่งมีผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการนำเสนอสภาพปัญหาและความต้องการกำลังคนสาขาต่างๆ ซึ่งได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า ที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตกำลังคนมักไม่ตรงกับความต้องการ บางสาขาเกินความต้องการ ขณะที่บางสาขาขาดแคลน และหลายสาขาขาดแคลนมาก เช่น แพทย์ เภสัชกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาล ที่ขาดแคลนถึง 40,000 กว่าคน จึงต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเรามองข้ามการผลิตกำลังคนด้านการพยาบาล
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่มีการพูดถึงกันมากในที่ประชุม คือ ผู้ผลิต หรือสถานศึกษามักจะผลิตตามความต้องการของตนเอง ไม่ได้มองว่าตลาดแรงงานขาดแคลนกำลังคนสาขาใด จึงไม่ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะสายสังคมที่ผลปรากฏว่ามีอัตราการตกงานกันมาก แต่ปัญหาก็คือ ภาคเอกชนไม่สามารถบอกความต้องการล่วงหน้าได้ขณะที่การวางแผนการศึกษาจะต้องวางแผนล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการกำลังพยายามเพิ่มสัดส่วนการผลิตกำลังคนทางด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และลดทางสายสังคมลง โดยขณะนี้สามารถทำได้แล้วในสัดส่วนด้านวิทยาศาสตร์ต่อสังคมศาสตร์ที่ 62:38 จาก เดิม 65:35 และมีเป้าหมายที่จะทำให้ได้ 50:50 โดยจะพยายามลงรายละเอียดของสาขาวิชาที่เป็นความต้องการให้ได้มากที่สุด
นาย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคน กระทรวงศึกษาธิการ (กรอ.ศธ.) ว่า ที่ประชุมซึ่งมีผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการนำเสนอสภาพปัญหาและความต้องการกำลังคนสาขาต่างๆ ซึ่งได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า ที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตกำลังคนมักไม่ตรงกับความต้องการ บางสาขาเกินความต้องการ ขณะที่บางสาขาขาดแคลน และหลายสาขาขาดแคลนมาก เช่น แพทย์ เภสัชกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาล ที่ขาดแคลนถึง 40,000 กว่าคน จึงต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเรามองข้ามการผลิตกำลังคนด้านการพยาบาล
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่มีการพูดถึงกันมากในที่ประชุม คือ ผู้ผลิต หรือสถานศึกษามักจะผลิตตามความต้องการของตนเอง ไม่ได้มองว่าตลาดแรงงานขาดแคลนกำลังคนสาขาใด จึงไม่ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะสายสังคมที่ผลปรากฏว่ามีอัตราการตกงานกันมาก แต่ปัญหาก็คือ ภาคเอกชนไม่สามารถบอกความต้องการล่วงหน้าได้ขณะที่การวางแผนการศึกษาจะต้องวางแผนล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการกำลังพยายามเพิ่มสัดส่วนการผลิตกำลังคนทางด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และลดทางสายสังคมลง โดยขณะนี้สามารถทำได้แล้วในสัดส่วนด้านวิทยาศาสตร์ต่อสังคมศาสตร์ที่ 62:38 จาก เดิม 65:35 และมีเป้าหมายที่จะทำให้ได้ 50:50 โดยจะพยายามลงรายละเอียดของสาขาวิชาที่เป็นความต้องการให้ได้มากที่สุด