“หมอประเวศ” ชี้ “รัฐบาลมาร์ค” ยังแก้ปัญหาภาคใต้ผิดทาง แนะใช้ยุทธศาสตร์เข้าถึงท้องถิ่น หนุนชุมชนตั้งประชาคมรวมตัวจัดการปัญหา ขณะที่ “ธีระ” ฟุ้งมหกรรมปัตตานีใช้มิติวัฒนธรรมสร้างความเข้าใจให้คนในพื้นที่สำเร็จ
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลว่า ตนไม่เห็นด้วยที่เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงรัฐบาลจะส่งผู้บริหาร เพิ่มกำลังทหารและตำรวจลงไปในพื้นที่ เพราะเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่เข้าใจว่าปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เกิดจากความขัดแย้งระหว่างอำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ที่ไม่สนใจความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันหลากหลาย การแก้ปัญหาด้วยกำลังและอำนาจจึงเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง รัฐบาลควรจะใช้ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมตัวกันแก้ไขปัญหาของตนเอง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งจิตใจ โดยตั้งเป็นสภาผู้นำชุมชนมาบริหารจัดการชุมชนของตนเองจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
“การแก้ปัญหาภาคใต้ถือเป็นปัญหาที่แก้ยากสุดๆ ทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีแนวทางแก้ปัญหาไฟใต้ที่ผิด เพราะเน้นแต่บริหารงานจากส่วนบน ซึ่งเต็มไปด้วยอำนาจ เงิน และการคอร์รัปชัน ทั้งที่จริงแล้วต้องสนับสนุนภาคประชาชน ชุมชนระดับล่าง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ให้ฐานเข้มแข็งเพื่อหนุนให้สังคมโดยรวมอยู่ได้ อย่างไรก็ตามในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ผมจะไปปาฐกถาพิเศษเรื่องการเมืองนำการทหารกับการแก้ปัญหาภาคใต้ ที่จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ และจะนำเสนอแนวทางนี้ในที่ประชุมด้วย” ราษฎรอาวุโส กล่าว
ด้านนาย ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้เสนอในที่ประชุม กวช. ให้รับทราบผลการจัดงานโครงการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสัญจรสู่ชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 (มหกรรมวัฒนธรรมปัตตานีย้อนยุค สู่สันติสุขแดนใต้) ประจำปี 2552 ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย.ที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นการนำเอามิติทางวัฒนธรรมไปช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรง สร้างสมานฉันท์ระหว่างพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีการจัดนิทรรศการศาสนา (รู้เขา รู้เรา) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำความร่วมมือทางเครือข่ายศาสนา 5 จังหวัดชายแดนใต้ นิทรรศการวิถีชีวิต ริ้วขบวนแห่เอกลักษณ์ 5 จังหวัดชายแดนใต้และสัมมนาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานวัฒนธรรมตามแผนการพื้นที่พัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2552-2555
“จากการจัดงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และเข้าร่วมงานในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีถือว่าเป็นของขวัญที่รัฐบาลมอบให้ประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากมีความหลากหลาย ทั้งวิถีชีวิต การแต่งกายย้อนยุค การแสดงศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองปัตตานี สร้างความภาคภูมิใจและความสุขทางใจให้กับชาวปัตตานีเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการเสวนาหัวข้อความร่วมมือระหว่างศาสนิกในการสร้างสังคมสันติสุข มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้แนวทางในการสร้างสังคมที่สันติสุขว่า จะต้องประกอบไปด้วยคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม เอื้ออาทรต่อกัน แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ผู้นำศาสนาจะต้องทำตนเป็นแบบอย่างในการทำความดี สังคมจึงจะเกิดสันติสุขได้อย่างแท้จริง” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลว่า ตนไม่เห็นด้วยที่เมื่อเกิดปัญหาความรุนแรงรัฐบาลจะส่งผู้บริหาร เพิ่มกำลังทหารและตำรวจลงไปในพื้นที่ เพราะเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่เข้าใจว่าปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เกิดจากความขัดแย้งระหว่างอำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ที่ไม่สนใจความเป็นอยู่ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันหลากหลาย การแก้ปัญหาด้วยกำลังและอำนาจจึงเป็นแนวทางไม่ถูกต้อง รัฐบาลควรจะใช้ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมตัวกันแก้ไขปัญหาของตนเอง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งจิตใจ โดยตั้งเป็นสภาผู้นำชุมชนมาบริหารจัดการชุมชนของตนเองจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
“การแก้ปัญหาภาคใต้ถือเป็นปัญหาที่แก้ยากสุดๆ ทุกรัฐบาลที่ผ่านมามีแนวทางแก้ปัญหาไฟใต้ที่ผิด เพราะเน้นแต่บริหารงานจากส่วนบน ซึ่งเต็มไปด้วยอำนาจ เงิน และการคอร์รัปชัน ทั้งที่จริงแล้วต้องสนับสนุนภาคประชาชน ชุมชนระดับล่าง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ให้ฐานเข้มแข็งเพื่อหนุนให้สังคมโดยรวมอยู่ได้ อย่างไรก็ตามในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ผมจะไปปาฐกถาพิเศษเรื่องการเมืองนำการทหารกับการแก้ปัญหาภาคใต้ ที่จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ และจะนำเสนอแนวทางนี้ในที่ประชุมด้วย” ราษฎรอาวุโส กล่าว
ด้านนาย ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้เสนอในที่ประชุม กวช. ให้รับทราบผลการจัดงานโครงการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสัญจรสู่ชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 (มหกรรมวัฒนธรรมปัตตานีย้อนยุค สู่สันติสุขแดนใต้) ประจำปี 2552 ระหว่างวันที่ 3-7 มิ.ย.ที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นการนำเอามิติทางวัฒนธรรมไปช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรง สร้างสมานฉันท์ระหว่างพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีการจัดนิทรรศการศาสนา (รู้เขา รู้เรา) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำความร่วมมือทางเครือข่ายศาสนา 5 จังหวัดชายแดนใต้ นิทรรศการวิถีชีวิต ริ้วขบวนแห่เอกลักษณ์ 5 จังหวัดชายแดนใต้และสัมมนาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานวัฒนธรรมตามแผนการพื้นที่พัฒนาพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2552-2555
“จากการจัดงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และเข้าร่วมงานในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีถือว่าเป็นของขวัญที่รัฐบาลมอบให้ประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากมีความหลากหลาย ทั้งวิถีชีวิต การแต่งกายย้อนยุค การแสดงศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองปัตตานี สร้างความภาคภูมิใจและความสุขทางใจให้กับชาวปัตตานีเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการเสวนาหัวข้อความร่วมมือระหว่างศาสนิกในการสร้างสังคมสันติสุข มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้แนวทางในการสร้างสังคมที่สันติสุขว่า จะต้องประกอบไปด้วยคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม เอื้ออาทรต่อกัน แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ผู้นำศาสนาจะต้องทำตนเป็นแบบอย่างในการทำความดี สังคมจึงจะเกิดสันติสุขได้อย่างแท้จริง” รมว.วัฒนธรรม กล่าว